รูปบทความ ถ้าสถานการณ์ โควิด -19 กินเวลายาวถึงสิ้นปี! เราควรตั้งป้อมรับมืออย่างไร

ถ้าสถานการณ์ โควิด -19 กินเวลายาวถึงสิ้นปี! เราควรตั้งป้อมรับมืออย่างไร

 

เคยสงสัยเเละตั้งคำถามกันไหมว่า ถ้าเจ้าโคโรนาไวรัสกินเวลาไปถึงเดือนธันวาคม 2563 พวกเราจะเป็นอย่างไรกัน สุขภาพร่างกายเเละจิตใจ รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจจะมีความเป็นไปอย่างไร เเล้วเราควรจะใช้ชีวิตร่วมกับสถานการณ์นี้อย่างไรให้มีความสุข มีเเนวทางรับมือเยียวยาเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้างไหม


เราคงห้ามตัวเองไม่ให้เสพข่าวหรือมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ เเต่ถ้าเราสามารถปรับโฟกัสจากโคโรน่าไวรัสที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องร้าย หามุมมองใหม่ หรือเปลี่ยนเรื่องนี้ให้กลายมาเป็นโอกาสบางอย่าง มันอาจทำให้เรารับมือเเละมีความสุขผ่านพ้นช่วงสภาวะวิกฤตนี้ไปได้


ซึ่งในบทความนี้เราจะชวนคุยถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์นี้ 3 เเนวทาว กับ 2 เเง่มุมด้วยกัน ทั้งในมุมของตัวเราเองว่าควรจะปฏิบัติดูเเลตัวเองอย่างไร เเละอีกเเง่มุมหนึ่งคือในส่วนของนโยบายภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยเหลือ Support อย่างไรได้บ้าง 


 

เเนวทางการรับมือสำหรับบุคคลทั่วไป

ขอเริ่มในสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดคือ เเนวทางการรับมือกับ อาการตกใจกลัว (Panic) ของตัวเอง เเน่นอนว่ายิ่งเข้าสภาวะวิกฤตมากเท่าไร เราก็ยิ่งวิตกกังวลเเละเกิดภาวะความกลัว ว่าตัวเราเองนั้นจะติดเชื้อไวรัสเเล้วหรือยัง เพราะด้วยสถิติจำนวนของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดหรือลดลง ซึ่งสถิติยอดล่าสุดของประเทศไทย ( 8 เมษายน 2563) ผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้นในวันนี้ 111 ราย รวม 2,369 ราย ใน 67 จังหวัด เเละเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3 ราย รวม 30 ราย เเละผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 1,430,453 ราย เสียชีวิต 82,133 ราย รักษาหายเพียง 301,385 ราย ดังนั้นสิ่งที่จะป้องกันตัวเราเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนานั้น คือ การ Keep Social Distancing เเละหมั่นล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสใบหน้าหรือประรับทานอาหาร ข้อปฏิบัตนี้ถือเป็นด่านเเรกที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองเเละง่ายที่สุด ประกอบการเข้ามาจัดการคุมเข้มมากขึ้นของภาครัฐ โดยการออกมาตรการ Social Distancing กำหนดเวลาเข้าออกนอกเคหสถาน เพื่อช่วยชะลอการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสได้ไม่มากก็น้อย เเต่อย่างไรก็ตามจะให้ได้ประสิทธิภาพเเละประสิทธิผลดียิ่งขึ้นต้องอาศัยความร่วมมือของเราทุกคนด้วย


