รูปบทความ เดือดร้อนกันเป็นแถว BTS ขึ้นราคาใหม่ สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช - สำโรง

เดือดร้อนกันเป็นแถว BTS ขึ้นราคาใหม่ สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช - สำโรง

ชาวกทม. คงคุ้นเคยกับการใช้รถไฟฟ้า BTS กันมานานแล้ว และหลายคนเลือกทำเลที่อยู่ คอนโดใกล้รถไฟฟ้า เพราะมันทั้งสะดวกสบาย รวดเร็ว ไม่ต้องไปเสียเวลากับรถติด เจอกับปัญหาโดนแท๊กซี่ปฏิเสธ หรือโดนโกงค่าโดยสาร แต่หลังจากที่มีการประกาศขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยายเมื่อไม่นานมานี้ จากราคา 10 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 15 บาท ซึ่งจะทำให้ค่าโดยสารตลอดสายเพิ่มขึ้นจาก 52 บาท เป็น 57 บาท ทำเอาชาวกทม.หลายคน เดือดร้อนกันเป็นแถว แล้วจะมีใครบ้างล่ะ? ที่ได้รับผลกระทบจาก BTS ขึ้นราคาครั้งนี้

เดือดร้อนกันเป็นแถว หลังประกาศ BTS ราคาใหม่

รถไฟฟ้า BTS ได้ประกาศ ขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยาย โดยปรับราคาบัตรโดยสารเดินทางต่อ 1 เที่ยวที่มีการเดินทางเข้าจากสถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีลม และสถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสุขุมวิทไปสถานีรถไฟฟ้า 25 สถานีเดิม บัตรโดยสารสำหรับคนทั่วไป เพิ่มขึ้นจาก 10 บาท เป็น 15 บาท สำหรับผู้สูงอายุเพิ่มจาก 5 บาท เป็น 7 บาท และบัตรนักเรียนยังคงราคาเดิมคือ 10 บาท


ผู้ที่อยู่อาศัยในเส้นทางส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง-สำโรง) และผู้ที่อยู่ในเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลม (ตากสิน-บางหว้า) จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ในครั้งนี้ ส่วนผู้โดยสารเดินทางภายในเส้นทางช่วง หมอชิต - อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ - วงเวียนใหญ่ จะไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาดังกล่าว


คนที่เดือดร้อนมากที่สุดกับการขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ก็คงหนีไม่พ้นมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าคนอื่น 5 บาท มองดูผ่านๆก็อาจเหมือนเพิ่มราคาขึ้นมาเพียงนิดเดียว แต่พอมาคิดโดยรวมแล้ว มนุษย์เงินเดือนกระจิ๊ดลิดอย่างเรา ต้องเดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้า BTS ไป-กลับทุกวัน คิดรวมๆที่ต้องจ่ายต่อเดือน ก็ถือว่าเสียเงินเพิ่มไปหลายบาทเลยทีเดียว ผู้โดยสารบางคนรู้สึกถูกเอาเปรียบ เพราะบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ต้องเดินทางไปทำงาน แล้วต้องมาจ่ายเงินให้กับค่าโดยสารที่แสนแพง เผลอๆต้องจ่ายแพงกว่าค่าข้าวซะอีก แน่นอนว่าหลายคนต้องการความสะดวก รวดเร็ว จะให้หันไปใช้รถเมย์ ก็ต้องมาเจอกับปัญหารถติด คงไม่เหมาะกับชีวิตที่เร่งรีบของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องรีบไปทำงานให้ทันเวลา หากไปสายโดนหักเงินเดือน ก็คงไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายให้กับรถเมย์ที่ถูกกว่า


รถไฟฟ้า BTS ขึ้นราคาค่าโดยสาร ยังมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวและขาจรที่เข้ามาในกรุงเทพฯ ที่ต้องการโดยสารโดยรถไฟฟ้า และต้องจ่ายในราคาปกติ ลองมาคิดดูว่า ในหนึ่งวัน ไปหลายที่ เดินทางหลายเที่ยว ต้องเสียเงินให้กับค่าเดินทางเป็นหลายร้อยเลยก็ว่าได้

เดือดร้อนกันเป็นแถว หลังประกาศ BTS ราคาใหม่

แล้วทำไมต้องมีการปรับราคาล่ะ? เหตุผลในการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS เป็นเพราะว่า ทางกทม. ได้รับภาระแทนผู้โดยสารมานานแล้ว ซึ่งตั้งแต่ปี 2556 ได้เก็บค่าโดยสารในอัตรา 10 บาทตลอดสาย ทางกทม.เองจะต้องจ่ายส่วนต่างแทนผู้โดยสาร 5 บาท คิดเป็นเงินเฉลี่ยปีละ 600 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับขึ้นราคาเพื่อลดภาระดังกล่าว และกทม.ต้องจ่ายค่าเช่ารางให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 8 ล้านบาท/เดือนจนกว่าจะโอนทรัพย์สินอย่างเป็นทางการ


อย่างไรก็ตาม ในปลายปี 2561 กทม.จะมีการเดินรถไฟฟ้าเต็มเส้นทางทั่วทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล และมีแนวคิดที่จะรื้อค่าโดยสารใหม่ทั้งหมดด้วย โดยจะคิดเป็นอัตราเหมาจ่าย แบ่งเป็นโซนพื้นที่ 3 โซน คือ

1.โซนในเมือง 10 สถานี มีสถานีสยามเป็นจุดศูนย์กลาง 

2.โซนที่ 2 พื้นที่ถัดจากในเมืองอีก 10 สถานี

3.โซนที่ 3 ถัดจากโซนที่ 2 เป็นสถานีรอบนอก  

และในขณะนี้มีการศึกษารายละเอียดจำนวนสถานีและอัตราค่าโดยสารกันอยู่


การได้รับผลกระทบการขึ้นราคาค่าโดยสารของรถไฟฟ้า BTS ครั้งนี้ เกิดขึ้นกับชาวกทม.และบุคคลหลายกลุ่ม และทางกทม.ได้แจ้งการปรับราคาอย่างสมเหตุสมผลหรือไม่? หากการปรับขึ้นราคา เป็นการปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ดีขึ้นกว่าเดิม ประชาชนได้รับการบริการที่พึงพอใจ ก็คงรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายแพงขึ้น



บทความที่เกี่ยวข้อง

รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย สำโรง - สมุทรปราการ กับผลกระทบต่อคอนโดและวิถีชีวิตคนกรุง

BTS แบริ่ง ทำเลทองที่น่าจับจองสำหรับคนอยากซื้อคอนโดใกล้รถไฟฟ้าสายสีเขียว

รถไฟฟ้าสายสีเขียว แบริ่ง - สมุทรปราการ เสร็จเมื่อไร และมีสถานีอะไรบ้าง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์