รูปบทความ มติระดมทุนผ่าน "TFF" โครงการทางพิเศษฉลองรัช-บูรพาวิถี

มติระดมทุนผ่าน "TFF" โครงการทางพิเศษฉลองรัช-บูรพาวิถี


นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เเถลงการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 พ.ค.2560 มีมติเห็นชอบการระดมทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF: Thailand Future Fund) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) 

2. โครงการทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)

สัดส่วนและระยะเวลาการโอนรายได้ในอนาคต

ร้อยละ 45 ของรายได้จาก 2 โครงการ เป็นระยะเวลา 30 ปี

โดยให้เป็นไปตามหลักการและเงื่อนไขข้อกำหนดหลักของสัญญาโอนและรับสิทธิโอนในรายได้ (Revenue Transfer Agreement : RTA) และสามารถออกหน่วยลงทุนและเสนอขายหน่วยลงทุนได้ภายในไตรมาสที่สามของปี 60

โครงสร้างและรูปแบบประเภทหน่วยลงทุน

กองทุนรวมฯ จะเสนอขายหน่วยลงทุนให้กับกระทรวงการคลังและนักลงทุนทั่วไป ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินการของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนรวมฯ ลงทุน โดยไม่มีการรับประกันผลตอบแทน

การใช้ประโยชน์จากเงินที่ได้จากการระดมทุนของ กทพ.

ใช้ในการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานใหม่ของ กทพ. 2 โครงการ รวมวงเงินลงทุน จำนวน 44,819 ล้านบาท ได้แก่

1. โครงการทางพิเศษพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตก วงเงินลงทุน 30,437 ล้านบาท 

2. โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 และ E-W Corridor ด้านตะวันออก วงเงินลงทุน 14,382 ล้านบาท"

TFF

"TFF" กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund)

กองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ คือ กองทุนรวมประเภทหนึ่งที่รัฐบาลจะจัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินทุนจากภาคเอกชนทั้งสถาบันและรายย่อยเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน มอเตอร์เวย์ และอื่นๆ โดย TFF เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระดมทุนนอกเหนือจากการกู้ยืมเงินในแบบเดิมเพื่อลดภาระทางการคลัง ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั้งสถาบันและรายย่อยในการกระจายความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวน

กองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์จะเป็นกองทุนที่ไม่จำกัดอายุซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ประกาศและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยในระยะการจัดตั้งกองทุน รัฐบาลจะนำเงินจากกองทุนรวมวายุภักษ์ และเงินลงทุนจากกระทรวงการคลัง จำนวน 1 หมื่นล้านบาทเป็นเงินตั้งต้น สำหรับระยะต่อไปจะขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุนทั่วไปมูลค่าการระดมทุนราว 1 แสนล้านบาท และสามารถระดมทุนเพิ่มเติมได้ในอนาคต โดยรัฐบาลจะเร่งดำเนินการจัดตั้งกองทุนให้แล้วเสร็จภายในปี 2559

สาเหตุที่จัดตั้งกองทุน TFF

1) เพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาล

2) เป็นการสนับสนุนให้ภาคเอกชนรู้จักและหันมาลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานมากยิ่งขึ้น

ผลตอบแทนสำหรับผู้ลงทุน TFF

นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (Dividend) ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับรายได้ของการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานนั้นๆ ที่กองทุนรวมเป็นเจ้าของ (Freehold) หรือ ทำสัญญาเช่า (Leasehold) 

นอกจากนี้นักลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนในรูปส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้น (Capital gain) หากผลประกอบการของโครงสร้างพื้นฐานเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ราคาหน่วยลงทุนก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ หากสินทรัพย์ที่ TFF ซื้อมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นในภายหลังย่อมทำให้มูลค่าหน่วยลงทุนที่ผู้ลงทุนจะได้รับคืนก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ และ SCB

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์