รูปบทความ ส่องความเจริญของ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง – บางซื่อ

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง – บางซื่อ จากวันนั้นถึงวันนี้ พัฒนาไปเป็นอย่างไร

ไหน...ใครนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินมาทำงานทุกเช้าบ้าง ซึ่งผมก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นประจำ แล้วทุกคนทราบหรือไม่ครับว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เรานั่งกันอยู่นั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร วันนีี้เราจะมาทำความรู้จักมันอย่างจริงจังกันดีกว่า



รถไฟฟ้าสายน้ำเงิน จากวันนั้นถึงวันนี้ มีความคืบหน้าเช่นไร



รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือ "รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล" ได้ริเริ่มขึ้นตามแผนแม่บทของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ได้มีการสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในหลากหลายด้าน อาทิเช่น อำนวยความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ช่วยลดปัญหาการจราจรบนท้องถนน ตลอดจนช่วยลดการเกิดมลภาวะทางอากาศอันเกิดจากท่อไอเสีย และท้ายที่สุดก็เพื่อสาธารณะประโยชน์ของประชาชน โดย รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เริ่มมีการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 แล้วเปิดให้บริการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินประเทศไทย


สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ)

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง หัวลำโพง – บางซื่อ มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี รวมระยะทางกว่า 21 กิโลเมตร ได้แก่


1 สถานีหัวลำโพง

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเส้นทางสายเฉลิมรัชมงคลอยู่ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร หรืออยู่ตรงสถานีรถไฟฟ้า หลักของประเทศไทย

2 สถานีสามย่าน

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ตั้งอยู่ที่ถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกสามย่านซึ่งอยู่ใจกลางเมือง 

3 สถานีสีลม

อยู่ที่ถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกศาลาแดง สถานีลุมพินี อยู่ที่ถนนพระรามที่ 4 บริเวณสี่แยกวิทยุเรื่องกับสวนลุมพินี ในอนาคตจะเชื่อมต่อกับโครงการด้วยฟ้าสายสีเทาและรถไฟฟ้าสายสีฟ้าที่สถานีนี้

4 สถานีคลองเตย

อยู่ตรงบริเวณทาง ซอยโรงงานยาสูบถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร

5 สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

อยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกเขตพระราม 4 บริเวณด้านหน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

6 สถานีสุขุมวิท

เป็นสถานี ที่อยู่ใกล้ถนนอโศกมนตรีบริเวณสี่แยกอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร

7 สถานีเพชรบุรี

อยู่ที่ถนนอโศกดินแดงบริเวณสี่แยกอโศกเพชรบุรี เป็นสถานีรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือที่สถานีมักกะสัน

8 สถานีพระราม 9

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกห้วยขวาง อยู่ตรงบริเวณแยกพระราม 9

9 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

อยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกห้วยขวาง ใกล้กับศูนย์การค้า "เอสพลานาส รัชดาภิเษก"

10 สถานีห้วยขวาง

อยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก ตั้งอยู่ในย่านอาคารที่พักและโรงแรม

11 สถานีสุทธิสาร

เป็นสถานีต่อจากสถานีห้วยขวางตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษก

12 สถานีรัชดาภิเษก

ตั้งอยู่ที่ถนนรัชดาภิเษกห้วยขวางกรุงเทพมหานครบริเวณนี้มีอาคารสำนักงานและที่พักอาศัยมากมาย

13 สถานีลาดพร้าว

เป็นสถานีที่อยู่ถนนรัชดาภิเษกห้วยขวางอยู่ในย่านธุรกิจและสถานศึกษารวมทั้งสถานที่ราชการ

14 สถานีพหลโยธิน

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่ถนนลาดพร้าวกรุงเทพฯบริเวณ 5 แยกลาดพร้าวนั้นเอง

15 สถานีสวนจตุจักร

ตั้งอยู่ที่ถนนพหลโยธินบริเวณหน้าสวนจตุจักรซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญกับสถานีหมอชิต

16 สถานีกำแพงเพชร

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่หน้าถนนกำแพงเพชร ใช้ชื่อตามถนนกำแพงเพชรตั้งอยู่ใจกลางศูนย์การค้าที่สำคัญคือจตุจักร

17 สถานีบางซื่อ

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่อยู่บริเวณสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อกรุงเทพมหานคร

18 สถานีเตาปูน

เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่อยู่เหนือแยกเตาปูน สามารถเชื่อมต่อไปยัง รถไฟฟ้าสายสีม่วงได้



จัดอันดับ สถานีรถไฟฟ้า สายน้ำเงิน สถานีไหนคนขึ้นเยอะที่สุด!

และสำหรับ "สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน" ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด ก็จะมี สถานีหัวลำโพง , สถานีพระราม 9 และสถานีพหลโยธิน ซึ่งทั้ง 3 สถานีนี้เป็นสถานีต้นทาง-สถานีกลาง และสถานีปลายทางของเส้นรถไฟฟ้า ทั้งยังรายล้อมไปด้วยความเจริญ มีแหล่งอำนวยความสะดวกนานาประเภท ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สถานที่ราชการ หรือที่ตั้งของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่


สถานีหัวลำโพง

สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง

สาเหตที่ทำให้ "สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพง"  มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสถานีนี้เป็นสถานีต้นสายของเส้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทั้งยังเป็นสถานีที่อยู่ท่ามกลางแหล่งที่พักอาศัยของผู้คนจำนวนมาก ช ประกอบกับตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านการค้าดังๆ อย่าง เยาวราช สำเพ็ง พาหุรัด ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมจากรถไฟไปรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือจากรถเมล์มาขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีหัวลำโพงเกือบตลอดทั้งวัน 


สถานีพระราม 9

สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระรามเก้า
อีกหนึ่งสถานีที่มีคนใช้เยอะไม่แพ้กัน เนื่องจาก สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน พระราม 9 อยู่กึ่งกลางของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บวกกับเป็นทำเล New CBD ย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร จึงมีทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อย่างเซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9 , ศูนย์การค้าฟอร์จูน ทาวน์ หรือ ห้างเปิดใหม่ Show DC ทั้งยังมีอาคารพาณิชย์ อาคารเช่าสำนักงานต่างๆ จึงทำให้ สถานีพระราม 9 กลายเป็นสถานีสำคัญ จุดรวมตัวกันของคนทำงาน


สถานีพหลโยธิน

ห้าแยกลาดพร้าวพหลโยธิน

ถึง สถานีพหลโยธิน จะเป็นสถานีเกือบสุดสาย แต่ก็ตั้งอยู่ใจกลางความเจริญของย่านลาดพร้าว มีทางออกติดห้าแยกลาดพร้าวและห้างสรรพสินค้าดัง เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว และ  ยูเนี่ยน มอลล์ ไหนจะมีโรงเรียน สถานที่ราชการ และคอนโดมิเนียมมากมายที่แข่งกันขึ้นในทำเลนี้ จึงไม่แปลกที่จะมีคนมาใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินแน่นขึ้นทุกวัน

รวมสถานที่สำคัญ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

และหากจะพูดถึงเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว ต้องบอกว่าเป็นเส้นรถไฟฟ้าสำคัญที่วิ่งเข้าสู่ใจกลางเมือง ผ่านเขต CBD และ New CBD แหล่งใหญ่ๆ ในกรุงเทพมหานคร ทำให้มีสถานที่สำคัญมากมายตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้า แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ต้องไปดูกันครับ


ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ใกล้รถไฟฟ้า สถานีพระราม 9

ศูนย์ไอทีครบวงจร ที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนรัชดาภิเศก



เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ใกล้รถไฟฟ้า สถานีพหลโยธิน

Plaza_CentralPlaza_Ladprao

ศูนย์การค้า สำนักงาน และโรงแรมแบบครบวงจร ที่ตั้งอยู่ใกล้กับห้าแยกลาดพร้าว ภายในห้างมีร้านค้ามากมาย ทั้งเสื้อผ้าแบรนด์ดัง , กระเป๋าแบรนด์เนม , ท็อป ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านอาหารชื่อดังที่อยากให้คุณได้มาลองชิมสักครั้ง 



ตลาดนัดจตุจักร ใกล้รถไฟฟ้า สถานีสวนจตุจักร

ตลาดนัดสวนจตุจักรน่าเที่ยว

ตลาดนัดขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร ตลาดนัดจตุจักรมีของขายเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของเล่น เสื้อผ้า ต้นไม้ เป็นที่ถูกอกถูกใจของชาวไทยและชาวต่างชาติ เปิดทำการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น หากใครมีเวลาว่างไม่รู้จะไปเดินเล่นที่ไหน ก็ลองมาช้อปปิ้งที่นี่กันได้ครับ 


สวนลุมพินี ใกล้รถไฟฟ้า สถานีสีลม / สถานีศาลาแดง

สวนลุมพินีออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

สวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 มีผู้นิยมมาออกกำลังกายเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน



มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใกล้รถไฟฟ้า สถานีเพชบุรี

มหาวิยาลัย มศว แถวอโศก

มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ซอยสุขุมวิท 23 เขตวัฒนา ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สถานีเพชบุรี ทั้งยังเดินทางสะดวกเชื่อมโยงกับ แอร์พอร์ท ลิ้งค์ สถานีมักกะสัน ทำให้เราสามารถวิ่งตรงเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย รอบๆ รายล้อมด้วยตึกสูงของสำนักงานขนาดใหญ่ ถือเป็นแหล่งรวมตัวของสถานที่ทำงานของคนกรุงเทพอีกย่านหนึ่ง 



วิถีชีวิตของคนอาศัยอยู่ ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดิน

ปัจจุบัน สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ได้เปิดให้บริการมานานกว่า 10 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2547  และสิ่งที่เด่นชัดที่สุด คือ การช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหากมองในมุมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว จะพบว่าแต่ละคนล้วนมีพื้นฐานชีวิต ตลอดจนไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตประจำวันไม่ต่างกันมากนัก อาจแบ่งออกง่ายๆ เป็น 3 กลุ่ม 3 วัย


การดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดี



1 กลุ่มนิสิต/นักศึกษา มหาวิทยาลัย


คนกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนที่เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง - บางซื่อ) มากที่สุด เนื่องจากเส้นรถไฟฟ้าวิ่งผ่านสถานศึกษาหลากหลายแห่ง อาทิเช่น โรงเรียนสายปัญญา ที่อยู่ใกล้สถานีหัวลำโพง , จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่อยู่ใกล้สถานีสามย่าน , มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร อยู่ใกล้กับสถานีเพชรบุรี หรือโรงเรียนหอวัง ที่อยู่ใกล้สถานีพหลโยธิน ในระยะเดินถึง ซ้ำยังสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหารถติดบนท้องถนนในช่วงเช้า มีมาตรฐานด้านความปลอดัยค่อนข้างสูงกว่าระบบคมนาคมอื่นๆ จึงเป็นวางใจของเหล่าผู้ปกครองที่ปล่อยบุตรหลานให้ไปโรงเรียนเอง


2 กลุ่มวัยทำงาน เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย

เมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการหาความมั่นคงในชีวิตย่อมเพิ่มขึ้นตาม จึงไม่แแปลกที่คนกลุ่มนี้จะเริ่มทำงานเก็บเงินสักก้อน เพื่อซื้อที่พักอาศัยเป็นของตนเอง และปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบ้านหรือคอนโดก็มาจากการเดินทางที่สะดวก ไม่ว่าจะเดินทางกลับบ้านหรือออกไปทำงาน ฉะนั้นบ้านหรือคอนโดใกล้รถไฟฟ้า จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยยกระดับการใช้ชีวิตแล้ว ที่ตั้งสำนักงานส่วนใหญ่ก็มักตั้งอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าเช่นกัน



