รูปบทความ แค่ปรับ-ก็ห่างโรค ด้วยการออกแบบพื้นที่ห้องครัวและห้องรับประทานอาหาร

แค่ปรับ-ก็ห่างโรค ด้วยการออกแบบพื้นที่ห้องครัวและห้องรับประทานอาหาร


มาตรการ Social Distinction หรือการเว้นระยะทางสังคมประมาณ 1.50-2.00 เมตร คือมาตรการที่ทั่วโลกเริ่มนำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในปัจจุบัน และแน่นอนว่ามาตรการ Social Distinction ยังสามารถนำมาปรับใช้ภายในที่อยู่อาศัยของเราได้ด้วยเช่นกัน...โดยวันนี้ Esto ขอหยิบประเด็นของ Social Distinction มาเป็นโจทย์ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในห้องครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ก่อให้เกิดเชื้อโรคหรือไวรัสก็ตาม จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ตามพวกเราเข้ามาหาคำตอบพร้อมกันได้เลย



เว้นระยะห่างระหว่างพื้นที่ส่วนครัวและรับประทานอาหารออกจากกัน


โดยปกติทั่วไปของการออกแบบภายในระหว่างส่วนครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร จะถูกแบ่งแยกออกจากกันชัดเจนอยู่แล้ว จะห่างมากห่างน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแต่ละบ้านด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีระห่างอยู่ที่ประมาณ 1.20-2.00 เมตร แต่ในกรณีที่บ้านของเพื่อน ๆ มีพื้นที่จำกัด การแบ่งพื้นที่ทั้ง 2 ส่วนอาจก่อให้เกิดความลำบากไม่สะดวกในการใช้งาน เราเลยมีเทคนิคที่น่าสนใจ 3 ข้อ มาบอกต่อ


  1. จะรวมพื้นที่รับประทานอาหารกับส่วนครัวไว้ด้วยกันก็ได้ แต่ต้องจัดมุมของพื้นที่รับประทานอาหารให้ห่างจากเคาน์เตอร์ครัวที่ใช้วางเตา รวมไปถึงควรอยู่ให้ห่างจากซิงค์ล้างจาน เพื่อลดปัญหาการกระเด็นของสะเก็ดน้ำมัน หรือน้ำในซิงค์ล้างจาน
  2. ในกรณีที่พื้นที่แคบแนะนำให้เลือกใช้ชุดรับประทานอาหารแบบ 2-4 ที่นั่ง เพราะเป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้งานได้ทุกพื้นที่ และที่สำคัญยังทำความสะอาดง่าย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนได้สะดวก
  3. การเข้าใจขนาดของพื้นที่ส่วนครัว จะช่วยให้จัดวางชุดครัวได้อย่างพอดีและมีสัดส่วนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นควรเลือกและออกแบบชุดครัวให้เข้ากับพื้นที่ครัว เช่น พื้นที่ 6 ตร.ม. ขึ้นไป ควรจัดวางครัวเป็นรูปตัว L หรือ พื้นที่ 9 ตร.ม. ขึ้นไป ควรจัดวางครัวเป็นรูปตัว U


แยกสัดส่วนการใช้งานและอุปกรณ์ภายในห้องควรให้ดี


นอกจากการออกแบบชุดครัวให้ได้ขนาดเหมาะสมกับผู้ใช้งานแล้ว ซึ่งปกติความสูงของเคาน์เตอร์ครัวจะอยู่ที่ 1.5.-1.80 เซนติเมตร หรืออยู่ระหว่างเอวของผู้ใช้งาน โดยที่เคาน์เตอร์ครัวด้านล่างควรวเว้นระยะห่างจากเคาน์เตอร์เก็บของด้านบนประมาณ 0.50-0.80 เซนติเมตร และเทคนิคที่สำคัญพอ ๆ กับการกำหนดระยะและขนาดของเคาน์เตอร์ภายในห้องครัว คือการจัดวางตำแหน่งการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้เราหยิบจับและเก็บของได้เป็นระเบียบมากขึ้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย... 