ส่วนการ Panic อีกเรื่องหนึ่งที่จะเห็นกันก่อนหน้านี้ คือการกลัวว่าจะไม่มีอาหารและสินค้าที่จำเป็นต้องใช้เพียงพอต่อตัวเองเเละคนในครอบครัว นำไปสู่การกักตุนอาหาร เเย่งชิง เเละอาจส่งผลทำให้สินค้าขาดตลาด ฉะนั้นการที่เราสามารถระงับความกลัวของเราได้ ต้องเริ่มจากการเข้าใจสถานการณ์ และหาข้อมูลก่อนว่า ในปัจจุบันนั้นสถานการณ์เลวร้ายหรือแย่แค่ไหน จำเป็นต้องกักตุนอาหารหรือไม่ และต้องหาข้อมูลว่าความสามารถในการผลิตสินค้าและอาหารที่เราจำเป็นต้องใช้ในการอุปโภคบริโภคของผู้ผลิตต่างๆ นั้นเพียงพอหรือไม่ เมื่อพบว่าอาหารมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของเราทุกคนอย่างเเน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องแพนิก หรือกักตุนอีกต่อไป


อีกส่วนหนึ่งก็ต้องเกิดจากบริหารจัดการของภาครัฐซึ่งเราต้องติดตามนโยบายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจเเละเกิดการเอื้อเฟื้อสินค้าต่อกันเเละกัน ยกตัวอย่างของประเทศเดนมาร์ก ที่มีมาตราการออกมารองรับการซื้อขายสินค้า ด้วยการออกกฏว่าหากครั้งต้องการจะกักตุน ราคาสินค้าชิ้นที่ 2 ก็จ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาเดิม 20 เท่าตัว สินค้าชิ้นที่ 3 ก็คูณเพิ่มไปอีก 30 เท่าตัว เป็น Choice ให้เลือกระดับความยากขึ้นไป ทำให้คนที่คิดจะกักตุนอาหารคิดหนัก เเละยอมซื้อสินค้าเพียงชิ้นเดียว ดังนั้นสินค้าจึงมีจำนวนที่เพียงพอ ไม่เกิดภาวะกักตุนเเละสินค้าที่ขาดตลาด 



เเนวทางรับมือสำหรับผู้ประกอบการ

หลังจากที่พูดถึงในส่วนของการดำรงชีวิตในภาพรวมของทุกคน คือความกลัวเเละวิตกกังวลกับปัจจัยต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำรงชีพเเล้ว เรามาพูดถึงในส่วนของผู้ประกอบการที่จะดำเนินกิจการอย่างไรให้เเฮปปี้โดยไม่ต้องกล้ำกลืนฝืนใจ Lay Off พนักงานที่อยู่เคียงบ่าเคียงไหล่มาด้วยกันกว่าหลายปี ให้มีความสุขกันทั้งสองฝ่ายในสภาวะวิกฤตที่ไม่รู้จะยุติเเละสงบลงเมื่อไร


การที่เราจะเอาชนะอะไรสักอย่างเพื่อคนหมู่มากหรือส่วนรวมเเล้ว ไม่ว่าจะเป็น สงครามเย็น หรือ สงครามโลก ที่เคยเกิดขึ้น ถ้าเราลงสังเกตดูดีๆ การได้มาซึ่งชัยชนะนั้นเกิดจากความร่วมมือเเละความเป็นปึกเเผ่น เเละถ้าหากดูในมุมของความสัมพันธ์กันบ้าง ความสัมพันธ์ที่อยู่ยืดยาวเเละไม่มีวันจบสิ้นลงได้ คือความสัมพันธ์เเบบครอบครัว


