รูปบทความ เปิดมุมมองมนต์เสน่ห์ผ้าไทยสู่การอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม กับ เเพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์

เปิดมุมมองมนต์เสน่ห์ผ้าไทยสู่การอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม กับ เเพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์

Highlight

  • “เเพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์” ที่เมื่อหลายปีก่อน เรารู้จักเธอในฐานะ Make up Artist ที่ไม่ว่าใครในตอนนั้นก็ต้องรู้จัก เเละมีเธอเป็นไอดอลคนเเรกๆ ด้านการเเต้งหน้า ก่อนที่เธอจะผันตัวมาสนใจเเละเรียนรู้ผ้าไทยอย่างเอาจริงเอาจัง รวมไปถึงเรื่องสิ่งเเวดล้อมด้วยเช่นกัน
  • เพราะการได้เรียนรู้เรื่องผ้าไทย ทำให้เธอนั้นได้มองอะไรที่นอกเหนือจากตัวเอง สอนให้เราได้รู้สึกนิ่งให้ได้รู้สึกนิ่ง ค่อยๆ Absorbกับสิ่งที่มันอยู่รอบข้าง สอนให้มีสติ มีสมาธิกับสิ่งที่ทำอยู่ เเละเธอก็รู้สึก Amazing สุดๆ กับการได้รู้จัก เรียนรู้เรื่องสีของธรรมชาติ จาก "อาจารย์โก๋ สุรโชติ ตามเจริญ" เจ้าของผลงาน “ผ้าโฮลโบราณ” ของจังหวัดสุรินทร์
  • เเละจากความมหัศจรรรย์ของสีธรรมชาตินั้นเอง ทำให้เธอรู้สึกอยากจะปกป้อง เเละสร้างสร้างความตระหนัก ให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องสิ่งเเวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น เพราะทั้งสองเรื่องมันเป็นการพึ่งพาเเละเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


วันนี้ ESTO+ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณแพร แพรี่พาย ด้านมุมมองและแนวคิด เกี่ยวกับการผันตัวจาก Makeup Artist ตัวแม่ สู่แฟชั่นไอคอนด้านผ้าไทย และขยับเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้ทำความรู้จัก แพรี่พาย ในมุมที่เราอาจไม่เคยเห็น 



เมื่อคุณเเพรเดินทางมาถึงสถานที่นัดหมาย “สวัสดีค่ะ เป็นไงกันบ้าง ทานข้าวกันรึยังคะ” ประโยคทักทายง่ายๆ พร้อมรอยยิ้มสดใสจากความเป็นกันเองจากคุณเเพร เเละเมื่อทีมงานได้ทำการ Set up ทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยเเล้ว เราก็เริ่มบทสนทนาการสัมภาษณ์กันโดยทันที เเละในการพูดคุยของเรานั้น ก็ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย สไตล์ชาวบ้าน ด้วยการนั่งคุยกันบนพื้น ชิลล์ๆ ให้บรรยากาศที่เป็นกันเองเอามากๆเลยล่ะค่ะ


ตั้งเเต่เมื่อไรกันที่คุณเเพรถึงหันมาสนใจเเละชื่นชอบผ้าไทย


เเพรมาเริ่มก็ประมาณสัก 3 ปีที่เเล้ว ที่ได้มีโอกาสไปขอนเเก่นครั้งเเรก ก็เหมือนเเบบได้มีโอกาสไปหมู่บ้านชนบทที่ทำเกี่ยวกับผ้าไทย เเล้วก็ได้ไปเจอเเม่ๆ ที่เขาน่ารักมาก เเล้วก็เหมือนให้ความต้อนรับเรา อยากที่สอน อยากที่จะให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับผ้าไทย ก็ได้เห็น Process ตั้งเเต่กว่า “มัดหมี่ขอนเเก่น” มันเป็นอย่างไร ผืนนี้มันมีความเป็นมาอย่างไร มันได้เห็นตั้งเเต่ตัวหนอน ใบหม่อน พอเขาเป็นดักเเด้ วิธีการสาวไหม ขั้นตอนการย้อม การทอ อะไรเเบบนี้ พอเห็น Process ขั้นตอนตรงนั้นปุ๊บ ก็รู้สึกว่ามันเหมือนกับศิลปะที่เราทำอยู่เลย ไม่ว่าจะออกมาเป็นผลงานชิ้นหนึ่ง มันต้องมีเรื่องราว เอาตั้งเเต่ตอนเเรกมา Develop สูตร มันมีขั้นตอน อะไรเเบบนี้ จนเรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์มา


ทำให้รู้สึกว่า เฮ้ย! ขนาดมันมีเเค่ขอนเเก่นยังสนุกขนาดนี้เลย จังหวัดอื่นๆ มันต้องสนุกเเน่เลย เเต่มันก็คือได้มีโอกาสเเบบว่าได้ไปสุรินทร์ ไปบุรีรัมย์ เเละก็อุบล ไปอุดรธานี ไปหลายๆที่ในอีสาน เเล้วก็ได้ค้นพบเหมือนเเบบ ผ้าไทยนี้มันไม่ใช่เเค่ผ้าที่เราเห็นหรือผ้าที่เเพรใส่ คือเหมือนที่เราบอกว่า “ผ้าไทย” คือมันยิ่งใหญ่มาก