3 กลุ่มวัยเกษียณ หรือผู้ทำงานฟรีแลนซ์ freelance

ถึงคนกลุ่มนี้มักอยู่บ้านหรือนั่งทำงานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ปฎิเสทไม่ได้เช่นกันครับว่าหลายครั้งที่ต้องนัดคุยงาน ทำธุระ หรือประสานงานกับลูกค้า คนกลุ่มนี้ก็เลือกใช้รถไฟฟ้าเช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายบนท้องถนน ได้รับความสะดวกสบายกว่า แถมยังรวดเร็วสามารถเดินทางไปยังจุดหมายได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที



อนาคตของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สู่จุดเปลี่ยนการคมนาคม



สถานีอินเตอร์เชนจ์ สถานีเชื่อมต่อความเจริญ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน


รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง - บางซื่อ) มีการพัฒนาไปจากเมื่อ 10 ปีก่อนมาก จากเดิมที่มีเพียง 18 สถานี ก็เกิดจากขยายเส้นทางความเจริญไปสู่ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค ที่มีระยะทางรวมกว่า 27 กม. โดยมีสถานีเชื่อมต่อ (Interchange) กระจายอยู่ตามสถานีต่างๆ มากมาย ได้แก่ 


สถานีเตาปูน-บางซื่อ

สถานีบางซื่อ จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน หรือ สายสีแดงเข้ม และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง อีกทั้งสถานีบางซื่อ ก็ยังเชื่อมกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง สายฉลองรัชธรรม ที่ สถานีเตาปูน เพื่อเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางไปยังนนทบุรี บางใหญ่ ไล่ยาวตั้งแต่ สถานีเตาปูน ไปจนถึง สถานีบางไผ่ ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง

สถานีรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล


และนอกจาก สถานีบางซื่อ ที่ถือเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์หลักของรถไฟฟ้าสายน้ำเงินแล้ว ตลอดเส้นทางก็ยังมี สถานีอินเตอร์เชนจ์ อีกมากมาย ที่กำลังก่อสร้าง หรือมีแผนที่จะก่อสร้างต่อไปในอนาคตอีกด้วย 


สถานีหัวลำโพง

จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางของ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ที่ใช้วิ่งออกนอกเมืองไปยังทิศเหนือและใต้ ไปยังรังสิต-ปทุมธานี-บางบอน และมหาชัย โดยเดินทางร่วมกับรถไฟระบบทางไกล


สถานีสามย่าน

ในอนาคต สถานีสามย่าน จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางไปยัง รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬา - สยามสแควร์ และ สถานีจัตุรัสจามจุรี


สถานีสุขุมวิท

เราสามารถเปลี่ยนมาใช้ รถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ได้ที่ สถานีอโศก 


สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

ในอนาคต สถานีนี้จะเป็นสถานีอินเตอร์เชนจ์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีส้ม ที่วิ่งไปยังชานเมืองฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพ


สถานีพหลโยธิน

อนาคตเราจะสามารถเดินทางไปยัง สถานีรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท ได้ที่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว โดยคาดว่าจะมีกำหนดการเปิดให้ใช้งานได้ในปี 2563


สถานีสวนจตุจักร

สถานีเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้า BTS ที่ สถานีหมอชิต  โดยเราสามารถเดินทางไปยังย่านสำคัญต่างๆ ของกรุงเทพมหานครได้ ไม่ว่าจะเป็น สยาม สีลม หรือสาทร




credit image :

https://upload.wikimedia.org
https://asiatraveldeals.info
https://f.ptcdn.info
https://upload.wikimedia.org
http://4.bp.blogspot.com


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์