รูปบทความ ดีหรือแย่? คาดการณ์ผลการใช้มาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ดีหรือแย่? คาดการณ์ผลการใช้มาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย

หลังจากช่วงปี 61 ที่ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตกันอย่างรวดเร็วส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจ ทำให้เราอาจจะมองว่าผู้คนมีกำลังซื้อกันมากขึ้น แต่ส่วนหนึ่งกลับเป็นเพราะการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เพิ่มเป็นมากกว่า 100% ทำให้การเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยง่ายขึ้นมาก และเกิดผลขึ้นมามากมาย รวมถึงการออกมาตรการใหม่เข้าควบคุมการแข่งขันครั้งนี้


มาตรการควบคุม LTV สินเชื่อบ้าน ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เมษายน 2562 นี้จะกำหนดให้คนขอสินเชื่อต้องมีเงินดาวน์มาจ่ายก่อนส่วนหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ต้องการสกัดนักลงทุนและเพิ่มคุณภาพของสินเชื่อ


แต่ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังมีการคาดการณ์ถึงผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ว่า อาจจะทำให้ชะลอตัวลงหรือไม่ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพและปริมณฑล พบว่าการออกมาตรการนี้จะส่งผลต่อความต้องการซื้อในช่วง 1-2 ปีนี้ ประมาณร้อยละ 18-22 เพราะผู้ที่ต้องการซื้ออาจจะต้องสำรองเงินเพิ่มขึ้นราว 11-22 เท่า จากก่อนการใช้มาตรการที่อยู่ราว 5-11 เท่าของรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย จึงส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ในปี 62 จะหดตัวประมาณร้อยละ 8.5 -12.5 อยู่ที่จำนวน 169,000 -177,000 หน่วย


ขณะเดียวกันนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กล่าวเหตุผลในงานสัมมนา Property Focus 2019 โอกาสการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ว่า แม้ภาคอสังหาริมทรัพย์มีความสำคัญต่อการขยายตัวของภาครวมเศรษฐกิจไทยนับเป็นสัดส่วน 6% ของจีดีพีประเทศ ช่วยให้เกิดการจ้างงานและมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องหลายส่วน ทั้งยังช่วยให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น


แต่หากมีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อกันระหว่างสถาบันการเงิน ช่วยเอื้อให้เกิดการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น กลายเป็นการสะสมหนี้ครัวเรือนมหาศาล ซึ่งจะมีผลต่อความเปราะบางและเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวได้


สินเชื่อที่อยู่อาศัยในปีที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 4.4 ล้านล้านบาท จากสินเชื่อทั้งระบบ 20.3 ล้านล้านบาท


นับเป็น 1 ใน 5 ของสินเชื่อเลยทีเดียวจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะ 2 ใน 3 ของวิกฤตการเงินทั่วโลกเริ่มต้นมาจากภาคอสังหาฯ


และหากเราดูจากรายละเอียดมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่จะช่วยลดแนวโน้มหนี้ภาคครัวเรือน ลดภาระการผ่อนต่อเดือนที่สูงเกินกำลังของประชาชนได้แล้ว ยังทำให้ราคาที่อยู่อาศัยในอนาคตปรับสู่สมดุลเป็นราคาที่เหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริงในตลาด ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เท่านั้น และย้ำว่า เป็นการกำกับเฉพาะจุด ไม่ได้กระทบกับคนส่วนใหญ่ เชื่อว่าจะมีผลดีในระยะยาว ทั้งราคาซื้อขายที่สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น ธนาคารเองก็มีมาตรฐานที่ดี


การคาดการณ์ถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลเมื่อมีการบังคับใช้มาตรการอาจมีทั้งทางที่ดีและไม่ดี อย่างไรก็ตามเรายังคงต้องติดตามดูผลที่แน่ชัดกันต่อไปว่าหลังจากประกาศใช้แล้ว เศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นหรือชะลอตัวลง รวมทั้งผลที่กระทบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเป็นอย่างไรต่อไป


ที่มา : http://www.thansettakij.com

         http://www.bangkokbiznews.com 


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์