ซึ่งตอนนั้นก็ได้ซื้อเป็นผ้าสีเทาที่เราได้มีโอกาสเอาไปตัดเป็นตัวเเรกไปใส่ที่ Paris เเล้วก็พอเอามาลอง Mix&Match เหมือนเเบบเสื้อผ้าที่เราใช้ในปัจจุบันอยู่เเล้ว กระโปรง Matallic กับรองเท้า Nike มันก็ดูมีความเเบบมีสไตล์ มันรู้สึก เฮ้ย! มันเท่ มันได้เลย มันเหมือนกับว่าเราไปเมืองนอก เเล้วรู้สึกว่าเสื้อผ้าเรา เเม่ง! มันเท่ มันเเบบมี Story



อะไรที่เป็นเหตุจริงๆ ที่หันมาจริงจังกับผ้าไทย

ที่หันมาสนใจผ้าไทยจริงๆ เรารู้สึกว่าเเบบเรื่องของสีสันด้วยเเหละ เรื่องของสีสันของรอยยิ้มชาวบ้าน สัสันของการอยู่เเบบชุมชน สีสันของการกินกันเอง ที่นั่งเเบบนี้ อย่างวันนี้ที่อยาก Interveiw นั่งๆ เพราะรู้สึกว่าเวลาเราไปอยู่กับชาวบ้าน เวลาเขานั่งกินข้าว เขาก็จะปูเสื่อ เเล้วเขาก็จะเอาอาหารท้องถิ่นมาให้เรากิน เเบบมีผักดอง จกข้าวเหนียวกัน จิ้ม มีอะไรเเปลกๆ มาให้เรากิน มันก็เลยรู้สึกว่ามันมีความรัก ที่เรารู้สึกว่าเราอาจจะโหยหาด้วยมั้ง เพราะว่าเราทำงานอยู่ในสังคมเมือง อยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นระยะเวลานาน ก็จะมีเรื่องของธุรกิจอะไรค่อนข้างเยอะ


เเละก็อย่างเวลาไปต่างจังหวัด มันก็จะมีความใจดี ดีใจ สนุก มันได้เรียนรู้อะไรที่ทำให้รู้สึกว่าเราอยากอยู่เเบบง่ายๆ เราอยากอยู่เเบบสบายๆ เป็นกันเอง ไม่รู้สิ บางทีมันมี Areal ของการที่เราอยู่ในกรุงเทพฯ เเล้วเวลาเราเดินผ่านคน หรืออะไรอย่างนี้ มันก็ไม่ได้เเบบว่า สวัสดี! เเต่ว่าที่ต่างจังหวัดมันจะมี เฮ้ย! เป็นไงบ้างจ๊ะ ลูกสาวเป็นไง รู้กันหมดเรื่องราว เขาอยู่กันเป็นเเบบครอบครัว มันเป็นอะไรที่เเบบน่ารัก มันทำให้ร้สึกอยากที่จะไปนู้น อยากที่จะไปนี้


คุณเเพรคิดว่าความเจ๋งเเละคุณค่าของผ้าไทยมันอยู่ตรงจุดไหน


รู้สึกว่ามันเจ๋งมาก ตรงที่ว่าพอเรามองเห็นอย่างอื่นปุ๊บ มันเป็นเหมือนเเบบมรดก มันเป็นวัฒนธรรมไทย ที่เเบบคนสมัยก่อน เออ คิดได้ไงวะ เจ๋งอะ ทำไมทำอันนู่นมาผสมอันนี้ ออกมาได้ เเล้วเขารู้ได้ไงว่าสีนั้นย้อมออกมาจะเป็นสีนี้ มันเป็นอะไรที่รู้สึกว่าเเบบ เออ นอกจากสีสีนบนเมคอัพ สีสันที่มันเป็นเทรนด์ ที่ตอนเราเป็นเเพรี่พายมาสักพักหนึ่ง มันมีสีสันความมหัศจรรย์ที่มันมาในเชิงสีสันธรรมชาติ สีสันของผ้าไทย สีสันของวัฒนธรรม สีสันของ Culture สีสันของอะไรหลายๆ อย่าง



อย่างวันนี้ที่ใส่อยู่ก็เป็นของจังหวัดสุรินทร์ ทำโดยอาจารย์โก๋ (อาจารย์สุรโชติ ตราเจริญ) ซึ่งเทคนิคที่เห็นมันเรียกว่า “เทคนิคมัดหมี่” เป็นเหมือนการมัดเเล้วก็เอาไปย้อม อย่างสีเขียวที่เห็นนี้ มันก็เป็นการย้อมจากสีธรรมชาติ มีย้อมจากร้อน เเล้วก็มาผสมย้อมเย็น ซึ่งการย้อมสีธรรมชาติเนี่ย อย่างของอาจารย์โก๋ เขาก็จะโชว์เทคนิคหลายๆ สีให้เราดู จากสี 3 สีนะ อยู่ดีๆมันกลายเป็นเเบบนี้ Amazing Rainbow อย่างไร


