รูปบทความ ส่อปัญหา เสียงสะท้อนจากโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เสียงสะท้อนจากโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นโครงการขนาดใหญ่จัดทำเพื่อพัฒนาภูมิทัศน์และทางสัญจรริมแม่น้ำ โครงการหลักจะเป็นการทางสัญจรเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร จนสมุทรปราการ โดยระยะทางในส่วนของจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการมีระยะทางรวมกัน 140 กิโลเมตรทั้งสองฝั่งแม่น้ำ โดยความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรุงเทพมหานครนั้นจะรับผิดชอบพื้นที่ของตัวเองจนจรดเขตบางนามีระยะทาง 57 กิโลเมตร

ในส่วนของกรุงเทพมหานครนั้น ได้จัดให้มีโครงการนำร่องระยะทาง 14 กิโลเมตร สองฝั่งแม่น้ำ ฝั่งละ 7 กิโลเมตรโครงสร้างหลักอย่างทางสัญจรนั้นได้ถูกออกแบบให้เป็นทางเดินเท้ากว้าง 7 เมตร ทางขี่จักรยานกว้าง 7 เมตร ขนาบข้างโดยมีพื้นที่ตรงกลางเป็นทางรถยนต์กว้าง 3 เมตร ตลอดแนวเส้นทางทั้ง 14 กิโลเมตร นอกจากนั้นก็จะมีโครงการที่จะปรับภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณโครงการทางสัญจรเพื่อจุดประสงค์จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้กับชุมชน พัฒนาและอนุรักษ์วิถีเดิมของชุมชนโดยรอบอีกด้วย


ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมีการประกาศรายละเอียดของโครงการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาออกไป ก็มีเสียงวิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบ มีหลายฝ่ายเห็นประโยชน์ที่จะพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งที่อาจมีความทรุดโทรมให้ได้รับการดูแลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชน แต่ก็มีเสียงที่แสดงความกังวลที่จะกระทบกับสภาพแวดล้อมและวิถีชุมชนริมฝั่งแม่น้ำ จึงมีการรวมตัวเพื่อสะท้อนความคิดเห็นให้ภาครัฐได้พิจารณากันอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีข้อกังวลต่อโครงการดังนี้



ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

1. พื้นที่ของแม่น้ำไม่ได้กว้างเท่ากันตลอดแนว

การกำหนดความกว้างของทางสัญจรให้เท่ากันทั้งหมด ดูจะคิดง่ายเกินไป เพราะแม่น้ำนั้นไม่ได้มีความกว้างเท่ากัน บางช่วงที่ระยะของแม่น้ำแคบ การทำพื้นที่ทางสัญจรจะต้องกินพื้นที่ของแม่น้ำจนทำให้อาจเกิดปัญหาการสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ และอาจจะกระทบต่อการระบายน้ำจนส่งผลต่อปัญหาน้ำท่วมของริมฝั่งแม่น้ำ


2. ตัดผ่านชุมชนที่อยู่ในแนวสัญจรเท่ากันตลอดทาง

นอกจากทางสัญจรที่จะสร้างนั้น จะต้องยื่นลงไปในแม่น้ำแล้วบางส่วนก็จะกระทบกับชุมชนที่อยู่อาศัยเดิม บางจุดก็เป็นพื้นที่โบราณสถาน วัด หรือชุมชนดั้งเดิม ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนออกมาว่าจะจัดการอย่างไร


3. มลพิษและขยะที่อาจจะเกิดขึ้นใต้โครงสร้าง

ในการก่อสร้างนั้นลักษณะเป็นตอม่อลงในแม่น้ำแล้วสร้างทางสัญจรบนตอม่อนั้น ทำให้เกิดพื้นที่ใต้ตอม่อ ที่มีโอกาสจะเป็นแหล่งสะสมขยะที่จะพัดมาอยู่ระหว่างช่องว่างนั้น ถือว่าเป็นพื้นที่ที่จะกำจัดขยะออกไปได้ค่อนข้างยาก อาจจะก่อปัญหาความสกปรกให้กับแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น

ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

4. บดบังภูมิทัศน์ของริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้วยเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมในแม่น้ำ จนไม่อาจได้เห็นภาพริมฝั่งได้เหมือนเดิม ทั้งวัด วัง โบราณสถาน ชุมชน ที่เป็นสถานที่สวยงามริมน้ำ ทั้งคนบนฝั่งก็จะไม่เห็นวิวในแม่น้ำ ผู้ที่เดินทางทางเรือก็จะไม่เห็นวิวบนฝั่ง ถือว่าขาดเสน่ห์ของแม่น้ำไปอย่างมาก



ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานอกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีเสียงสะท้อนเรื่องของการใช้งบประมาณ,การวางแผนที่ไม่ได้คำนึงถึงการเชื่อมต่อกับโครงการอื่นหรือความเร่งด่วนในการสร้างที่ไม่ได้สำรวจความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง


1. ซ้ำซ้อนและไม่ส่งเสริมกับโครงการที่เป็นระบบราง

ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยาได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์เส้นทางของโครงการพัฒนาทางสัญจรเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าจะมีแนวขนานกับสายทางระบบขนส่งมวลชนทางรางสายสีน้ำเงิน (ท่าพระ-บางซื่อ) ซึ่งอยู่ในระหว่าการก่อสร้าง และสายทางระบบขนส่งมวลชนทางรางสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ) ซึ่งอยู่ในแผนการก่อสร้างระยะต่อไป ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีแนวทางที่ซ้ำซ้อนและไม่สามารถใช้เป็นระบบเสริม (Feeder System) ให้แก่ระบบขนส่งมวลชนทางราง


