รูปบทความ รถไฟฟ้าสายสีทองเริ่มเปิดหน้าดิน ริมถนนเจริญนคร

รถไฟฟ้าสายสีทองเริ่มเปิดหน้าดิน ริมถนนเจริญนคร


รูปแบบการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง รถไฟฟ้าสายสีทอง ออกแบบให้เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย) บริเวณสถานีคลองสาน รวมระยะทาง 2.72 กิโลเมตร (กม.) จำนวน 4 สถานี มีเป้าหมายเปิดบริการปี 2561 สามารถจุปริมาณผู้โดยสาร 47,300 คน/วัน

ในส่วนของระบบนั้นเป็นรถไฟฟ้า Automatic Guideway Transit (AGT) ที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบไฟฟ้า การใช้ล้อยางจึงไม่เกิดเสียงดัง ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1 ตู้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 80-100 คนหรือขนส่งผู้โดยสารได้ 4,000-1.2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ซึ่ง 1 ขบวนสามารถต่อพ่วงได้ 6 ตู้ โดยการออกแบบโครงสร้างให้ใช้ผิวการจราจรน้อยที่สุด เพื่อลดปัญหาการจราจรบริเวณถนนเจริญนครและถนนกรุงธนบุรี



ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแรงบวก 3 ทำเลจากการมีรถไฟฟ้าสายสีทอง

สุรเชษฐ กองชีพ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ชี้ว่า ตลาดคอนโดมิเนียมริมเจ้าพระยา มี 3 ทำเลที่ได้รับแรงบวกจากการมีสถานีรถไฟฟ้าสายสีทองอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ โซนสะพานตากสิน บางโพ และสะพานพระนั่งเกล้า

1. ปัจจัยจากสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ที่อยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสินข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเปิดให้บริการในปี 2552 มีผลต่อตลาดคอนโดโซนสะพานตากสิน 2-3 ปีแล้ว และมีบางส่วนที่เปิดขายบนถนนเจริญนครทั้ง 2 ฝั่ง โดยเฉพาะฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไกลออกไปจากสถานีกรุงธนบุรี แต่ก็ไม่ได้คึกคักมากนัก หากเทียบกับพื้นที่ตามแนวถนนกรุงธนบุรี

2. ปัจจัยใหม่ช่วง 1-2 ปีที่แล้ว "ไอคอน สยาม" บิ๊กโปรเจ็กต์ร่วมทุนระหว่าง "สยามพิวรรธน์-เครือเจริญโภคภัณฑ์-แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น" พื้นที่รวม 750,000 ตร.ม.

3. ปัจจัยจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง ทาง กทม.ประกาศแผนการพัฒนาเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี และมีเส้นทางไปตามถนนเจริญนครสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระปกเกล้า ระยะทาง 2.7 กม. 4 สถานี ในอนาคตสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 2 สี "สีม่วงใต้-สีแดง" ยิ่งรถไฟฟ้าสายสีทองมีความชัดเจนมากขึ้นเท่าใด จะทำให้ตลาดคอนโดฯ ตามแนวถนนเจริญนคร ช่วงตั้งแต่สะพานสาทร-คลองสานคึกคักมากขึ้น


คอนโดทำเลรถไฟฟ้าสายสีทอง

ปัจจุบันมีคอนโดฯ ในทำเลรถไฟฟ้าสายสีทอง 3,640 ยูนิต หลายโครงการที่เปิดขายก่อนปี 2543 และ 54% เปิดขายหลังจากปี 2552 ที่สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีเปิดให้บริการ อัตราการขายก็ค่อนข้างสูงประมาณ 94% สร้างเสร็จเกือบทุกโครงการ ยกเว้นโครงการที่เพิ่งเปิดขายปี 2558 เป็นต้นมา ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 145,000 บาท/ตร.ม. เทียบกับโครงการเก่า ๆ ที่เปิดขายมานานมีราคาขายเฉลี่ย 77,000 บาท/ตร.ม. เท่านั้น

โครงการที่เปิดขายหลังปี 2543 มีราคาขายเฉลี่ยที่ 133,000 บาท/ตร.ม. ส่วนโครงการเปิดขายปี 2557-2558 ราคาขายเฉลี่ย 270,500 บาท/ตร.ม. มีการปรับขึ้นของราคาขาย 3-10% ต่อปี จุดเน้นในปี 2557 ซึ่งไอคอน สยามเริ่มเปิดตัว บวกกับความชัดเจนในการลงทุนรถไฟฟ้าสายสีทอง ทำให้คอนโดฯอายุกว่า 10 ปีบางโครงการราคาขายมือสองปรับขึ้นสูงกว่า 30%

ด้านที่ดินก็ปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากราคาซื้อขายริมถนนเจริญนครช่วงระหว่างปี 2554 อยู่ที่ 1-2 แสนบาท/ตร.ว. ขณะที่ปี 2554 ขยับสูงเป็น 2.65 แสนบาท/ตร.ว. หรือเพิ่มขึ้น 240% ราคาที่ดินไม่ได้หยุดแค่นั้น เพราะสถิติปี 2557 ที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยามีการซื้อขาย 4.5 แสนบาท/ตร.ว. หรือแพงขึ้นมากกว่า 70% ถ้าเป็นที่ดินไม่ติดแม่น้ำเจ้าพระยามีการปรับขึ้นน้อยกว่า อยู่ในช่วง 3-4 แสนบาท/ตร.ว. ขึ้นกับขนาดที่ดิน ทำเล รวมทั้งทางเข้า-ออก


การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองธนบุรี – ประชาธิปก เพื่อแก้ปัญหาการจราจรในเขตกรุงธนบุรี ผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566 โดยให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ดำเนินการรวมทั้งการเดินรถสัญญาสัมปทาน 30 ปี โดยการก่อสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่

ช่วงที่ 1 จากสถานีธนบุรี – ตากสิน ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 2,512 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จและให้บริการในปี 2561

ช่วงที่ 2 จากสถานีตากสิน – วัดอนงค์คาราม ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1,333 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566

ในอนาคตหากรถไฟฟ้าสายสีทองเริ่มการก่อสร้าง คาดว่ามีโครงการคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีทองรอเปิดขายมากขึ้น แต่อุปสรรคที่สำคัญ คือ พื้นที่ริมถนนเจริญนครแทบไม่มีที่ดินขนาดใหญ่เหลือให้พัฒนาแล้วในปัจจุบัน


ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์