ซึ่งมันสนุกมากตรงที่เจ๋งอะ คือครูเขาเเบบ บางที่อย่างสีเเดง คือเเฟนครูโก๋ เเม่เรียวโกะ พวกเราเรียกว่า  "เเม่เรียวโกะ” เขาก็จะต้องตื่นขึ้นมาตั้งเเต่ตีหนึ่ง เพราะเขามีความเชื่อว่าต้องย้อมกลางคืนเท่านั้น ต้องมานั่งกวนครั่งร้อนๆ เพื่อให้ได้สีเเดงสด ถ้าเป็นสีเขียวเมื่อกี้ กลับมาดูจะเป็นสีของครามก่อน อะ ถ้าเป็นสีเขียวเราจะย้อมสีเหลืองก่อนย้อมร้อนจากเเก่นเขก่อน ซึ่งเป็นไม้ จนมันได้เหลืองจัดละ เสร็จเเล้วก็อีกวันพอมันเเห้ง เราก็เอามาย้อมกับหม้อครามหม้อเย็น เเล้วก็ค่อยๆ นวด เเล้วบางที่ถ้ามันนวดๆ ไปสักพักหนึ่ง มันก็จะให้สีเขียวอ่อนก่อน ถ้าอยากได้เขียวเข้มก็นั่งขยำไปเรื่อยๆ


นอกจากจะได้เห็นคุณค่าของผ้าไทย รู้สึกมันสอนให้เรามีสติกับสิ่งที่เราทำอยู่ เป็นการนั่งทำสมาธิตรงนั้นเลย นอกจากเราจะได้เรื่องวัฒนธรรม นอกจากเราจะได้เรื่องของที่เราสนใจเรื่องสีธรรมชาติ เเต่มันสอนให้มีสติ มีสมาธิ ให้เราได้รู้สึกนิ่ง ค่อยๆ ซึมซับกับสิ่งที่มันอยู่รอบข้าง ซึ่งปีนี้ก็ตั้งใจจะมาศึกษาเหมือนเเบบพวกผ้าชาวเขาอะไรเเบบนี้มากขึ้น


นำ Original มา Apply ความเป็นตัวเอง เกิดเป็นงาน Creative ชิ้นใหม่




ดีไซน์เเต่ละชุดที่คุณเเพรใส่ ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากไหน


เสื้อผ้าโซนนี้ออกเเบบเองทั้งหมดเลย ส่วนใหญ่เเล้ว อย่างปีที่เเล้ว เเพรได้มีโอกาสทำกับ ททท. (การท่องเที่ยวเเห่งประเทศไทย) เเละก็เหมือนโจทย์ที่เขาให้มาคือขึ้นเหนือลงใต้ เอาผ้าท้องถิ่นมาทำเป็น Create สไตล์ตัวเอง 



อย่างตัวนี้ ที่อุดรก็สนุกมาก อย่างที่อุดรก็จะเเบบ พี่เเพรตอนนั้นอยากให้วีดิโอเป็นฟีลเเบบสีผ้าคราม มันก็จะเป็นผ้าครามหมักโคลน ถ้ามาจับมันก็จะมีความเเบบนุ่มมาก พอเวลาหมักโคลนมันก็จะนุ่ม เเล้วเเบบตอนนั้นเเบบไปที่อุดร ก็อยากให้มันเป็นเเบบบึงบัวใช่ปะ ก็เลยจะเป็นฟีลเหมือนเเบบคลิปวีดีโอมันก็จะเป็นเเบบชมพูฟ้า ชมพูน้ำเงินอะไรอย่างนี้ มันก็คงจะสวยดีนะ


ถ้าฉันใส่ชุดอะไรเเบบสวยๆ ไทยๆ ไปยืมถ่ายเเบบกอบัวสีเเบบชมพูๆ อะไรอย่างนี้ค่ะ เเล้วเเบบตอนทำ ททท. ก็เลยคิดว่า เฮ้ย! เวลาเราคิดธีมอย่างของการทำวีดิโอ มันก็จะมี โอเค! เเพรี่พายต้องไปเที่ยวที่อุดร ไปหาบัว เเล้วก็ใช้ผ้าคราม ก็เลยคิดว่านอกจากนี้บัวมันทำอะไรได้บ้าง เอาไปย้อมผ้า เอาไปทำชา เอาไปทำอาหาร เเล้วก็เราไปเห็นตั้งเเต่ตอนที่เขาเก็บสาวบัวขึ้นมาเลยนะ เเล้วก็ไปบ้านชาวบ้านที่เขาทำชา เเล้วที่อุดรจะมีเหมือนเเบบเป็นเขาเรียกว่า วัดไทยจีน คล้ายศูนย์ชิมชา


ก็เลยคิดธีม ไหนๆ ถ้าเราจะต้องไปชิมชาที่ศูนย์ไทยจีนเเล้ว เราก็จะตัดชุดไทยเป็นสไตล์จีน เพื่อที่จะไปดื่มชาบัว มันก็จะมีเรื่องราวอะไรไม่รู้ปนๆ ตอนนั้นก็มีเเบบไปหาเชฟ ไปทานอาหารต่อด้วย เป็นอาหารที่ทำจาก วัตถุดิบจากบัว ก็ทำชุดเป็นสไตล์ชุดเชฟ นิดนึง (หัวเราะ)


