รูปบทความ ทำความรู้จักกับพื้นที่สีเขียว อะไรบ้างที่เป็นปอดให้เราได้

ทำความรู้จักกับพื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่สวนสาธารณะ อะไรบ้างที่เป็นปอดให้เราได้

พื้นที่สีเขียว” เราอาจจะได้ยินคำนี้กันบ่อยมากเมื่อกล่าวถึงสวนสาธารณะอย่างในบทความที่เคยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สวนสาธารณะที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานครไปแล้ว วันนี้เราจะพามารู้จักกับการแบ่งพื้นที่สีเขียวอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ได้เป็นสวนสาธารณะ แต่มีการบันทึกเป็นพื้นที่สีเขียวเช่นกัน


พื้นที่สีเขียวเพื่อสภาพแวดล้อมของเมืองที่ดี


นี่คือคำนิยามหลักที่ทางแผนแม่บทพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 ได้ให้ไว้กับพื้นที่สีเขียวทั้ง 9 ประเภทที่ไม่ได้มีความจำเป็นหรือเกี่ยวข้องกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองทั้งหมด แต่ส่งผลทางอ้อมให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้นได้ มาดูกันว่าอะไรบ้างที่นับเป็นพื้นที่สีเขียว และมีแต่ละประเภทเท่าใดเท่าใดกันแล้วบ้าง


สนามกีฬากลางแจ้ง

มี 384 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 3,544,695.200 ตารางเมตร


ประเภทแรกนับว่าเกี่ยวข้องกับผู้คนมากทีเดียว โดยจะนับเป็นสนามกีฬากลางแจ้งได้นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ว่างที่คนใช้เล่นกีฬาเท่านั้น แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป เช่น สนามกีฬาชุมชนกองซ่อมเครื่องสื่อสาร-อิเล็กทรอนิกส์, สนามกีฬาหมู่บ้านปั้นทอง 3


สนามกอล์ฟ

มี 33 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 11,811,172.400 ตารางเมตร

ประเภทที่สองนั้นต่างจากที่แรก อันนี้ค่อนข้างง่ายขึ้นเล็กน้อยเพราะทุกแห่งที่ประกาศตัวเป็นสนามกอล์ฟ ถือว่าเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีได้เลย เช่น สนามกอล์ฟบริเวณสนามกอล์ฟทองทัพบก, สนามกอล์ฟเลอกาซี แขวงสามวาตะวันตก


แหล่งน้ำ

มี 267 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 6,846,231.576 ตารางเมตร

หลายคนอาจจะงงว่า ทำไมแหล่งน้ำถึงจัดเป็นพื้นที่สีเขียว เหตุผลหลักก็เป็นเพราะแหล่งน้ำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้สภาพแวดล้อมของเราดีขึ้น หากขาดแหล่งน้ำ ก็นับเป็นเรื่องยากที่จะมีสภาพแวดล้อมที่ดีได้ แต่ไม่ใช่แค่เป็นแหล่งน้ำเท่านั้น ยังมีนิยามเพิ่มเติมกับส่วนนี้อีกว่า จะต้องเป็นสระน้ำ หนองน้ำ บึง ที่มีน้ำท่วมขังนานกว่า 6 เดือนต่อปี และต้องมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป เช่น แหล่งน้ำบริเวณคลองแสนแสบ, แหล่งน้ำบริเวณคลองสามวา


ที่ลุ่ม

มี 437 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 9,489,904.146 ตารางเมตร

คราวนี้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเหมือนกัน แต่จะต่างกันที่เป็นพื้นที่ที่ต้องมีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เช่น ต้นกก ก็นับเป็นพื้นที่สีเขียวประเภทนี้ได้ เช่น กรุงเทพกรีฑา18แยก3, ที่ลุ่ม ถนนบางแวกขาเข้าถนนสาย 2 ใกล้ทางเข้า บ้านวัชรธานี


ที่ว่าง

มี 2,975 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 36,154,826.356 ตารางเมตร

หลายคนอาจจะงงว่าที่ว่าง เป็นพื้นที่สีเขียวได้อย่างไร แต่เขานับกันจริงๆ ถึงที่ว่างหรือที่โล่งในศาสนสถานที่มีขนาดตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป อาจเป็นพื้นที่โล่ง หรือพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และไม่ได้เข้าข่ายพื้นที่ประเภทใด แต่ต้องมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 500 ตารางเมตรขึ้นไป เช่น ที่ว่างข้างหลังห้างมินิบิ๊กซีนวมินทร์, ที่ว่างพุทธมณฑล สาย2 ซอย28


พื้นที่ไม้ยืนต้น

มี 301 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 5,673,638.491 ตารางเมตร

นี่สิ พื้นที่สีเขียวเห็นๆ กับพื้นที่ที่มีการปลูกไม้ยืนต้นหรือมีไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป รวมทั้งสวนไม้ผลยืนต้นด้วยเช่นกัน เช่น สวนผลไม้ซอยบางขุนนนท์25, สวนไม้ผลสำนักงานเกษตรพื้นที่ 3


พื้นที่เกษตรกรรม

มี 406 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 31,490,145.296 ตารางเมตร


ที่ผ่านมาอาจเป็นการเพาะปลูกที่ไม่ตั้งใจให้เกิดขึ้น แต่อันนี้เป็นการเพาะปลูกอย่างตั้งใจและหวังผลที่ต่างจากพื้นที่ไม้ยืนต้นอย่างสวนไม้ผลเพราะ พื้นที่เกษตรกรรมจะไม่ใช่ต้นไม้ใหญ่ อาจจะเป็น นาข้าวหรือการปลูกหญ้า เช่น แปลงนาข้าว บริเวณซอยจตุโชติ 12 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพหมานคร, สวนกล้วยใกล้ถนนรางโพธิ์


พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

มี 147 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 46,649,697.216 ตารางเมตร

เป็นแหล่งน้ำเช่นเดียวกับพื้นที่สีเขียวประเภทที่ 3 แต่ที่นี่เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก เช่น บ่อตกปลาซอยประดิษฐ์มนูธรรม, บ่อเลี้ยงปลาซอยพุทธบูชา36


พื้นที่อื่นๆ

มี 71 แห่ง เป็นพื้นที่ทั้งหมด 1,084,687.400 ตารางเมตร

พื้นที่สีเขียวประเภทเป็นพื้นที่ที่นับไว้สำหรับอนาคตว่าอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการนันทนาการและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ เช่นพื้นที่ริมคลอง พื้นที่ใต้หรือข้างทางด่วนหรือทางพิเศษ เช่น สุสานมัสยิด ม่านาฟิอุ้ลอิสลาม, สนามหญ้าชุมชนราชวัลลภ3


รวมพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 5,021 แห่ง 152,744,998.080 ตารางเมตร

หลังจากอ่านข้อมูลเหล่านี้ก็ได้รู้จักพื้นที่สีเขียวที่ช่วยเป็นปอดให้คนกรุงนอกเหนือจากสวนสาธารณะกันแล้ว อาจจะเจ็บปวดกันเล็กน้อยที่ตัวเลขบ่งบอกว่าพื้นที่สีเขียวที่มาพร้อมต้นไม้จริงๆ เป็นที่ว่างที่ถูกปล่อยร้าง คงต้องรอดูความคืบหน้าในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวกันต่อไปว่า เราจะได้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีในกรุงเทพฯ อย่างเช่นพื้นที่ไม้ยืนต้นอย่างสวนผลไม้ให้เราท่องเที่ยวกัน

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์