สิ่งที่กำลังจะบอกกับผู้ประกอบการต่อไปนี้ ก็คือการลองปรับการมองภาพจากพนักงานคนหนึ่งที่เป็นเพียงคนที่ทำงานเพื่อหาเงินให้บริษัทเราเท่านั้น เเละพนักงานเองก็ลองปรับมุมมองว่าเราทำงานเพียงเพราะได้มาซึ่งรายได้เลี้ยงชีพเพียงเท่านั้น ให้ทั้งสองฝ่ายลองปรับทัศนคติมุมมองว่า “เราทั้งสองเป็นครอบครัวเดียวกัน” ลงเรือลำเดียวกันเเล้ว ช่วยกันให้บริษัทอยู่รอดจนกว่าจะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ในส่วนของบริษัทนั้นก่อนอื่นต้องพิจารณาและวิเคราะห์ความสามารถและสุขภาพทางการเงินของบริษัท หากเห็นว่ายังสามารถไปต่อได้ เพียงแต่จำเป็นต้องใช้วิธีการหรือมาตรการบางอย่างในขณะที่บริษัทต้องเผชิญภาวะรายได้ตกต่ำ เช่น การลดเงินเดือนลง ทั้งพนักงานและเจ้าของในฐานะผู้นำของบริษัทก็จะลดเงินเดือนไปด้วยกัน การทำรูปเเบบนี้จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องกังวลว่าจะโดนไล่ออกจากงานเเละผู้ประกอบการก็ไม่ต้องมานั่งทำใจสุ่มจับรายชื่อ Lay Off พนักงานออก เท่านี้ทุกคนก็จะทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขเเม้จะอยู่สถานการณ์วิกฤต


เเนวทางรับมือโดยรวม

ในข้อนี้จะพูดถึงวิธีการรับมือโดยภาพรวมใหญ่ๆ ผ่านการดูเเลช่วยเหลือจากตัวเราเอง เเละภาครัฐควรเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนให้รอดพ้นจากวิกฤตนี้โดยเร็วอย่างไรบ้าง ซึ่งในการรับมือของคนส่วนใหญ่และรัฐบาลที่จะต้องทำร่วมกันนั้น จะเป็นในด้านของการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต้องเริ่มจากตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม รวมไปถึงการออกนโยบายต่างๆ จากภาครัฐ และต้องยอมรับว่าจากสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่อาจจะตค่อยๆ ขาดหายไปในสังคมเมื่อทุกคนเข้าสู่ภาวะความเครียด นั่นก็คือ ความสุข และความสุขที่เราอยากให้มีการรับมือสำหรับเรื่องนี้มีด้วยกัน 3 เรื่องด้วยกัน นั่นคือ ความสุขทางเศรษฐกิจ ทางร่างกาย และทางจิตใจ 



ความสุขทางเศรษฐกิจ

เริ่มกันที่การสร้างความสุขทางเศรษฐกิจในตอนนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่าแทบจะทุกกลุ่มธุรกิจและทั่วโลก ต่างก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้ และในแต่ละประเทศทางภาครัฐก็มีนโยบายในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ทั้งทางภาคธุรกิจ ที่มีการปรับวิธีการทำงานเพื่อให้เอื้อต่อประสิทธิภาพ และรายได้ ที่ต้องไม่ส่งผลต่อการระบาดของโรค อย่างเช่นการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของบริษัทต่างๆ ให้เป็นแบบ work from home พนักงานสามารถทำงานที่บ้านได้ ผ่านระบบการทำงานของแต่ละที่ ให้งานไม่ชะงัก และธุรกิจยังไปต่อได้


อีกทั้งทางด้านการเงิน ตอนนี้ธนาคารหลายแห่งก็เริ่มออกนโยบายหรือแคมเปญช่วยเหลือสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจและ SME ทั้งการปรับลด ผ่อนผันการจ่ายดอกเบี้ย หรือวงเงินในการกู้ยืมเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจ และการประคับประคองกิจการก็เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น ทางภาครัฐของไทยเองก็มีมาตรการช่วยเหลือเป็นเงิน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้กับประชาชนที่ขาดรายได้ โดยเฉพาะเเรงงาน พ่อค้าเเม่ขาย ที่ต่างต้องปิดร้าน ที่ถือว่าอาจเป็นเเนวทางการเยียวยาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนได้คลายความกังวลใจไปได้บ้างไม่มากก็น้อย เเละนอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงรูปแบบการทำงานด้านต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการ ที่เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างทั่วถึง