มีเมื่อก่อนบางชุดนี่คือเเบบเจ๊ง ผ้าเจ๊งหลายอัน เเต่ก็ไม่เคยคิดว่าเเบบ มันมี ช่วงที่เเบบ Fanny Pack (กระเป๋าคาดเอว) ค่อนข้างกำลังอิน ก็ไม่คิดว่าผ้าไทยพอมาทำเป็น Fanny Pack มันก็เท่ มันดูเเบบน่ารัก สุดท้ายเเล้วมันก็คือการที่เราเข้าใจในสิ่งที่เราเอามาทำตั้งเเต่ Original มา Apply ความเป็นตัวเอง เเล้วก็มันก็เกิดงาน Creative ชิ้นใหม่ ออกมาอีกชิ้นหนึ่ง 



อย่างผ้าตรงนี้ ภาคกลางเราไม่ค่อยได้พูดถึงเนาะ ภาคกลางส่วนมากมันจะเป็นผ้าลายอย่าง ซึ่ง Original ลายอย่างเลย มันก็คือเป็น Block เป็นเเบบ Wood Block มันเป็น Printing เเบบสมัยก่อน คือถ้าเรากลับไปคิดที่เป็นรัตนโกสินธุ์ มันก็จะมีเหมือนกัน เริ่มมี Trading ในประเทศไทยละ


หลายๆ อย่างคนที่มาจากอินเดีย หรือจีน มันก็จะมีการเเลกของ เครื่องราชบรรณาการ เรียกว่า Trading ละกันเนาะ เเล้วหนึ่งในของก็คือผ้า ผ้าลายอย่าง เเล้ว King สมัยนั้น เขาก็เหมือนอยากให้มีลายไทยบ้าง เขาก็เลยเเกะลวดลายบนวัด ก็ส่งไปให้อินเดีย คืออินเดียเขาก็ไม่เขาก็ไม่รู้ว่าลายไทยมันควรวางอย่างไร เขาก็ปั๊มๆ มาเเล้วก็ส่งกลับ ผ้าลายอย่างสมัยก่อนก็จะฟีลเเบบนี้ มันคือผ้าภาคกลาง


ลองเอามา Mix&Match ซึ่งมันเเบบเอาไปใส่ที่ไหน มันจะรู้สึกสนุกดี ในก็เก๋ดี สุดท้ายเเล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใส่ไปไหน คือถ้าเราเข้าใจความเป็นมาของเขาตั้งเเต่เเรก เหมือนเเบบต้นน้ำมาจากไหน เราจะเข้าใจปลายน้ำมากขึ้น 



ชุดไหนที่ชอบมากที่สุด เเละได้รับเเรงบันดาลใจการออกเเบบมาจากไหน 


เเพรเป็นคนที่ชอบใส่จั๊มสูทนะคะ ขอเป็นเเนวเเบบจั๊มสูทละกัน ว่าเดี๋ยวเราอธิบายว่าเเล้วกว่าจะเป็นหนึ่งตัว กับวิธีการออกเเบบมันคืออะไรยังไงบ้าง


อย่างเวลาเเบบว่าเราออกเเบบเสื้อผ้า เอาตั้งเเต่เริ่มเเต่งหน้าดีกว่า อย่างเมื่อก่อนตั้งเเต่ตอนสมัยที่เริ่มเเต่งหน้า เทคนิคสอนเวลาที่เด็กๆ เข้ามาเรียน หาสไตล์การเเต่งหน้าของตัวเอง ไม่รู้ว่าเราชอบอะไร ไม่รู้ว่าเราเหมาะอะไร เเล้วทุกครั้งเราจะบอกให้เขาลองผิดลองถูก มันไม่มีอะไรผิดเเละมันไม่มีอะไรถูก


เเล้วอีกเทคนิคหนึ่งที่เราบอกคือ ให้ลองสังเกตตัวเองดูว่าเราชอบอะไร เพราะบางทีถ้าเราเริ่มสังเกตตัวเองดู เเล้วเรารู้ว่าเราชอบอะไร อย่างเช่น อะไรที่เราเห็นซ้ำๆ บ่อยๆ สนใจมันบ่อยๆ อันนั้นน่ะเเสดงว่าเป็นสิ่งที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือสไตล์การเเต่งหน้า ที่ Save เเต่รูปเเนวๆ เดียวกัน เเล้วเราลองดูตัวเองห่างๆ เราจะเห็นว่ามันจะเป็นมี Mood&Tone ในเเบบของเรา


อย่างผ้าไทย เวลาเเพรเอา Apply เทคนิคตรงนั้นมาก็คือเราก็จะว่าวันนี้ฉันจะใส่อะไร ฉันชอบอะไร เเล้วก็อย่างตอนที่เริ่มตัดผ้าไทย ก็จะรู้สึกถ้ามันยังมีความเป็นเเพรี่พายอยู่ ก็ต้องมีความเป็นกวนๆ ซึ่งเเพรเป็นคนชอบใส่เเบบจั๊มสูท ซึ่งพอมาถ่ายรายการกับน้องๆ ก็เพิ่งรู้ว่าเรามีจั๊มสูทที่บ้านเยอะมาก


