รูปบทความ สรุปประเด็น "รถไฟไทยจีน" ใครได้-เสียผลประโยชน์?

สรุปประเด็น "รถไฟไทยจีน" ใครได้-เสียผลประโยชน์?


"รถไฟไทย-จีน" เป็นอีกโครงการที่เร่งสั่งดำเนินการจากรัฐบาลที่น่าจับตามอง โดยเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกเป็นคำสั่ง คสช. ตามมาตร 44 เพื่อเร่งให้การดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย คือช่วง กรุงเทพฯ – นครราสีมา ระยะทาง 252.5 กม. แต่เริ่มทดลองสร้างที่ 3.5 กม. ก่อน 

ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนและเป็นที่วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง รวมไปถึงประชาชนอย่างเราเช่นกัน ซึ่งควรศึกษาและพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนว่า ใครได้ประโยชน์ และใครบ้างที่เสียผลประโยชน์ รวมไปถึง แนวโน้มการแก้ปัญหาผลกระทบว่ามีผลเสียมากกว่าหรือไม่ จากโครงการรถไฟไทย-จีน

สรุปประเด็น รถไฟไทย-จีน

เวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่ 7 ในหัวข้อ “รถไฟไทย-จีน: ใครได้ ใครเสีย” ได้รวบรวมความคิดเห็นจากนักวิชาการหลากสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง และพูดถึงประเด็นน่าศึกษา และผลกระทบจากโครงการรถไฟไทย-จีน ดังนี้

1. รายละเอียดของโครงการไม่ชัดเจน

- การผลักดันโครงการจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนสาระสำคัญอยู่ตลอดเวลา 

- ยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ ยุทธศาสตร์ในการ ที่ต้องดูภาพรวมในสายทางเดียวกัน 

- งบประมาณเราควรไปใช้อย่างอื่นด้วยหรือไม่

- การขนส่งสาธารณะพื้นฐานเรามีเพียงพอหรือไม่ เพราะเราต้องใช้ทุกวัน

- ต้องนั่งรถไฟความเร็วสูงไปต่อวินมอเตอร์ไซค์ หรือรถตู้หรือไม่

- ความเร็วจำเป็นไหม? นักวิชาการมองว่ารถไฟทางคู่นั้นมีความคุ้มค่ากว่า 

2. ต้องรู้เท่าทันจีน

- รัฐบาลและนักวิชาการต้องช่วยกันทำให้รู้เท่าทันจีน จำเป็นต้องมีรายละเอียดอย่างชัดเจน

- ระบบการปกครองเขาไม่เหมือนเรา

- นักกฎหมายจีนไม่น่าไว้ใจ เช่น จีนเคยทำสัญญาการค้ากับนานาชาติ ตกลงร่างสัญญาไว้ แต่พอเปลี่ยนตัวผู้นำก็บอกว่าสัญญาเปลี่ยนแล้ว

3. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่ต้องคำนึง

- การประเมินรายได้ของรถไฟความเร็วสูง กทม - โคราช นั้น จะคิดแค่นี้ หรือคิดทั้งระบบ

- โคราชเป็นแค่ปากทางที่เราจะไปที่อื่น จะทำอย่างไรต่อเพราะไม่มีระบบขนส่งอื่นรองรับ

- โคราชมีมอเตอร์เวย์ คนขับรถไปแน่นอน ถ้าเวลาต่างกันนิดเดียว

- โดยทางรัฐบาลต้องคิดว่าระบบที่จะทำต่อจากนี้เป็นอย่างไร

- รถไฟความเร็วสูงถ้าสร้างระยะสั้น จะมีต้นทุนสูงมาก ทำอย่างไรก็ไม่คุ้มทุนการก่อสร้างแน่นอน

- สู้กับเครื่องบินได้ไหม เพราะปัจจุบันแบบ Low Cost นั้นราคาถูกลงมาก

4. มาตรา 44 ทำให้ความโปร่งใส พิสูจน์ยาก

- ในคำสั่งมีการยกเว้นกฎหมายเต็มไปหมด เช่น  ยกเว้นกฎหมายความผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อรัฐ ในส่วนของที่เกี่ยวกับการจัดหาผู้ประกอบการ และการเสนอราคา

- ความไม่ชัดเจนในตัวบทกฎหมาย ก็เป็นปัญหาเช่นกัน ซึ่งในคำสั่งได้ระบุว่า ให้จีนมีส่วนร่วมใน 3 เรื่องคือ ออกแบบ ให้คำปรึกษา และควบคุมก่อสร้าง

- การควบคุมตรวจสอบไม่ได้ เนื่องจากกรณีใช้ ม.44 ที่ศาลมักจะระบุว่าเป็นที่สุดเด็ดขาดแล้ว


อ่านข่าวเพิ่มเติม : Bangkokbiznews

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์