ความสุขทางเศรษฐกิจอีกอย่างที่เราสามารถช่วยกันได้คือเรื่องของการอุดหนุนสินค้าและอาหารจากร้านค้าในพื้นที่ จริงอยู่ว่าหลายคนอาจเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประมานอาหาร เริ่มซื้อของเพื่อเก็บไว้ทำอาหารทานกันเองในครอบครัวสำหรับช่วงนี้ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่ายังมีร้านค้าที่ยังเปิดขายสินค้าจำเป็น ร้านอาหารที่ยังเปิดให้บริการแบบ Take Home หรือ Delivery อยู่ ซึ่งหากเราลองช่วยกันอุดหนุนร้านค้า ร้านอาหารเหล่านี้ให้ยังพอมีรายได้ในการดำเนินกิจการ หาโปรโมชั่น Delivery ที่มีให้เลือกมากมายในตอนนี้ ช่วยกันอุดหนุน สร้างสุขภาพเศรษฐกิจที่ดีภายในประเทศ ให้ร้านค้า ร้านอาหาร และธุรกิจต่างๆ ยังอยู่ได้ จนกว่าวิกฤตินี้จะผ่านพ้นไป



ความสุขทางร่างกาย

ปัจจัยความสุขที่เราสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง ยิ่งในช่วงเวลาที่เรามีโอกาสในการอยู่กับตัวเองเยอะๆ แบบนี้ เป็นการดีที่เราจะหันมาใส่ใจสุขภาพ ดูแลร่างกาย หาเวลาว่างจากการทำงานมาออกกำลังกาย หากิจกรรมทำในบ้าน โดยเฉพาะคนที่ Work from home ยิ่งต้องจัดการเวลาให้ดี อย่าทำงานจนเลยเวลาพักหรือเวลาเลิกงาน แล้วก็อย่าแวะพักจนร่างกายเคยชินกับการไม่ทำงาน เพราะเมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาวะปกติ จะกลายเป็นว่าเราต้องมานั่งปรับเวลาร่างกายกันใหม่อีกรอบหนึ่ง


ส่วนคนที่จัดสรรเวลาทำงานได้ดีแล้ว ในเวลาว่างที่เราได้เพิ่มขึ้นมาจากการที่ไม่ต้องออกเดินทางไปทำงาน อย่างในตอนเช้า เอาเวลาที่ปกติเราจะต้องเผชิญรถติดอยู่บนถนน 1 - 2 ชั่วโมง หันมาออกกำลังกาย ทำอาหารเช้าที่เป็นเมนูเพื่อสุขภาพ หรือพาน้องหมา น้องแมว หรือใช้เวลากับการดูแลสัตว์เลี้ยง ส่วนเวลาในช่วงเย็นที่ไม่ต้องนั่งรถกลับบ้านหลังเลิกงานมาทำงานบ้าน หรือหากิจกรรมสนุกๆ สามารถรักษาระยะห่างและใช้เวลาไม่นานทำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เท่านี้ก็ช่วยสร้างความสุขให้กับร่างกายได้แล้ว


และความสุขทางร่างกายของประชาชนอย่างเราๆ ที่ทางภาครัฐควรเพิ่มความเอาใจใส่มากขึ้นในช่วงเวลาอย่างนี้ เนื่องจากเราทุกคนต้องทำการ Stay Home งดออกจากบ้านหากไม่จำเป็น เเละด้วยเจ้าโคโรนาไวรัสที่มีความร้ายกาจพอสมควร บางรายที่ติดเชื้อไวรัสอาจใช้ระยะเวลานานกว่าจะเเสดงอาการ ซึ่งอาจส่งผลให้ตัวผู้ที่ติดเชื้อเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสไปติดคนรอบข้างได้โดยไม่รู้ตัว เเละด้วยประเทศไทยเราเองในการเข้าตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัสโดยที่ยังไม่อาการ อาจมีการเสียค่าใช้จ่าย 3,000 - 10,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่โรงพยาบาลนั้นๆ ในตอนนี้ก็อยู่ในระหว่างการพัฒนาเครื่องตรวจหาเชื้อไวรัสแบบเฉพาะกิจหรือแบบพกพา ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็ให้ความร่วมมือกันพัฒนาขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยตรวจหาเชื้อได้ในเวลาอันรวดเร็ว และยังมีค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าการไปตรวจที่โรงพยาบาลมาก