อันนี้คือที่เห็นมี 3 ตัว ใช่มะ ที่เห็นก็จะเป็นจั๊มสูทผ้าตัวเดียวกันเลย ซึ่งที่บ้านก็ยังมีอีก ที่มันเป็นเเบบหนัง ลายนู่นลายนี่ คือเมื่อก่อนชอบใส่เอี้ยมอะไรอย่างนี้ มีความอาราเล่ กวนๆ นิดนึง ซึ่งจั๊มสูทมันมีเยอะ ถ้าลองเอาจั๊มสูทนั้นมาใช้เทคนิคเเบบ Apply เข้าไป มันจะออกมาเป็นอย่างไรได้บ้าง 



ก็จะมานั่งคุยกับพี่พินที่บ้าน เขาเป็นช่างอยู่กับเเพรมาเกือบ 10 ปีเเล้วนะ เขาก็จะรู้สไตล์เรา ชอบโปเกมอน ชอบอะไรที่มันเกี่ยวกับกวนๆ อะไรอย่างนี้ ก็จะมานั่งคุยกันว่าเเบบ ถ้าหนูชอบจั๊มสูทอะไรเเบบนี้ เเต่ว่าหนูอยากให้มันมีฮู้ดได้ไหม สมมติพับเป็นฟังชันก์เเบบ Roll ขา ได้ไหม สมมติเเบบเราต้องไปออกป่า เราก็ต้อง Roll ขาขึ้น อยากมี Packet ตรงนี้ อยากเสียบปากกา คือเหมือนเรา Add Function ให้กับเสื้อผ้าเรา พอเราลองเอาผ้าไทยมา Adapt ดู มันเท่นะ มันมีความเเบบ Unique มีความสนุก


เรารู้สึกว่าในเรื่องของผ้าไทย เเละหลายๆ คนที่สนใจที่อยากจะลงมาใช้ผ้าไทยเป็น Material ในการทำเเบรนด์ตัวเอง หรือว่าเเม้กระทั่งตัดเป็นของตัวเองก็ลองศึกษานิดนึงในเรื่องว่าผ้าชนิดนี้เป็นอย่างนี้นะ คือทุกอย่างมัน Everything is so possible มันเหมือนกับทำอะไรก็ได้


จากผ้าไทยมันมาสู่สิ่งเเวดล้อมอย่างไร


ยิ่งเราได้ลงไปเหมือนกับสัมผัสชุมชนใน 2-3 ปีที่ผ่านมา มันเป็นการเเบบเปลี่ยนโลกเลยนะ เปลี่ยนทัศนคติในชีวิตหลายๆ อย่าง ทั้งที่ว่าเมื่อก่อนเป็นสายเเฟชั่น สาย Fast Trend เหมือน Fast Fashion คอลเลกชั่นนี้มา อันนี้มาปุ๊บจบไป มันสอนให้เรารู้ว่าสุดท้ายชีวิตมันก็มีอยู่เเค่นี้ มันเเบบง่ายมาก เเละมัน Simple มาก มันมีเเต่ความรัก เเละมันมีเเต่ความสุข มันมีเเต่รอยยิ้ม มันมีเเต่น้ำหนักที่ขึ้น ขึ้นเเล้วขึ้นอีก ขึ้นอยู่นั้นน่ะ มันสนุก มันเเฮปปี้มาก เเละก็ยิ่งได้เห็นวิถีชีวิตที่ธรรมดา เรียบง่าย เเล้วก็มีเเต่ความรัก เเล้วมันก็ทำให้เรารู้สึกว่าเเบบว่าเราอยากที่จะปกป้องหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของธรรมชาติ เวลาเราไปเเต่ละสถานที่ เราก็ให้ความเคารพเขาใช่ไหมคะ


โอเค เราท่องเที่ยวเเบบเชิงวัฒนธรรมละ ทำให้เรากลับกลายเป็นเหมือนเเบบทำให้เราท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ด้วย มันก็โยงไปในเรื่องของธรรมชาติ มันทำให้เรารู้สึกว่าเเบบการอยู่ร่วมกันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะว่าฉันพึ่งเขา เขาพึ่งฉัน มันเป็นอะไรที่สวยงาม เเล้วมันเป็นเรื่องราวที่มีความหมาย มีคุณค่า 



อย่างผ้าไทยมันสอนให้เรา มันถึงเวลาที่ต้องให้คนอื่นเเล้วนะ นอกจากจะให้คนอื่นเเล้ว ยังให้ธรรมชาติด้วย พอบวกกับได้เห็นวิถีชุมชนที่เขาได้อยู่กับธรรมชาติ อยู่กับกันด้วยความรัก ก็ทำให้เราเหมือนเชื่อมโยงไปในธรรมชาติมากขึ้น เพราะว่าเห็นวัตถุดิบว่าอะไรมาจากไหน พวกอาหารการกิน คือทุกอย่างมันลิงก์ ลิงก์กันเป็นกลมๆ หมด เเล้วมันเจ๋งมากตรงที่ว่านอกจากนั้นที่เราจะรู้จักวัฒนธรรมไทยเเล้ว เรารู้จักธรรมชาติ รู้จักตัวตนที่เเท้จริงของเรามากขึ้น


