รูปบทความ BTS ยื่นแผนเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี เข้าอิมแพคเมืองทองธานี

BTS เตรียมยื่นแผน เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี เข้า “อิมแพค เมืองทองธานี”

         เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.60 ที่ผ่านมา นายคีรีกาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เตรียมยื่นข้อเสนอขอขยายเส้นทางเข้าไปที่อิมแพค เมืองทองธานี หลังจาก คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน และร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้า 2 สายคือ 1.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และ 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยให้ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture:BSR) ที่ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์ คอนสตรัคชั่น และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้ง 2 เส้นทาง ในรูปแบบเป็นโมโนเรล (รถไฟฟ้ารางเบา)

         การลงนามในสัญญาการก่อสร้างกับกลุ่มกิจการร่วมค้า BSR จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ กำหนดระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน ก่อนเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการช่วงประมาณปลายปี 2563 รวมถึงคาดว่าหากทั้ง 2 โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการประมาณเส้นทางละ 200,000 คนต่อวัน


ขยายเส้นทางเข้าไปที่อิมแพค เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร โดยจะมี 2 สถานี คือ บริเวณอาคารอิมแพคชาเลนเจอร์ และบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี


         ก่อนการยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา BTS จะเร่งศึกษาเพื่อขอขยายเส้นทางเพิ่มเติมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี โดยจะขอขยายเส้นทางเข้าไปที่อิมแพค เมืองทองธานี ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร โดยจะมี 2 สถานี คือ บริเวณอาคารอิมแพคชาเลนเจอร์ และบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี เพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่มีประมาณปีละกว่า 10 ล้านคน และประชาชนที่อยู่อาศัยอีกกว่า 1.5 แสนคน


เพิ่ม 2 สถานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ในช่วงจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกจนถึงแยกรัชโยธิน


         ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ก็จะมีการเสนอขอเพิ่ม 2 สถานี ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร ในช่วงจากบริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกจนถึงแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ(หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)

         นายคีรีกล่าวว่า ทางกลุ่ม BSR จะเสนอขอเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดคิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท และจะมีการศึกษาตามขั้นตอนของกฎหมายก่อน และคาดว่าจะต้องรอผลสรุปเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ประมาณ 1 ปี รวมถึงการจัดทำแผนแม่บทของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ซึ่งกระบวนการก่อสร้างจะต้องเสร็จในปี 2563


ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์