รูปบทความ วิธีคำนวณค่าน้ำ ค่าไฟ พร้อมวิธีประหยัดพลังงาน

รู้ลึกค่าน้ำ ค่าไฟของคอนโด คำนวณค่าใช้จ่าย พร้อมวิธีประหยัดการใช้งาน

หลายคนคงเคยได้ยินที่มีคนพูดว่าค่าน้ำค่าไฟของคอนโดแพงกว่าบ้าน เพื่อจะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้เรามาเรียนรู้รายละเอียดและหาคำตอบกันดีกว่า

ค่าไฟในคอนโด

มาทราบกันก่อนว่าการคิดค่าไฟคอนโดคิดยังไง อย่างแรกเลยต้องรู้ก่อนว่าการคิดค่าไฟฟ้าของกรุงเทพและต่างจังหวัดจะต่างกัน ในพื้นที่ของกรุงเทพ(ซึ่งกรณีนี้จะไม่รวมเขตปริมณฑล)จะอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้านครหลวง ส่วนในต่างจังหวัด(รวมถึงพื้นที่เขตปริมณฑล)จะอยู่ในความดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


หากคอนโดตั้งอยู่ในกรุงเทพ อัตราการคิดค่าไฟฟ้าจะเป็นดังนี้

สำหรับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่างๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว(ข้อมูลจาก: http://www2.eppo.go.th/power/pw-Rate-MEA.html#2)


ส่วนอัตราค่าบริการของคอนโดที่อยู่ในพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น จะมีการคิดค่าบริการ ดังนี้

สำหรับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัด สำนักสงฆ์ และสถานประกอบศาสนกิจ ของทุกศาสนา โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว(ข้อมูลจาก : http://www2.eppo.go.th/power/pw-Rate-PEA.html)

จากตารางค่าไฟฟ้าคงทราบกันแล้วว่าค่าไฟคอนโดนั้นหน่วยละกี่บาท โดยการคิดค่าไฟของคอนโดนั้นจะเป็นการติดตั้งมิเตอร์แยกในแต่ละห้องและใบเรียกเก็บค่าบริการ,ใบเสร็จจะออกโดยการไฟฟ้าโดยตรง อัตราค่าไฟนั้นก็จะเหมือนกับไฟบ้านโดยทั่วไปไม่ต่างกัน


หากอยู่คอนโดแล้วรู้สึกว่าค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ ลองตรวจสอบการวิ่งของมิเตอร์ดูว่าถ้าปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหมดทุกอย่างแล้วมิเตอร์ยังวิ่งอยู่หรือไม่ ถ้ายังวิ่งอยู่อาจจะมีการผิดปกติของการเชื่อมต่อสายไฟเกิดขึ้นควรจะแจ้งนิติบุคคลให้มาช่วยดูแล แต่ถ้ามิเตอร์ไม่วิ่ง อาจจะต้องมาดูว่าจะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้อย่างไรบ้าง

หากอยู่คอนโดแล้วรู้สึกว่าค่าไฟฟ้าสูงกว่าปกติ ลองตรวจสอบการวิ่งของมิเตอร์ดูว่าถ้าปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหมดทุกอย่างแล้วมิเตอร์ยังวิ่งอยู่หรือไม่

1.เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อไม่ใช้งานควรจะปิดให้เรียบร้อยรวมทั้งถอดปลั๊กไฟออกด้วย โดยเฉพาะทีวีหรือคอมพิวเตอร์ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในโหมด Stand by หรือเสียบปลั๊กทิ้งไว้

2.ตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในตำแหน่งที่เหมาะสม เช่นตู้เย็น ควรจะมีพื้นที่เพื่อระบายอากาศด้านหลัง เพื่อไม่ใช้ทำงานหนักเกินไป

3.เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ปริมาณไฟจำนวนมากก็จะเป็น เครื่องปรับอากาศ ต้องเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับขนาดของห้อง ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก 3 -4 เดือน

4.ลองคำนวณการใช้งานไฟฟ้าด้วยตัวเอง สำหรับการใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิตคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ที่ใช้งานใน 1 ชั่วโมง หรือใช้สูตรการคำนวณดังนี้

กำลังไฟฟ้า (วัตต์)ของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า / 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานใน 1 วัน = จำนวนหน่วยหรือยูนิต เท่านี้ก็จะสามารถวางแผนการประหยัดไฟฟ้าได้

ค่าน้ำในคอนโด

ก่อนจะรู้ว่าค่าน้ำประปาคอนโดคิดยังไง ต้องรู้ก่อนว่าการคิดค่าน้ำในคอนโดจะแตกต่างจากค่าไฟเนื่องจากการใช้น้ำในคอนโดนั้นจะเป็นการจ่ายน้ำจากการประปาเข้าคอนโดไปยังถังพักน้ำแล้วค่อยจ่ายไปตามแต่ละห้องภายในคอนโด ดังนั้นการเรียกเก็บค่าน้ำนั้นจะเป็นการเรียกเก็บจากคอนโดไม่ได้เรียกเก็บจากการประปา ซึ่งการคิดค่าน้ำของคอนโดที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพก็จะขึ้นอยู่กับการประปานครหลวง ส่วนของต่างจังหวัดก็จะขึ้นอยู่กับการประปาส่วนภูมิภาค


อัตราการใช้บริการของการประปานครหลวงจะคิด ดังนี้

การประปาส่วนภูมิภาค ก็จะมีคิดต่างกันตามพื้นที่ ดังนี้

อัตราค่าน้ำประปาพื้นทีเอกชนร่วมลงทุน

กปภ. สาขาฉะเชิงเทรา บางปะกง ระยอง ปทุมธานี รังสิต ธัญบุรี คลองหลวง ราชบุรี สมุทรสงคราม อ้อมน้อย สามพราน สมุทรสาคร นครสวรรค์