มันก็เลยเเบบ โอเค มีความตั้งใจที่เเบบนอกจากจะเรียนในเรื่องของผ้าไทยเเล้ว เราก็อยากที่จะที่จะเรียนในเรื่องของสิ่งเเวดล้อมด้วย เพราะมันลิงก์กัน เเล้วมันสอนให้เราไปในทางที่ดีขึ้น อะ งั้นไปเลย เอาด้วยกันนั้นเเหละทั้งในเรื่องของผ้าไทย ในเรื่องของชุมชน ในเรื่องของสิ่งเเวดล้อม เพราะสุดท้ายชีวิตมัน Simple มาก เเละเเพรรู้สึกว่าเเบบ ถ้าวันนี้เราพลังยังมีอยู่ เราก็อยากมอบพลังนี้ให้กับคนอื่นด้วย มันเป็นการที่เเบบว่าเรา เวลาเราเจอใคร เราคุยกับใคร มันเหมืนเป็นการ Exchange Energy มันเเลกเปลี่ยนพลังงานกัน 



เหมือนว่าที่ผ่านมา คุณเเพรได้มีการออกมารณรงค์เรื่องสิ่งเเวดล้อมด้วย


อย่าง มองออกไปบางทีมาจากบ้านมาออฟฟิศ มองออกไปละคือต้นไม้ในกรุงเทพฯ กับต้นไม้ที่เคยสัมผัสทางเหนือ ที่เชียงดาว หรือทางใต้ นี่มันต่างกันมากเลย มันมีความ.. มันอย่างเนี่ยๆ เเล้วมันก็ดูเทาๆ เหมือนเฟดเลเยอร์ที่เวลาเราใช้ฟีลเตอร์ในอินสตาร์เเกรม ที่มันจะมีความขุ่นๆ นิดนึง เรารู้สึกว่ามันไม่เฟรช มันไม่เเฮปปี้ เเล้วมันเเบบไม่โอเค เเล้วยิ่งพอไม่ได้ทำ Art เเล้วยิ่งรู้สึกว่ามันอึดอัด


อย่างเมื่อวันเกิดที่ผ่านมาก็ ก่อนหน้าวันเกิดก็บอกพี่มล เป็นครูที่สอนในเรื่องการเดินป่า เเละก็ในเรื่องของสีธรรมชาติ การ Swatch สีหิน เเละก็เรื่องของระบบนิเวศต่างๆ ที่ให้เราเข้าใจเขาเข้าใจเรา เเละก็เข้าใจสิ่งที่เราเป็นอยู่ เป็นครูที่ยิ่งใหญ่สำหรับเเพรมาก เเละก็เหมือนอยู่ด้วยกันช่วงมกราคมตอนกลางเดือน เหมือนเวลาอย่างอยู่กับพี่มลไปเที่ยวนู่นเที่ยวนี่ ได้ไปอยู่เชียงดาว เขาก็จะเหมือนเเบบ เฮ้ย! เเพรดูนี่สิ! สีจากหินนะ เพราะด้วยความติดเป็น Make Up Artist มันก็จะมีเเบบชอบ Swatch สี อารมณ์รีวิวสีหิน เอามาลองขูดๆ ดู เเล้วเเบบมันก็สนุกอะ เเล้วบางที่ นั่งๆ มองกรุงเทพฯ เเล้วรู้สึกว่าเเบบเเล้วสีกรุงเทพฯ คือสีอะไร? มีเรื่องฝุ่น มีเรื่องข่าว มีเรื่องอะไรที่มันมีเเต่ Depress นิดนึงที่มันอยู่ในโซเซียล บางที่เราก็ไม่อยากที่จะสนใจ เเต่ก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นบ้านของเรา ถ้าเราไม่อยากอยู่บ้านเรา เเล้วเราจะไปอยู่ไหน


ก็เลยลองเเบบขึ้น วันนั้นกับพี่มลก็เลยไปตะลอนๆ ทั่วกรุงเทพตามหาสีกรุงเทพฯ จากที่เรา Swatch สีหิน สีดอกไม้ สีสมุนไพรอย่างนี้ เรามา Swatch สีกรุงเทพกันบ้างพี่ ก็มีสมุดโน้ตของเรานั้นเเหละ เดินไปตามที่ต่างๆ เเล้วก็เอาสก๊อตเทปไปเเปะ เเล้วก็เอามาเเปะลงบนสมุดโน้ต คือเราเเค่ตั้งข้อสงสัยหรือเเค่คำถามดูว่าถ้าเราอยากเห็นอากาศที่เราหายใจอยู่มันจะเป็นเเบบไหนล่ะ 



เลยเป็นที่มาที่ว่า เฮ้ย! ถ้าเราที่จะมาทำตรงนี้เเล้ว เราอยากที่จะมานอกจากจะมาปกป้องวัฒนธรรมเเล้ว เราอยากปกป้องธรรมชาติ หรือว่าเราอยากปกป้องสิ่งเวดล้อมเราด้วยเเล้วเนี่ย ก็จะมีสักกี่คนที่จะมาช่วยเรา ที่เหมือนเเบบว่า มา! เฮ้ย! มา! มาทำด้วยกัน เราอยากที่จะเเบบสู้พร้อมกัน!



