รูปบทความ มาดูกันดีกว่าว่าการเลี้ยงสัตว์ในคอนโด ไทยกับเทศ แตกต่างกันมั้ยนะ?

มาดูกันดีกว่าว่าการเลี้ยงสัตว์ในคอนโดสักตัว ในไทยกับต่างประเทศ แตกต่างกันมั้ยนะ?

ในปัจจุบันขณะที่จำนวนคนโสดเพิ่มสูงขึ้น จะเห็นว่าสัตว์เลี้ยงเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้องหมา น้องแมว รวมถึงสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ ที่เป็นเหมือนเพื่อนคลายความเหงา เพราะสัตว์เลี้ยงสามารถให้ความสุข ความรัก ความผูกพันกับเจ้าของ หลายครอบครัวมีสัตว์เลี้ยงไว้เติมเต็มความสุขในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างประเทศ การที่สังคมปัจจุบันหลายครอบครัวออกมาอยู่อาศัยแบบเดี่ยวในเมืองใหญ่หรือคอนโด การมีเพื่อนตัวเล็กๆ ในห้องคงช่วยคลายเหงาได้ไม่น้อยเลยทีเดียว


วันนี้ทาง Esto จึงอยากพาเพื่อนๆ ไปดูชีวิตที่หลากหลายของน้องหมา น้องแมว ในไทยและต่างประเทศว่ากว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้ เขามีข้อจำกัด เงื่อนไข อะไรบ้าง แล้วเราจะสามารถนำสไตล์การเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่างๆ มาปรับใช้กับการเลี้ยงเพื่อนตัวน้อยในคอนโดของเราได้อย่างไรบ้าง


ไทย : ทุกอย่างขึ้นอยู่กับข้อตกลง

มีการสำรวจของกรมปศุสัตว์พบว่าคนไทยมีสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้นจากแต่ก่อนเป็นเท่าตัว แสดงให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงของคนไทยนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากการที่คนไทยนิยมอยู่แบบครอบครัวเดี่ยวหรืออยู่คนเดียว การมีเพื่อนเป็นสัตว์เลี้ยงที่รู้ใจ ก็จะช่วยสร้างความสุขให้กับเจ้าของได้

ไม่ได้มีกฎห้ามเลี้ยงสัตว์ แต่ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของนิติบุคคล

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเลี้ยงหมาแมวในคอนโดของไทยก็ยังมีข้อจำกัด บางคอนโดห้ามเลี้ยงหมาแมวเพราะกลัวจะไปรบกวนผู้อยู่อาศัยท่านอื่น ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้มีกฎหมายมาตราใดระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามเลี้ยงสัตว์ในคอนโดหรือที่อยู่อาศัย แต่การเลี้ยงสัตว์จะต้องเป็นไปตามข้อตกลงของนิติบุคคล ซึ่งหากเลี้ยงไม่ได้ก็ต้องให้เหตุผลว่าเพราะอะไร ในขณะที่คอนโดที่เลี้ยงสัตว์ได้ จะมีการกำหนดว่าสามารถเลี้ยงสัตว์ชนิดใดได้บ้าง และข้อปฏิบัติต่างๆ เพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปรบกวนผู้อยู่อาศัยคนอื่นๆ


โดยทั่วไปคอนโดจะอนุญาตให้เลี้ยงได้เพียงน้องหมา หรือน้องแมวเท่านั้น เนื่องจากสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ชนิดอื่นๆอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลที่พักอาศัย และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคในอากาศมากขึ้นด้วย ซึ่งคอนโดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ได้ อาจจะมีการกำหนดให้สัตว์เลี้ยงใช้ได้เฉพาะลิฟต์ขนของ เป็นการป้องกันปัญหาในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด โดยการจะพาสัตว์เลี้ยงเข้าพื้นที่ส่วนกลาง ก็จะกำหนดให้เจ้าของต้องใช้สายลากจูงตลอดเวลา ต้องมีการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงที่จะนำเข้ามาทุกตัว มีใบทะเบียนการตรวจรับรองโรคจากสัตวแพทย์หรือโรงพยาบาล มีการกำหนดไซส์ โดยทั่วไปให้น้ำหนักสูงสุด 15 กิโลกรัมต่อห้องชุดขนาด 50 ตารางเมตร


ซึ่งในปัจจุบันมีคอนโดหลายโครงการสำหรับคนรักสัตว์โดยเฉพาะ จะมีการออกแบบตัวคอนโดให้มีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับสัตว์เลี้ยง มีพื้นที่นอกอาคารให้ทาสหมาทาสแมว พาน้องออกมาวิ่งเล่น ออกกำลังกาย สัมผัสกับธรรมชาติ บางคอนโดมีพื้นที่สำหรับอาบน้ำและสระเล็กๆไว้ให้สัตว์เลี้ยงด้วย


จะเห็นว่าในถึงแม้ในประเทศไทยจะไม่ได้มีกฎหมายที่ห้ามเลี้ยงสัตว์เลี้ยง แต่จะมีข้อกำหนดสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในคอนโดสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข


ญี่ปุ่น : ลงทะเบียนทั้งเจ้าของและที่พัก



เรามักจะเห็นน้องหมา น้องแมวหรือสัตว์เลี้ยงของคนญี่ปุ่นอยู่ในรายการทีวี ภาพยนตร์ หรือหนังสือของเขาบ่อยๆ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองสัตว์อยู่เสมอ สัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวของคนญี่ปุ่นนั้นเป็นเหมือนสิ่งสำคัญของชีวิตเปรียบเสมือนลูกเลยก็ว่าได้ หากคุณต้องการครอบครองสัตว์เลี้ยงสักตัวหนึ่งในญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะการเลี้ยงสัตว์ในญี่ปุ่นนั้นคุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงลิบลิ่ว

คนญี่ปุ่นมักอาศัยอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ติดๆ กัน ทางห้องเช่าจะระบุชัดเจนว่าสามารถเลี้ยงสัตว์ได้หรือไม่


ส่วนใหญ่แล้วคนที่จะมีสัตว์เลี้ยงอย่างน้องหมาไว้ครอบครองต้องมีบ้านหรือแมนชั่นราคาแพงลิบ ที่มีพื้นที่เฉพาะไว้สำหรับน้องหมาด้วย ในญี่ปุ่นจะมีการออกกฎระเบียบในการเลี้ยงสัตว์เพื่อป้องกันการเกิดสัตว์เลี้ยงจรจัด ตั้งแต่การซื้อสัตว์เลี้ยง ทางร้านจะต้องดูความสามารถของคนที่ต้องการจะเลี้ยงว่ามีความรับผิดชอบ มีความรู้เกี่ยวกับสัตว์ รวมทั้งมีพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยง


หากตกลงจะซื้อน้องหมาไปไว้ครอบครอง ก็ต้องเซ็นสัญญาว่าจะดูแลและปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ให้สัตว์เลี้ยงไปทำให้เพื่อนบ้านเดือดร้อน ในการลงทะเบียนจะต้องมีการระบุเจ้าของและที่พัก จากนั้นเจ้าของจะได้รับป้ายอนุญาตเลี้ยงเอาไว้ติดกับปลอกคอน้องหมา ดังนั้นเวลาน้องหมาหายออกไปจากบ้านทางเทศบาลก็จะสามารถพาน้องกลับมาคืนเจ้าของได้


สิงคโปร์ : จำกัดอายุและต้องมีใบอนุญาติ

ต่อไปเราจะพามาดูประเทศที่มีกฎระเบียบในการเลี้ยงน้องหมา น้องแมวที่จัดได้ว่าเข้มงวดประเทศหนึ่งเลย คงนึกออกทันทีว่านั่นก็คือ ประเทศสิงคโปร์ 

มีการกำหนดอายุของผู้เลี้ยงรวมถึงอายุสมาชิกในครอบครัว ผู้เลี้ยงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และในครอบครัวนั้นห้ามมีเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีเด็ดขาด


การเลี้ยงสัตว์ที่ประเทศนี้ยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการเลี้ยงแปรผันตามอายุสัตว์เลี้ยง หากเจ้าของเลี้ยงน้องหมาที่มีอายุมากจะจ่ายค่าธรรมเนียมถูกกว่าการเลี้ยงลูกสุนัข ซึ่งการทำทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของรับไปจะไม่ถูกทอดทิ้งกลายเป็นหมาแมวจรจัด และการจะเลี้ยงน้องหมาน้องแมวได้นั้น จะต้องแสดงเอกสารก่อนเลี้ยงทั้ง เอกสารการเสียภาษี โฉนดที่ดิน ที่สำคัญคือเอกสารอนุญาตให้เลี้ยงในพื้นที่อยู่อาศัย 


นอกจากนี้อย่างที่เราทราบกันดีว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความสะอาดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ในบางสถานที่จะมีการกำหนดห้ามพาสัตว์เลี้ยงเข้าไป แต่ก็มีการจัดสถานที่สำหรับน้องหมาให้ไปวิ่งเล่นได้ เช่น ชายหาด สวนสาธารณะต่างๆ แต่เจ้าของจะต้องดูแลสัตว์เลี้ยงของตัวเองอย่างดี ถ้าหากปล่อยให้น้องขับถ่ายเรี่ยราดจะถูกปรับ 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 20,000 กว่าบาทไทยเลยทีเดียว นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเราไปเที่ยวประเทศสิงคโปร์ถึงไม่มีอุจจาระน้องหมาให้เห็นเลย


อเมริกา : ต้องมีใบอนุญาติและเสียภาษีสัตว์เลี้ยง

มีการออกใบอนุญาตและจัดเก็บภาษีสัตว์เลี้ยง

ขยับจากฝั่งเอเชีย เรามาดูชีวิตของสัตว์เลี้ยงในฝั่งตะวันตกกันบ้าง ประเทศส่วนใหญ่จะมีการจัดเก็บภาษีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะภาษีสุนัข ในอเมริกาเองก็ให้ความสำคัญกับน้องหมาไม่แพ้ประเทศอื่น เจ้าของจะทุ่มเทเงินเพื่อดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างเต็มที่ ซึ่งค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลน้องๆ ก็เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาล พบว่าในอเมริกานั้นสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงมีการเติบโตของธุรกิจเป็นอันดับที่เจ็ดเทียบกับกลุ่มสินค้าอื่นในประเทศของเขาเลยทีเดียว


