รูปบทความ ภาคพัฒนาอสังหาฯ แห่ลงทุนโครงการเชื่อมรถไฟฟ้า

ภาคพัฒนาอสังหาฯ แห่ลงทุนโครงการเชื่อมรถไฟฟ้า


ประชาชาติธุรกิจเผยว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาโครงการภาคอสังหาฯ ได้มีการต่อยอดลงทุนเชื่อมโครงการระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะรถไฟฟ้ามากขึ้น ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน และสกายวอร์ค 

สรุปโครงการพัฒนาอสังหาฯ

1. สามย่าน มิตรทาวน์ (สถานีสามย่าน-ลุมพินี)

สามย่าน มิตรทาวน์ มิกซ์ยูสมูลค่า 8,500 ล้านบาท พัฒนาโดยบมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ย่านพระราม 4 พื้นที่ 13 ไร่ โดยเช่าที่จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ

โดยทุ่มเงิน 300 ล้านบาทสร้างอุโมงค์ลอดใต้ ถ.พญาไท 200 เมตร เชื่อมรถไฟใต้ดินสถานีสามย่านและจามจุรีสแควร์ คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการกว่า 20,000-25,000 คนต่อวัน รวมถึงเป็นจุดเชื่อมการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างเมืองเก่าเยาวราชและเมืองใหม่สาทร สีลม สยามสแควร์

2. อุโมงค์เชื่อมสถานีลุมพินี-วันแบงค็อก

ทีซีซี แอสเซ็ท ของนายเจริญ ก็ขอสร้างอุโมงค์เชื่อมสถานีลุมพินีหัว-ท้ายทะลุเข้าโครงการวันแบงค็อก ซึ่งได้สิทธิ์พัฒนาที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พื้นที่ 104 ไร่ มูลค่าโครงการ 1.2 แสนล้านบาท

นอกจากนี้มีสถานีสุขุมวิทฝั่งซอยคาวบอย บจ.บีแอนด์จี ขอทำทางเดินเชื่อมระดับดินเข้าอาคาร 3 ชั้น ซึ่งด้านล่างเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน ชั้นบนสุดเชื่อมกับบีทีเอส

3. สิงห์คอมเพล็กซ์ มิกซ์ยูส-สถานีเพชรบุรี

บมจ. สิงห์ เอสเตท ของตระกูลภิรมย์ภักดี ขอสร้างทางเดินใต้ดินทะลุสถานีเพชรบุรี กับโครงการสิงห์คอมเพล็กซ์ มิกซ์ยูสมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท แยกอโศก-เพชรบุรีที่ดินสถานทูตญี่ปุ่นเดิม

4. ไนน์สแควร์ พระราม 9-สถานีศูนย์วัฒนธรรม

ไนน์สแควร์ พระราม 9 ตรงข้ามฟอร์จูน ของ บมจ.แกรนด์ คาแนล แลนด์ (จีแลนด์) ขอสร้างอุโมงค์เชื่อมสถานี และ "สถานีศูนย์วัฒนธรรม" ในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ที่ห้างเอสพลานาด ของกลุ่มสยามฟิวเจอร์ มีแผนจะสร้างทางใต้ดินเชื่อมกับสถานีเช่นกัน

5. มิกซ์ยูสดุสิตธานี-สถานีสีลม

โครงการมิกซ์ยูส มูลค่า 36,700 ล้านบาท ของโรงแรมดุสิตธานี ที่ร่วมทุน "เซ็นทรัลพัฒนา" พัฒนาที่ดินหัวมุม ถ.สีลม-พระราม 4 ซึ่งได้สิทธิเช่าเพิ่มจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บนที่ดิน 23 ไร่ จะสร้างอุโมงค์เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสีลมกับศูนย์การค้าใต้ดินเป็นลักษณะไลฟ์สไตล์มอลล์แบบโลว์ไรส์ 2-3 ชั้น อยู่ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ที่จอดรถอีก 2 ชั้น

6. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต และรัตนาธิเบศร์-สถานีแยกนนทบุรี 1
7. บิ๊กซี-สถานีตลาดบางใหญ่กับสถานีบางกระสอ
8. กลุ่มเดอะมอลล์บางแคและศูนย์การค้าซีคอนบางแค-สถานีบางซื่อ ท่าพระและหัวลำโพง บางแค
9. ศูนย์การค้าเกตเวย์ บางโพ-สถานีบางโพ และสถานีเตาปูน
10. หอชมเมืองสมุทรปราการ-สถานีสมุทรปราการ
11. ศูนย์การค้าโรบินสัน สมุทรปราการ-สถานีแพรกษา
12. คอนโดมิเนียมโมโทรโพลิส-สถานีสำโรง
13. ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว-สถานีห้าแยกลาดพร้าว
14. กลุ่มเมเจอร์และธนาคารไทยพาณิชย์-สถานีรัชโยธิน
15. ตลาดยิ่งเจริญ-สถานีสะพานใหม่
17. โครงการเชื่อม SKYWALK BTS 

ปัจจุบันมีผู้ฒนาอสังหาฯ ขอสร้างทางเดิน (Skywalk) ได้แก่

- สถานีหมอชิต บีทีเอสลงทุนกว่า 200 ล้านบาท สร้างทางเชื่อมเกาะใต้โครงสร้างรถไฟฟ้าขนานไปกับเกาะกลาง ถ.พหลโยธิน เชื่อมสถานีหมอชิตถึงซอยพหลโยธิน18 เข้ามอลล์ในโครงการเดอะไลน์ หมอชิต-จตุจักร ระยะทาง 480 เมตร ล่าสุดเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาแล้ว จะแล้วเสร็จต้นปี 2561 อนาคตจะสร้างต่อไปยังธนาคารทหารไทย

- สถานีชิดลม การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ขอเชื่อมเข้าอาคารสำนักงานใหญ่, สถานีเพลินจิตมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาขอเชื่อมสำนักงานใหม่ ตรงหัวมุมถนนวิทยุกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี สถานีนานา มีบมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทล แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ เชื่อมกับโรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ

- สถานีอโศก มีนักลงทุนญี่ปุ่นขอสร้างเชื่อมเข้าโรงแรมฝั่งตรงข้ามศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21

- สถานีปุณณวิถี กลุ่ม MQDC (แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น) ของตระกูล "เจียรวนนท์" ขอสร้างทางเชื่อมเข้าโครงการ Whizdom 101 โปรเจ็กต์มิกซ์ยูสมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท จากสถานีบีทีเอสถึงสะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณซอยสุขุมวิท 101/1 พร้อมบันไดขึ้นลง

นอกจากนี้ยังมีโครงการอสังหาฯ ไม่ว่าจะเป็น มิกซ์ยูส คอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้าลงทุนทำทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าอีก เช่น 

- ไอคอนสยาม ลงทุนสร้างโมโนเรลสายสีทองเชื่อมบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรีกับไอคอนสยาม

- กลุ่มมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่ สร้างสกายวอล์กเชื่อม 4 ด้าน มีห้างมาบุญครอง สยามดิสคัฟเวอรี่ หอศิลป์กรุงเทพฯ และโรงภาพยนตร์สกาล่า

- กลุ่มย่านราชประสงค์ สร้างสกายวอล์กจากศูนย์การค้าแพลตทินัม ประตูน้ำ ผ่านเซ็นทรัลเวิลด์ แล้วยกข้ามถนนเชื่อมกับบิ๊กซี ศูนย์การค้าเกษร พลาซ่า แล้วเชื่อมกับสกายวอล์กเดิม ที่สร้างไปถึงบีทีเอสสถานีเพลินจิต

- สกายวอล์กเชื่อมบีทีเอสบางนาและอุดมสุข มีผู้ประกอบการในแนวเส้นทางขอสร้างทางเชื่อมเข้ากับอาคารบ้างแล้ว เช่น โครงการเดอะโคสต์ แบงค็อก ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าไบเทค และโครงการแบงค็อกมอลล์


อ่านข่าวเพิ่มเติม : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์