เเพรกับพี่มลก็เลยไปกวนงานที่ TCDC เป็นช่วง Bangkok Design Week พอดี ก็มี Exhibition ที่มันดีๆ เยอะอยู่เหมือนกันมาก เเละเหมือนศิลปินหลายๆ คนก็เหมือนเเบบเต็มที่กับงาน เเล้วก็ขอไปยึดสถานที่เขาโดยไม่ได้เเจ้ง ก็ Feeling เหมือนเเบบนอกจากเรา Swatch ส่วนตัว เราก็เหมือนกับอยากให้คนที่อยู่ที่งานนี้เหมือนกับได้มีโอกาสลอง Swatch ดู จากรองเท้า จากพื้นถนน จากบริเวณเเถวนั้น เเล้วก็จะมีตั้งเเต่เด็กๆ เด็กเบบี๋ เด็กคนนู่นคนนี้ที่เราเเบบสามารถคุยกับเขาได้ว่าเห็นไหมครับว่ามันดำ หรือฝรั่ง หรือหลายๆ คนที่เขามาดูงานให้เขาได้ Imagine you will can see the air, this is a color เป็นการที่เหมือนเเบบพอเห็นเเล้ว มันเหมือนเเบบมันก็มีความเเบบ ฮึ้ย! มันขนาดนี้เลยเหรอวะ มันดูน่าเกลียด น่ากลัว คิดดูว่าฝุ่นมันก็อย่างนี้ เเล้วมันก็โกรยขึ้น เราไม่ได้อยากหายใจ อันนั้นก็เป็นอารมณ์ที่เเบบ Mini Live Performance เล็กๆ ที่ลองทำ Experiment (ทำการทดลอง) กัน 



เสียงตอบรับ เรารู้สึกว่ามันก็โอเค มันก็ดีในระดับหนึ่ง ที่คนที่ติดตามเรามาให้กำลังใจเยอะมาก เเล้วก็อยากที่จะเป็นส่วนร่วมกับสิ่งที่เราทำ เเล้วก็เหมือนบางคนก็พิมพ์มาบอกว่าเเบบ พี่เเพรเดี๋ยวนี้หนูเปลี่ยนมาใช้เป็นกระติกน้ำเเล้วนะ บางคนก็ไม่เอาถุงเเล้ว ไม่เอาหลอดเเล้ว ซึ่งมันเป็น Impact เล็กๆ เองนะ บางที่ Direct message ถ้าเราได้มีโอกาสเเบบนั่งเงียบๆ บางที่ก็นั่งเช็ค ก็จะเป็นข้อความที่เหมือนเเบบ เฮ้ย! ถึงสิ่งที่เราจะทำเเล้วมันดูเหมือนเเบบ you just the trying to be cool , because I know I am cool หมายถึงว่าเเบบก็ไม่คิดว่ามันจะ Impact เล็กๆ ลองคิดดูถ้าทุกคนหยุดใช้หลอดเเค่ 1 วันได้ขยะมันก็จะลดลงไปส่วนหนึ่งเลยนะ คิดออกปะ เเล้วมันเป็นกำลังใจเล็กๆ ที่เรารู้สึกจะทำตรงนี้ให้มันเเบบดีขึ้นเรื่อยๆ


คืออย่างที่เห็น ที่พี่เเพรลองทำเชื่อมโยง Swatch จากฝุ่นอันนั้นก็คือเป็นการตั้งคำถามกับตัวเองว่า

1.ถ้าเราเห็นอากาศจะเป็นอย่างไร

2.ถ้าเราอยากที่จะทำงาน Performance เราจะทำอย่างไรต่อ

3.เราสร้าง Awarenees มากน้อยได้มากเเค่ไหน

4. ผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งมันก็ต้องเป็นไปเรื่อยๆ เเล้วก็เเพรไม่รีบกับตรงนี้เลย


เเล้วก็อยากที่จะใช้กำลังที่เราสามารถทำได้ในเรื่องของการช่วยเหลือ ในเรื่องของการเป็นกระบอกเสียงก็ตาม หรือเเม้กระทั่ง Raise Awareness (การตระหนักรู้) เกี่ยวกับเรื่องการปกป้องสิ่งเเวดล้อม อยากที่จะมีอากาศที่จะหายใจ ที่มันอยู่ในกรุงเทพฯ เเล้วมันรู้สึกเฟรช 



สุดท้ายเเล้วตั้งเป้าหมายกับทุกสิ่งที่เราทำทั้งเรื่องผ้าไทย เเละการกิจกรรมทางสิ่งเเวดล้อมเป็นไปอย่างไร

ที่ตั้งใจไว้เลย ก็โอเคว่าอยากที่ทำ Pearypie Smiley Camp เป็นเหมือนเเบบ Experience base ที่เราเหมือนเเบบทริปที่เเพรทำอยู่เเล้ว อยากไปนู่นอย่าไปนี่ ถ้าใครที่สนใจก็คือไเป็นเเก๊งไปด้วยกัน เเล้วลงไปเหมือนเเบบเชื่อมโยง สมมติเราไปสุรินทร์ เราไปเรียนย้อมผ้า เเล้วเราก็ไปเหมือนอยู่เข้าพรรษา เหมือนอยากให้ไปสัมผัสความ Local ตรงนั้นเลย ไปยะลา สมมติไปเรียนบาติก ไปนั่งสมาธิกับบาติก เเล้วก็จะพาไปเดินป่าด้วย ให้คำว่า “ถิ่นนิยม” มันเป็นอะไรที่ให้เรานิยมในถิ่นตัวเองไปทุกที่ เป็นเหมือนเเบบเข้าค่าย Cultural นิดนึง