กปภ. สาขาชลบุรี พัทยา แหลมฉบัง ศรีราชา พนัสนิคม บ้านบึง


อัตราค่าน้ำประปาพื้นที่ กปภ.สาขาภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะพะงัน



อัตราค่าน้ำประปาพื้นที่ กปภ.สาขาอื่น (ทั่วประเทศ)



จะเห็นว่าการคิดค่าน้ำนั้นจะเป็นการคิดแบบอัตราก้าวหน้าหมายความว่ายิ่งคนเยอะ จำนวนห้องเยอะ การใช้น้ำยิ่งมีปริมาณเยอะ เมื่อคิดเฉลี่ยออกมาแล้วก็จะทำให้ค่าน้ำต่อหน่วยสูงขึ้น การบริหารจัดการนั้นจะทำโดยคอนโดเองที่จะต้องสร้างระบบน้ำใช้ภายในอาคาร แล้วต่อท่อจากท่อเมนประปาริมถนนหน้าคอนโด ซึ่งจะผ่านมิเตอร์ของการประปาไปเก็บไว้ในถังเก็บน้ำใต้ดินหรือบนดิน แล้วจึงจะปล่อยลงมาตามชั้นและห้องต่างๆ เพื่อให้แต่ห้องภายในคอนโดได้ใช้งานซึ่งจะติดตั้งมิเตอร์แยกแต่ละห้องเพื่อจะคิดค่าใช้บริการ ดังนั้นใบเรียกเก็บ ใบเสร็จของค่าน้ำจึงเป็นจากคอนโด ไม่ใช่จากการประปา


นอกจากค่าใช้น้ำตามมิเตอร์แล้ว คอนโดยังจะคิดค่าบริการเรื่องของการจัดการน้ำเพิ่มอีก ทั้งค่าเครื่องสูบน้ำและค่าบำรุงรักษาเครื่อง ค่าไฟฟ้าที่จะต้องต่อกับเครื่องสูบน้ำ ค่าบริหารจัดการและดูแลระบบของการจ่ายน้ำ รวมทั้งระบบบำบัดน้ำเสียของคอนโด ด้วยการบริหารจัดการที่มากกว่าการใช้น้ำในบ้านบนพื้นราบทั่วไปทำให้ค่าน้ำของคอนโดแพงกว่า ซึ่งแต่ละคอนโดก็จะคิดค่าน้ำต่อหน่วยไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าอยากจะทราบว่าค่าน้ำประปาคอนโดหน่วยละกี่บาท ก่อนจะย้ายเข้าไปอยู่อาจจะต้องถามราคาต่อหน่วยก่อน

เมื่อค่าน้ำค่อนข้างสูงผู้อยู่อาศัยอาจจะต้องหาวิธีประหยัดน้ำ เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่ายลงไปได้บ้าง

1.เช็คท่อน้ำและก๊อกน้ำ คอยหมั่นตรวจสอบว่าก๊อกน้ำทุกตัว สามารถปิดได้สนิทไม่มีน้ำหยด รวมทั้งบริเวณข้อต่อของท่อน้ำด้วย

2.ตรวจเช็คถังเก็บน้ำชักโครกเสมอ ด้วยการใส่สีผสมอาหารลงไปในถังเก็บน้ำชักโครกแล้วกดน้ำทิ้ง และหลังจากกดน้ำไปแล้วประมาณ 30 วินาทียังมีน้ำไหลออกมา แสดงว่าถังเก็บน้ำชักโครกชำรุด ต้องรีบซ่อมแซมโดยด่วน เพราะไม่อย่างนั้นจะมีน้ำไหลลงชักโครกตลอดเวลา

3.ปิดน้ำระหว่างแปรงฟันและถูสบู่ เป็นการเปิดน้ำทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ปิดเสียดีกว่า

4.อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนการใช้อ่างอาบน้ำ จะประหยัดน้ำมากกว่า แล้วบางทีแช่ในอ่างอาบน้ำแล้วยังต้องมาล้างตัวที่ฝักบัวอีกรอบ ก็จะเปลืองน้ำไป 2 เท่า

5.เวลาล้างจานหรือล้างผัก อย่าปล่อยน้ำให้ไหลผ่าน ใส่น้ำในกะละมังแล้วนำลงไปล้างจะประหยัดกว่า

6.น้ำที่ใช้แล้วนำมาใช้ต่อ อย่างน้ำสุดท้ายของการซักผ้าหรือล้างจาน ก็นำไปรดน้ำต้นไม้ต่อได้

7.ตรวจสอบมิเตอร์น้ำ เพื่อดูว่ามีน้ำรั่วหรือไม่ ให้ปิดน้ำแล้วไปเช็คมิเตอร์ ถ้ามิเตอร์ยังเพิ่มแสดงว่ามีน้ำรั่ว ให้รีบซ่อมแซม

ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เกี่ยวกับค่าไฟและค่าน้ำในคอนโดที่ชาวคอนโดควรจะรู้ เพื่อที่จะได้คำนวณค่าใช้จ่ายและบริหารการเงินของตัวเองได้ นอกจากนั้นไฟฟ้าและน้ำประปาถือเป็นทรัพยากรที่มีค่า ควรจะใช้อย่างประหยัดตามความจำเป็น ไม่ควรฟุ่มเฟือย นอกจากจะเป็นการดีต่อตัวเองแล้วยังถือว่าได้ช่วยกันประหยัดทรัพยากรของโลกอีกด้วย



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์