เเละด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารไร้พรมเเดนผ่านระบบออนไลน์ที่ง่ายต่อการทำเช็คลิสต์จำนวนผู้ติดเชื้อ ซึ่งในขณะนี้ทางภาครัฐเองก็ได้พัฒนาจัดตั้งระบบ BKKCOVID - 19 ที่เราสามารถตรวจเช็คประเมินความเสี่ยงการติดโรคโควิด - 19 ได้ด้วยตัวเองที่บ้าน พร้อมมีคำเเนะนำการดูเเลรักษาอย่างถูกวิธี ส่วนใครที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็จะมารถพยาบาลมารับตัวถึงหน้าบ้าน เพื่อให้ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที เป็นการป้องกันและเฝ้าระวังการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้ออีกขั้นหนึ่ง เเละเป็นการเพิ่มความมั่นใจ สบายใจให้ประชาชนทุกคนให้ได้ทราบข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องจากทางการ ประเมินความเสี่ยงและดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองได้ดีขึ้น 



สุขภาพจิต

ในส่วนของด้านสุขภาพจิตนี้ เเม้ภาครัฐอาจจะเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาได้ก็คงไม่ดีเท่าการที่เราเยียวยาเเละดูเเลด้วยตัวเราเอง เพราะสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากเราไม่มีสุขภาพจิตที่เเข็งเเรงเเจ่มใสในสภาวะสถานการณ์ที่โหดร้ายเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าเราอาจจะผจญภาวะเศร้าหมอง ใจเฉาไปก่อนที่โรคทางกายจะมาทำร้ายเรา ซึ่งหากเรามองให้ดี ปรับโฟกัสเสียหน่อย มองหาข้อดีของเหตุการณ์นี้ เช่น มีเวลาอยู่กับตัวเอง ลองหาเพลงเพราะๆ ที่เราชอบ หาหนังสือที่น่าสนใจ อ่านเติมความรู้ เติมพลังชีวิต หรือฟัง Podcast เนื้อหาดีๆ เปิดมุมมองใหม่ๆ ได้มีเวลาอยู่กับคนในครอบครัวมากขึ้น ไม่ต้องตื่นเช้ารีบไปทำงาน เพราะกลัวว่ารถจะติดไปทำงานสาย เลิกจากงานกลับถึงบ้านก็เหนื่อยล้า ไม่ค่อยได้เทคเเคร์ดูเเลรอบข้างสักเท่าไร เเละยิ่งไปกว่านั้นคือ ทำให้เราได้คิดถึงกันมากขึ้น คิดถึงคนที่เราไม่เจอหน้ากันมาหลายวัน หลายเกือน หรือหลายปี ทำให้เราได้ Connect หวนรำสึกถึงกันอีกครั้ง เป็นการเติมความสุขให้หัวใจในอีกทางหนึ่งด้วย


หากเราต้องอยู่ร่วมกับสถานการณ์วิกฤตโควิด-19นี้ไปอีกนาน โดยไม่รู้ว่าจะยุติกลับมาเป็นปกติดังเดิมเมื่อไร เเนวทางหนึ่งที่เราจะอยู่รอดเเละมีความสุขเเม้ในสถานการณ์วิกฤต คือการเข้าใจ ร่วมมือ เเละปรับโฟกัสประบมุมมองหาสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นให้เห็นในช่วงนี้ เพียงเท่านี้เราทุกคนในสังคมก็จะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน




อ้างอิง

ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุขในวิกฤตโควิด-19 ตามหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม | The Secret Sauce EP.210



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์