มีอีกอันหนึ่งที่จะทำ ที่กำลังคิดอยู่เเล้วก็ เพราะไหนๆ ก็ลิงก์มาเรื่องสิ่งเเวดล้อม ตอนนี้เราเริ่มศึกษา อ่านมากขึ้น พวก Recycle waste เรื่อง Waste Management ด้วย เมื่อ 2 อาทิตย์ที่เเล้ว ได้มีโอกาสไปโรงงาน Recycle ของเมืองไทย ทุกคนก็จะเหมือนเเบบอันนี้ Recycle ได้ๆ ก็เลยอยากรู้ว่า Recycle คืออะไร เพราะสุดท้ายเเล้วถ้าคนพูดได้ เเต่ถ้าคุณไม่รู้ว่ามันคืออะไรจริงๆ คุณก็..มันก็ได้เเค่ระดับหนึ่งอะเนอะ เเต่คือด้วยความที่อยากรู้มาก คืออยากรู้ว่าเสื้อผ้าที่บางทีเป็นเหมือน Recycle Material มันมีด้านขาวหรือด้านดำมากกว่า หรือทำดีกว่าไม่ทำ ก็เลยอยากรู้อะไรที่มันเเบบ Deeper ลงไปเรื่อยๆ 



อาจจะเหมือนเริ่มปีหน้า หรือสิ้นปีก็ได้ ที่จะเริ่มเอาพวกเสื้อผ้าสมัยก่อนมา Mix&Match ให้เป็นเสื้อผ้า กับผ้าไทย มีการ Reuse ขึ้น มีการ Upcycle มากขึ้น มีการเหมือนเเบบเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับเทรนด์ปัจจุบัน ให้มันไม่ใช่เเค่เราอย่างเดียว เเล้วมันจะมีเด็กรุ่นใหม่ที่เขายังชอบความ Cool ของ Street Fashion เเต่ว่าเราทำให้มันพิ่มมูลค่า เเล้วก็เหมือน Support ชุมชนด้วย มันไม่ใช่เเค่เเบบสวยเเล้วมันก็จบไป เเต่มันสวยเเล้วมันมีค่า อันนั้นก็อาจจะทำเป็น ตลาดมือสอง Exchange เสื้อผ้ากัน เพราะสุดท้ายเเล้วเราก็ชอบความสวยความงามนะ เเต่ก็ลองดูว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้าง 



ก็ตอนนี้ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่ อยากทำพวกเเบบ IG หรือโซเซียลของตัวเองให้มันมีคุณค่า เป็นบทเรียนออนไลน์เเล้วก็ นั้นเเหละ ชอบเที่ยว ชอบกิน ชอบเห็นอะไรใหม่ๆ ชอบเรียนรู้ เป็นคนไม่ได้มีพรสวรรค์ เเต่อยากมีพรเเสวง บางที่ถ้ารำคาญอินสตาร์เเกรมเป็นจุดไข่ปลา ก็กด Skip ไป เเต่ถ้าอยากดูก็กดต่อ ก็คือเจตนาทุกอย่างทำด้วยใจจริงๆ เเล้วก็ตั้งใจทำมากๆ อยากให้มันถึงคน เเละก็ถ้าวันหนึ่งคนดูได้มีโอกาสไปที่เดียวกับที่เราไป อยากที่จะให้เขาซึ้ง เเละอยากที่จะให้เขา.. อย่างที่บอก ง่ายๆ เลยส่ง Mesages มา พี่เเพรหนูไม่ใช้หลอดเเล้วนะ คือมันเป็นอะไรที่เเบบ so simple So น่ารัก เราไม่ต้องการคน Perfect 100% นะ เเต่เราต้องการนิดเดียว 



เเละนี่ก็คือเรื่องราวทั้งหมดที่บอกเล่าผ่าน “เเพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์” ผู้หญิงที่ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ เพราะเธอเชื่อว่า “เธอไม่ใช่คนที่มีพรสรรค์ เเต่อยากมีพรเเสวง” ทำให้เธอได้ก้าวออกมาสร้างสรรค์เเละต่อยอดในเรื่องของผ้าไทย จนนำมาสู่การเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงที่อยากจะกระตุ้นเเละสร้างการตระหนักรู้ให้ทุกคนหันมาอนุรักษสิ่งเเวดล้อมไปด้วยกัน เหมือนที่เธอเคยพูดไว้ว่า “เพราะทั้งสองสิ่งนี้ มันต้องพึ่งพาซึ่งกันเเละกันเเละเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน” 


คลิปสัมภาษณ์ : เปิดมุมมองมนต์เสน่ห์ผ้าไทยสู่การอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม กับ "เเพรี่พาย อมตา จิตตะเสนีย์"






เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์