รูปบทความ ทดลองติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ 4 เครื่อง ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บรรเทาปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ

ทดลองติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ 4 เครื่อง ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บรรเทาปัญหาฝุ่นละอองในอากาศ

       (23 ม.ค.63) ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เกาะพญาไท) เขตราชเทวี : นางศิลปสวย ระวีแสงสรูย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจการติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ต้นแบบ) บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี ว่า มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประสานกรุงเทพมหานครจัดพื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 (ต้นแบบ) จำนวน 4 เครื่อง


       ซึ่งสามารถกรองฝุ่น PM2.5 และฟอกอากาศได้ ในอัตรา 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้กรุงเทพมหานครนำไปติดตั้งในพื้นที่ที่มีประชาชนใช้สัญจรเดินทางจำนวนมากและมีการจราจรหนาแน่นเพื่อบรรเทาปัญหาและลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 รวมทั้งทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องบำบัดอากาศฯ จึงได้นำเครื่องบำบัดอากาศฯ มาติดตั้งที่บริเวณเกาะพญาไท จำนวน 2 เครื่อง และเกาะราชวิถี จำนวน 2 เครื่อง เพื่อฟอกอากาศและลดฝุ่นPM2.5 บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งจะเดินเครื่องเพื่อฟอกอากาศใน 2 ช่วงเวลา ระหว่างเวลา 05.00-12.00 น. และเวลา 14.00-20.00 น.


       ทั้งนี้ การดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของ 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครดูแลในเรื่องของระบบไฟฟ้า การเดินระบบ สถานที่ และการดูแลความปลอดภัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมอู่ทหารเรือ ดูแลเรื่องการขนย้าย ติดตั้ง และการบำรุงรักษา กรมควบคุมมลพิษทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพแบบติดตั้งภายนอกอาคาร และการไฟฟ้านครหลวงสนับสนุนการติดตั้งมิเตอร์ชั่วคราวและค่ากระแสไฟฟ้า พร้อมกันนี้กรมควบคุมมลพิษได้นำเครื่องตรวจวัดคุณภาพแบบติดตั้งภายนอกอาคารมาติดตั้งร่วมด้วยจุดละ 1 เครื่อง เพื่อตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณดังกล่าวทั้งก่อนติดตั้งและระหว่างติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศฯ สำหรับเครื่องบำบัดอากาศที่มีมลพิษและฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 (ต้นแบบ) ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นระบบบำบัดอากาศแบบเปียก อากาศจะถูกดูดเข้ามาในเครื่องบำบัดด้วยพัดลม ดูดอากาศ  ผ่านเข้ามาจะถูกทำให้เกิดการอัดตัวโดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า "เวนทูรีสครับเบอร์" โดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ติดมากับมวลอากาศ อากาศที่ผ่านการบำบัดแล้วทั้งหมดจะไหลออกกลับคืนสู่ด้านนอกทางปล่องปล่อยออก โดยออกแบบเป็นรูปตัวทีที่มีฝาปิด-เปิด เพื่อให้สามารถเลือกรูปแบบการปล่อยออกแบบทิศทางเดียวหรือสองทิศทางได้ และฝาปิด-เปิดสามารถปรับระดับองศาการปิด-เปิดได้ เพื่อให้สามารถกำหนดมุมองศาการปล่อยอากาศที่บำบัดแล้วออกไปยังจุดพื้นที่และระดับความสูงที่ต้องการได้ ระบบถูกออกแบบและจัดสร้างเพื่อใช้งานในพื้นที่เปิดเป็นแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile) เพื่อที่จะให้เกิดความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่นในการเข้าสู่พื้นที่ที่เกิดปัญหาได้เป็นอย่างดี หลักการของโมเดลนี้มีแนวคิดกำหนดแบ่งอากาศที่จะทำการบำบัดเป็นระดับชั้น โดยความสูงของระดับชั้นที่เลือกออกแบบกำหนดจากระดับความสูงในแนวดิ่งที่วัดจากระดับพื้นขึ้นไปในอากาศซึ่งการออกแบบครั้งนี้เลือกกำหนดที่ 3 – 5 เมตร จากพื้นดิน


โดยเครื่องบำบัดอากาศฯ มีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม
  2. ความสามารถในการดูดอากาศเข้า 2.2 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
  3. ปริมาตรอากาศที่ปล่องปล่อยออก 2.0 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
  4. ประสิทธิภาพในการบำบัด PM2.5 (จากการทดสอบ) อยู่ระหว่าง 85 – 90%
  5. ขีดความสามารถบำบัดอากาศที่ระดับชั้น 3 เมตร เท่ากับ 0.086 ตารางกิโลเมตร/ชั่วโมง
  6. ในการดูดอากาศเข้าบำบัดหนึ่งครั้งอากาศจะได้รับ การบำบัด 2 ส่วน คือ อากาศที่ได้รับการบำบัดจากเครื่องและอากาศที่ได้รับการบำบัดจากการเจือจาง ทำให้ทุกวินาทีอากาศได้รับการบำบัดเป็น 2 ลูกบาศก์เมตร


หากผลการทดลองติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศฯ ได้ผลดีมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด ในอนาคตคาดว่าจะนำเครื่องดังกล่าวไปติดตั้งบริเวณป้ายรถสาธารณะ สถานที่ที่มีประชาชนหนาแน่น และโรงเรียน เป็นต้น


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์