รูปบทความ สาวตกรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ หนทางแก้ไขที่ไม่ชัดเจน

สาวตกรางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ หนทางแก้ไขที่ไม่ชัดเจน

เมื่อเวลา 06.53น. ของวันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.2560

        เกิดเหตุหญิงไม่ทราบชื่อ วัยประมาณ 30 ปี ตกรางรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ฯ สถานีบ้านทับช้าง เสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สั่งปิดพื้นที่ระงับการเดินรถ ทำให้การเดินรถล่าช้าในช่วงเวลาเร่งด่วน


เครดิตภาพ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_405939

ต่อมา นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานปฏิบัติการและซ่อมบำรุง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์

        ได้เผยว่า จากการตรวจสอบภาพวงจรปิดจากกล้องCCTV พบว่าหญิงคนดังกล่าวชะโงกหน้ามองรถไฟที่กำลังจะแล่นเข้ามายังสถานี ก่อนจะเดินไปข้างหน้าและตกไปในรางรถไฟโดยไม่มีภาพของการถูกผลัก หรืออาการวูบแล้วล้มแต่อย่างใด

        หลังจากการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ ทราบชื่อ น.ส.รสรินทร์ เปลี่ยนหล้า อายุ 31ปี ภูมิลำเนาอยู่ อ.เวียงสา จ.น่าน พยานผู้เห็นเหตุการณ์ให้การว่า ผู้ตายมีอาการวูบพลัดตกลงไปในราง จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่าผู้ตายกำลังตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน พร้อมทั้งมีอาการหน้ามืดบ่อยครั้ง ทั้งนี้ยังไม่มีการสรุปใดๆทั้งสิ้น เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบพร้อมชันสูตรศพต่อไป


เครดิตภาพ https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_406270

        หลังจากเหตุดังกล่าว นายสุเทพ ได้เปิดเผยถึงเรื่องของการติดตั้งประตูกั้นชานชะลาว่า กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการติดตั้งประตูกั้นชานชะลาเพิ่มอีก 7 สถานที โดยคาดการว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จสถานีแรกเดือน เมษายน พ.ศ.2561 ขณะที่ปัจจุบัน มีสถานีแอร์พอร์ตลิงค์ฯเพียงสถานีเดียวเท่านั้นที่มีประตูกั้นชานชะลาคือ สถานีบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ


ขณะเดียวกันเมื่อเวลา 08.24น. ทวิตเตอร์ของรถไฟฟ้าBTS (@BTS_SkyTrain) ได้แจ้งเหตุ

        ขาผู้โดยสารติดช่องว่างระหว่างขบวนรถกับชานชะลา สถานีช่องนนทรีย์ ทำให้การเดินรถล่าช้าไป 10นาที โดยในเวลาต่อมาไม่นานได้มีการแจ้งเพิ่มเติมว่าสามารถช่วยเหลือผู้โดยสารคนดังกล่าวได้แล้ว


เครดิตภาพ https://www.matichon.co.th/news/584588


         จากเหตุสลดที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกของการเกิดเหตุที่ทำให้การเดินรถขัดข้อง และล่าช้า โดยจำนวนผู้ใช้รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ฯมีมากกว่า 70,000 คนต่อวัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาผู้โดยสารล้นสถานี จำนวนขบวนรถน้อยกว่าจำนวนผู้ใช้บริการ นอกจากนี้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ยังเกิดปัญหาขัดข้องและล่าช้าอยู่บ่อยครั้ง

       ย้อนไปในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 เกิดเหตุรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ฯขัดข้อง ประตูล็อค ผู้โดยสารขาดอากาศ การดำเนินการแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้ผู้โดยสารจำเป็นต้องทุบกระจกและงัดประตูเพื่อออกมาจากขบวนรถ ขณะที่ผู้โดยสารบางรายมีอาการหน้ามืดและเป็นลมเนื่องจากขาดอากาศหายใจ

    วันที่13 มีนาคม พ.ศ.2560 เกิดเหตุรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ขัดข้อง ไฟดับและมีกลิ่นคล้ายเหม็นไหม้ ทำให้ระบบปรับอากาศไม่ทำงาน เป็นเหตุให้ผู้โดยสารบางรายเป็นลม และก่อให้เกิดความล่าช้า

     

นอกจากนี้ โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ยังประสบปัญหาขาดทุน 300 ล้านบาทต่อปี โดยคาดการณ์ว่าปัญหามาจากการที่จำนวนรถไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเบื้องต้นทางบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ได้ดำเนินการจัดซื้อรถไฟฟ้าใหม่จำนวน 7 ขบวน ขณะที่ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าใช้งานอยู่จำนวน 9 ขบวนเท่านั้น


เครดิตภาพ http://www.bkktrains.com/wp-content/uploads/2014/05/SIL-PSD_001-800x445.jpg

ถึงเวลาหรือยังที่จะเพิ่มประตูกั้นชานชาลาให้ครบทุกสถานี

ขณะที่ประตูกั้นชานชาลาจะสามารถเพิ่มระดับความปลอดภัยของผู้โดยสารที่จะใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ฯได้นั้น ก็ดูยังห่างไกลความเป็นจริงอยู่มาก เนื่องจากยังไม่ได้เริ่มดำเนินการที่เป็นรูปเป็นร่างนัก ซึ่งในกรณีผู้โดยสารพลัดตกสถานีไม่ได้เกิดขึ้นกับแอร์พอร์ตเรลลิงค์เท่านั้น รถไฟฟ้า BTS เองก็ประสบเหตุนี้หลายครั้งเช่นกัน


18 สิงหาคมปี 2557  มีรายงานหญิงคนหนึ่งหมดสติพลัดตกลงไปในรางรถไฟฟ้า ชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต

8 กันยายน 2558 เกิดเหตุหญิงคนหนึ่งเป็นลมหมดสติ พลัดตกลงไปในรางรถไฟฟ้า BTS สถานีราชเทวี ทำให้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย


ทางด้านบีทีเอสนั้นได้ดำเนินการสร้างและทดลองระบบประตูกั้นชานชาลาครั้งแรกในปีพ.ศ.2555 ที่สถานีสยาม และขยายสถานีไปเรื่อยๆอีก 8 สถานีคือ สถานีรถไฟฟ้าอโศก สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช สถานีรถไฟฟ้าพญาไท สถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง สถานีรถไฟฟ้าชิดลม สถานีรถไฟฟ้า พร้อมพงษ์ และสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรีย์ โดยใช้ระยะเวลาหนึ่งปีในการสร้างให้แล้วเสร็จ


จากเหตุการณ์นี้เราในฐานะของผู้โดยสารคงจะต้องจับตาดูกันต่อไปว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยของขนส่งสาธารณะในบ้านเราจะไปในทิศทางใด เพราะนอกจากเรื่องของความปลอดภัยที่ต้องมากขึ้นแล้ว การไม่ขัดข้องในช่วงโมงเร่งด่วนในฐานะของการเป็นผู้โดยสารเองก็อยากให้แก้ไขด้วยเช่นกัน ไม่ใช่แค่เพิ่มราคาค่าโดยสารและพื้นที่โฆษณาเพียงอย่างเดียว



อ้างอิง

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_406270

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_405939

https://www.dailynews.co.th/economic/580532

http://www.komchadluek.net/news/economic/270849

https://www.thairath.co.th/content/593820

https://www.thairath.co.th/content/448673

https://today.line.me/TH/article/

https://www.matichon.co.th/news/77394

http://news.sanook.com/2182886/

https://www.thairath.co.th/content/291858

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์