ในบางรัฐของอเมริกามีการออกใบอนุญาตและจัดเก็บภาษีสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นน้องหมา น้องแมว เมื่ออายุถึงเกณฑ์จะต้องเสียภาษีราวตัวละ 75 เหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งอัตราภาษีที่ต้องจ่ายดูจากการทำหมัน ถ้าทำหมันแล้วภาษีที่ต้องจ่ายจะลดลง นอกจากนี้เจ้าของสัตว์เลี้ยงในอเมริกาจะต้องพาสัตว์เลี้ยงไปตรวจเช็กสุขภาพและฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหากเจ้าของไม่ปฏิบัติตามก็มีบทลงโทษอย่างจริงจัง


สำหรับการเลี้ยงสุนัขในที่อยู่อาศัยอย่าง คอนโดหรืออพาร์ทเมนท์นั้น ในอเมริกามีกฎหมายในแต่ละรัฐที่แตกต่างกัน บางแห่งห้ามเลี้ยงโดยเด็ดขาด บางแห่งสามารถเลี้ยงได้ แต่ต้องจำกัดจำนวน จำกัดขนาด เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องตรวจสอบก่อนนำสัตว์เลี้ยงเข้ามา


นอกจากนี้ การเลี้ยงน้องหมาของคนอเมริกัน ผู้เลี้ยงจะต้องใส่ใจดูแลทั้งในเรื่องของสุขภาพ และมีสวัสดิการต่างๆ สำหรับน้องหมา ส่งน้องฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ มีการทำประกันชีวิต เพื่อช่วยค่ารักษายามน้องได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนถึงบริการต่างๆ มากมายตั้งแต่ กรูมมิ่งตกแต่งขน ตัดขน ย้อมขน เพ้นท์เล็บ ร้านรับจัดงานฉลองวันเกิด จัดงานศพ และโรงแรมสำหรับน้องหมาโดยเฉพาะ ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้สัตว์เลี้ยงนั้นมีความสุขที่สุด


เนเธอร์แลนด์ : ต้องลงทะเบียนไมโครชิพ

เนเธอแลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่ไม่มีสุนัขจรจัดเลยแม้แต่ตัวเดียว เพราะเขาออกกฎหมายที่เข้มงวด ป้องกันเจ้าของทอดทิ้งหรือทารุณกรรมสัตว์เลี้ยงของตัวเอง โดยเจ้าของสัตว์เลี้ยงในเนเธอร์แลนด์นั้นจะต้องจัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมให้สัตว์เลี้ยง มีพื้นที่กว้างเพียงพอ ให้สัตว์เลี้ยงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระไม่ให้เกิดความทรมาน


สำหรับเจ้าของที่จะเลี้ยงสัตว์ในคอนโดหรือในอพาร์ทเมนท์จะต้องได้รับการอนุญาตจากสถานที่นั้นๆ  ซึ่งนอกจากจะต้องจัดที่อยู่ให้สัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสมแล้ว


น้องหมาทุกตัวต้องลงทะเบียนไมโครชิพ จาก Dutch Pet Database เจ้าของจะเสียภาษีน้องหมาเฉลี่ยตัวละ 120 ยูโรต่อตัวต่อปี


ภาครัฐจะนำภาษีที่ได้ไปซื้อถุงสำหรับใส่อุจจาระ ไว้ให้เจ้าของจัดเก็บอุจจาระของน้องตามสวนสาธารณะไม่ให้น้องปล่อยอุจจาระเรี่ยราด ในการพาน้องไปเดินเล่นในที่สาธารณะจะต้องมีสายจูง และถ้าทอดทิ้งน้องเจ้าของจะถูกปรับสูงสุดถึง 16,000 ยูโรเลยทีเดียว


จะเห็นว่ากฎหมายและข้อกำหนดที่เข้มงวดทำให้สัตว์เลี้ยงได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เนเธอร์แลนด์จึงสามารถลดจำนวนสุนัขจรจัดได้อย่างเห็นผลชัดเจนเลยทีเดียว


จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าการเลี้ยงสัตว์ในต่างประเทศนั้นจะต้องมีการลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงและมีกฎหมายลงโทษเจ้าของที่เข้มงวดกว่าประเทศไทยมาก หากเจ้าของไม่มีความพร้อมในเรื่องของที่อยู่อาศัย การจะนำสัตว์มาเลี้ยงในคอนโดหรือห้องเช่านั้นเป็นไปได้ยากหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย


แต่สำหรับคนไทยที่อยากเลี้ยงน้องหมา น้องแมวไว้ในคอนโด ไม่ใช่เรื่องยากเลย ซึ่งทาง Estopolis เองก็มีคอนโด หลายโครงการที่สร้างขึ้นเพื่อคนรักสัตว์โดยเฉพาะให้เลือกสรร เพื่อให้คุณได้ใช้เวลาอยู่กับเจ้าตัวเล็กอย่างมีความสุขที่สุดด้วย


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์