2. โอกาสที่จะกลายเป็นแหล่งอาชญากรรม

ด้วยมีโครงสร้างที่จะสร้างเป็นพนังป้องกันน้ำท่วมสูง 3.25 เมตร ทำให้มองไม่เห็นชุมชนและไม่สามารถเข้าถึงได้ จะเกิดพื้นที่มุมอับ ที่อาจจะกลายเป็นแหล่งซื้อ ขาย ยาเสพติด ที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้าน หรือการแข่งมอเตอร์ไซค์ของกลุ่มเด็กวัยรุ่นได้


3. ไม่มีการทำสำรวจความต้องการของคนในพื้นที่

ด้วยทางเลียบริมแม่น้ำจะผ่านชุมชนหลายชุมชนที่จะมีความต้องการและปัญหาที่จะต้องแก้ไขต่างกัน การสร้างโครงการใหญ่ที่ไม่ได้สำรวจข้อมูลมาก่อนนั้น อาจจะทำให้สิ่งก่อสร้างไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริงหรือสร้างมาคนในชุมชนก็ไม่ได้ใช้งาน



ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานอกจากนี้ทางภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสภาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา (พพพ.) เองก็มีแนวความคิดให้รัฐบาลทบทวนโครงการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยเช่นกัน โดยมีข้อเสนอดังต่อไปนี้


ข้อเสนอแนะเชิงหลักการด้านผังเมืองของการออกแบบพื้นที่สาธารณะริมน้ำ


1) โครงสร้างทางริมแม่น้ำฯ ควรมีขนาด รูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยอย่างหลากหลาย เหมาะสม สอดคล้อง ต่อเนื่องกับประโยชน์การใช้งานของพื้นที่ริมฝั่งด้านใน ไม่ควรเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกันตลอด

หากผ่านชุมชนเก่า ก็ลดขนาดความกว้างให้พอดีเป็นทางเดินพอใช้สอย / หากผ่านหน้าสถานที่ราชการ ก็ไม่จำเป็นต้องสร้างยื่นไปในน้ำ แต่อาจกินเนื้อที่มาบนบก กระทั่งขยายขนาดกลายเป็นสวนริมน้ำก็ยังได้ หรือ หากเป็นอาคารราชการที่ต้องการรักษาความปลอดภัย เช่น รัฐสภา ทางเดินควรอ้อมหลังแทน / หากผ่านพื้นที่เอกชนก็อาจขอความร่วมมือสร้างเข้ามาเป็นลานกิจกรรมในพื้นที่ ฯลฯ เป็นต้น


2) โครงสร้างฯ อาจอยู่ริมแม่น้ำ หรือ วกเข้ามาด้านในก็ได้ แต่ต้องบูรณาการกับเส้นทางสัญจร เช่น ตรอก ซอย ถนน รวมทั้งพื้นที่สาธารณะเดิมของชุมชน เพื่อให้พื้นที่ริมน้ำต่อเนื่องกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายการสัญจรของเมืองให้ได้ การนี้ จะทำให้พื้นที่ถูกการันตีว่ามีการเข้าใช้งานตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัย หรือ "Eyes on Spaces" สายตาเฝ้าระวังจากคนในพื้นที่เอง


3) โครงสร้างทางริมน้ำฯ ควรถูกออกแบบควบคู่ไปกับโครงสร้างรอยต่อของสัณฐานตลิ่ง อย่าให้สูงจนบังกั้นในลักษณะกำแพง หรือถ้าต้องสูง ควรมีชั้นเชิงถอยร่นอย่างค่อยลาดขึ้นทีละนิด จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่า การออกแบบพื้นที่ริมน้ำจะไม่มีประโยชน์อันใดเลย หากขาดแผนการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ต่อเนื่องด้านในควบคู่ไปด้วยพร้อมกัน



ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่อพิษปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งที่สะท้อนจากโครงการริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านผลกระทบต่อชุมชนและฝังเมืองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถติดตามได้ที่แฟนเพจภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา โดย ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสภาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา (พพพ.)

https://www.facebook.com/ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา-1420829104905638


ในขณะเดียวกัน ภาครัฐเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจก็ได้มอบหมายให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)เป็นที่ปรึกษาออกแบบแผนแม่บทของโครงการ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชุมชน พร้อมทั้งเสนอข้อแนะนำและการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างอีกด้วย ทั้งการป้องกันโครงสร้างของเสาที่อยู่ในน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการไหลของน้ำในแม่น้ำ คุณภาพของน้ำที่อยู่ในบริเวณการก่อสร้างจะได้รับการดูแลไม่ให้เกิดการรั่วไหลของสารเคมีต่าง ๆ ระหว่างการก่อสร้าง มลพิษทางเสียงและอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชน โรงเรียน หรือวัดบริเวณใกล้เคียง โครงการจะวางแผนการทำงานเพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบเหล่านี้ มีมาตรการตรวจสอบผลกระทบด้านคุณภาพอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือนระหว่างการก่อสร้าง และส่วนเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น โครงการก็จะมีการควยคุมพฤติกรรมของคนงานก่อสร้างอย่างเคร่งครัด จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้รัดกุม มีการติดตามตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่ และมีพื้นที่กระทบชุมชนและบุคคลหลายกลุ่ม ทำให้มีเสียงสะท้อนและข้อเสนอแนะหลากหลายต่อการก่อสร้างโครงการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยานี้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในการก่อสร้าง เพื่อให้ได้โครงการที่ดีที่สุดสำหรับแม่น้ำเจ้าพระยาที่เป็นสายน้ำแห่งชีวิตของคนไทยมายาวนาน





แหล่งอ้างอิง

http://www.cuurp.org/

https://www.facebook.com/ภาคีพัฒนาพื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยา-1420829104905638

https://dsignsomething.com

http://www.adaymagazine.com/articles/river-9

http://iad.bangkok.go.th


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์