รูปบทความ ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเปิดภาพรวมตลาดบ้านระดับราคาตั้งแต่ 10  ล้านขึ้น ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล

ไนท์แฟรงค์ประเทศไทยเปิดภาพรวมตลาดบ้านระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านขึ้น ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล




นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ในปีพ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีที่ค่อนข้างจะยากลำบากสำหรับตลาดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม นักพัฒนาโครงการต่างๆต่างหันมามองดูตลาดแนวราบประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และ ทาวเฮ้าส์ เนื่องจากตลาดดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงก ารที่อยู่อาศัย สถานการณ์ไวรัสโควิด ตลาดบ้านที่ระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปยังเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็กอุปทานที่เข้ามาในแต่ละปียังไม่มากนัก อย่างไรก็ดีอุปสงค์ในของบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ก็มีจำกัดเช่นกัน”


การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


จากการตรวจสอบพบว่าบ้านในระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป มีการอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินในแต่ละปีนับตั้งแต่ปี 2560 ถึงไตรมาส 3 ปี 2563 ในช่วงปีละมีการขอและได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตั้งแต่ 1,489 หลังจนถึง 2,669 หลัง โดยจำนวนใบอนุญาตจัดสรรในปี 2561 มีจำนวนสูงสุด คือ 2,669 หลัง ส่วนในระยะเวลา 9 เดือนของปีนี้พบว่ามีใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในกลุ่มบ้านที่มีระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป อยู่ที่ 1,170 หลัง


อุปสงค์ทำการวัดจากโครงการบ้านที่ยังเปิดขาย ณ ปัจจุบัน ณ เดือนกย. ปี 2563 พบว่าบ้านระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปที่เปิดขายใน ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 257 โครงการ มีจำนวน 17,933 หลัง และมีจำนวนที่ขายแล้วรวม 11,211 หลัง คิดเป็นอัตราการขายที่ร้อยละ 63 จากการศึกษาพบว่าจำนวนหน่วยขายเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 2558 จำนวนหน่วยขายบ้านที่ขายได้ในปี 2559 มีจำนวน 1,088 หลัง ยอดขายบ้านในปี 2561 และ 2562 มีจำนวนหน่วยขายได้ที่ประมาณ 2,500 หลังต่อปี ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนหน่วยขายได้ทั้งสิ้น 2,047 หลังและ คาดว่าในปี 2563 จำนวนหน่วยขายได้น่าจะมากกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย โดยคาดว่าจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ในปี 2563 น่าจะสูงกว่า 2,600 หลัง


หากจำแนกตามระดับราคาบ้านในโครงการที่เปิดขายอยู่ในปัจจุบันพบว่าบ้านที่มีระดับราคาขาย ระหว่าง 10-20 ล้านบาท มีจำนวนหน่วยขายสะสมสูงสุดอยู่ที่ 5,906 หลัง มีอัตราการขายอยู่ที่ร้อยละ 59 ของอุปทานรวม รองลงมาคือบ้านที่มีระดับราคาขายระหว่าง 21 – 30 ล้านบาท และ 31 -40 ล้านบาท มียอดขายรวมอยู่ที่ 2,290 หลัง และ 1,625 หลัง มีอัตราการขายอยู่ในอัตราร้อยละ 69 และ 67 ของอุปทานรวมตามลำดับ บ้านที่มีอัตราการขายที่สูงสุด คือ บ้านที่ราคาสูงกว่า 100 ล้านบาท มีอัตราการขายอยู่ที่ร้อยละ 78 เนื่องจากอุปทานที่มีอยู่จำกัด (มีเพียง 418 หลัง)


“สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยประเภทบ้านแนวราบยังมีความต้องการซื้อที่คงที่ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าตลาดคอนโดมิเนียมจะมียอดขายที่ลดลงอย่างมากก็ตาม ตลาดบ้านเป็นตลาดที่รองรับกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง นอกจากนี้กลุ่มผู้ซื้อบ้านอยู่อาศัยที่มีระดับราคาขายเกิน10 ล้านบาท เป็นกลุ่มผู้ซื้อที่ได้รับผลกระทบไม่มากจากการ ควบสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และจากสถานการณ์โควิด


นอกจากนี้การระบาดของโควิดที่อาจส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านมากกว่าคอนโดมิเนียมเพื่ อลดความเสี่ยงจากการสัมผัสกับคนหมู่มาก ประกอบกับโครงข่ายพัฒนารถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ๆซึ่งจะช่วยให้การเดินทางเข้าสู่กลางเมืองสะดวกขึ้นก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มอุปสงค์ของบ้านในกลุ่มนี้


“อย่างไรก็ดีการพัฒนาโครงการบ้านแนวราบโครงการใหม่ๆในอนาคต ผู้ประกอบการควรพิจารณาเงื่อนไขการใช้ชีวิตในบ้าน เช่น การแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน การเพิ่มพื้นที่สำหรับทำงานในบ้าน และอาจนำนวัตกรรมรูปแบบใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาบ้านให้เป็นที่ดึงดูดผู้ซื้ออีกด้วย”

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์