  • ส่วนที่ 1 พื้นที่เก็บของทั้งของสดและของแห้ง บริเวณนี้จะมีตู้เย็น รวมถึงตู้และชั้นวางของ โดยควรแยกชนิดวัตถุดิบต่าง ๆ ออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อทำให้สามารถหยิบสิ่งของได้ง่ายขึ้น
  • ส่วนที่ 2 พื้นที่ล้างและทำความสะอาด ประกอบด้วยซิงค์ล้างจาน+ที่พักจาน บริเวณนี้ควรวางให้ใกล้กับตู้เย็น เนื่องจากเป็นพื้นที่สำหรับหยิบหรือเตรียมวัตถุดิบ เพื่อประกอบอาหาร แต่ควรแบ่งระยะให้ดี เพื่อป้องกันอันตราย
  • ส่วนที่ 3 พื้นที่ปรุงอาหาร ควรเว้นระยะบนเคาน์เตอร์ให้โล่ง โดยในส่วนนี้จะประกอบด้วยพื้นที่เตาประกอบอาหาร เครื่องดูดควัน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่ต้องนำอาหารสดมาผ่านกรรมวิธีการปรุงในแบบต่าง ๆ 


ในห้องครัวต้องทำความสะอาดให้ถูกหลัก


ปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่ภายในครัวเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี เพราะภายในพื้นที่ประกอบไปด้วยเศษอาหาร รวมไปถึงขยะสดและขยะแห้ง ซึ่งหากไม่รู้วิธีการจัดการกับเศษอาหารและคราบสกปรกเหล่านั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาการสะสมของเชื้อโรคตามมาในระยะยาว...ดังนั้น วิธีการทำความสะอาดที่ถูกหลัก และเทคนิคการฆ่าเชื้อโรคที่ได้ผลดีที่สุดมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี ซึ่ง Esto ได้รวบรวมมาไว้เพื่อเป็นไอเดียให้เพื่อน ๆ สามารถนำไปรับใช้กันได้ 



  1. วิธีที่ง่ายที่สุด คือการเคลียร์พื้นที่ภายในครัวให้โล่งพร้อมกับเปิดหน้าต่างระบายอากาศ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและถ่ายเทของลม จะช่วยให้พื้นที่ภายในปลอดโปร่ง ลดการสะสมของเชื้อโรค (แนะนำให้ติดพัดลมระบายอากาศก็ช่วยได้เช่นกัน)
  2. ทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าคงไม่พอ ถ้าจะให้ฆ่าเชื้อโรคได้อยู่หมัด ควรผสมน้ำเข้ากับแอลกอฮอล์ หรือ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเชื้อโรค เช่น Dettol โดยขัด-ถู ทั้งพื้น เคาน์เตอร์ครัวและจุดอับทั้งหมด
  3. แนะนำให้ติดต่อผู้เชี่ยวชาญสำหรับใช้สารเคมีที่มีประสิทธิภาพพ่นฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อย 3-6 เดือนต่อครั้ง ก็จะช่วยให้หมดความกังวลใจไปได้ในระยะยาว 


ขยะควรแยกให้ห่างจากส่วนครัวและพื้นที่รับประทานอาหาร


ขยะเป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่สุดเพราะนอกจากเป็นแหล่งก่อกำเนิดและสะสมเชื้อโรคแล้ว ยังส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์อีกด้วย ดังนั้นแยกขยะให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมภายในห้องครัว และทุกครั้งต้องมีการปิดผ้าขยะ หรือมัดปากถุงให้เรียบร้อยอยู่เสมอ...ซึ่งนอกจากวิธีข้างต้นที่อธิบายไป ยังมีอีก 2 วิธีที่จะช่วยให้ขยะกลายเป็นเรื่องเล็ก และช่วยให้เราใช้งานภายในห้องครัวได้อย่างสบายใจ



  1. ควรสร้างพื้นที่สำหรับเก็บถังขยะโดยเฉพาะ เช่น เว้นช่องว่างบริเวณเคาน์เตอร์ครัว และออกแบบให้เป็นบานเปิด-ปิด สำหรับการยกถังขยะเข้าออก ทำให้ป้องกันปัญหาได้เป็น 2 เท่าตัว
  2. นำถังขยะที่ได้มาตรฐานแบบมีฝาปิด จัดให้อยู่ในมุมใดมุมหนึ่งของห้องครัว หรือให้อยู่ใกล้กับซิงค์ล้างจานก็จะช่วยให้การทิ้งเศษขยะง่ายขึ้น 


ลองนำเทคนิคทั้งหมดในบทความนี้ที่พวกเรา Esto นำมาแชร์ ไปปรับใช้ภายในห้องครัวและห้องรับประทานอาหารของเพื่อนๆกันได้เลยนะครับซึ่งเราหวังว่าสถานการณ์เหล่านี้จะหมดไปโดยเร็วที่สุด และหวังว่าเพื่อนๆทุกคนจะดูแลรักษาตัวเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัยด้วยเช่นกัน


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์