รูปบทความ Universal Design เมื่อการออกแบบเกิดขึ้น เพื่อเธอ เขา และเราทุกคน

Universal Design เมื่อการออกแบบเกิดขึ้น เพื่อเธอ เขา และเราทุกคน

เมื่อชีวิตเมืองไม่ใช่เรื่องของคน 2 คน ที่มีฉันกับเธออยู่ด้วยกันในห้อง ๆ หนึ่งอีกต่อไป เพราะสังคมไทยในปัจจุบัน กำลังให้ความสำคัญกับสังคมผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ และสถาบันครอบครัวมากขึ้น นี่จึงเป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดคำว่า Universal Design ขึ้นมา



เมื่อเธอ ฉัน และเรา โคจรมาเจอกันที่ Universal Design 

หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ Universal Design กันมาบ้างแล้วหล่ะ แต่จะมีสักกี่คน ที่ได้โคจรมาเจอกัน ณ สถานที่แห่งนี้


...การออกแบบแบบ Universal Design ก็เป็นเหมือนการสร้างสถานที่พิเศษขึ้นมาเพื่อเราทุกคน โดยจะเน้นเรื่องประโยชน์ใช้สอยที่ตอบโจทย์ทุกคนในสังคมได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ผู้สูงวัย, เด็กเล็ก, ผู้ป่วย, ผู้พิการ จะมีสถานภาพแบบก็สามารถเข้าถึงสถานที่นี้ได้เหมือนกัน


โดยหลักการง่าย ๆ ของการออกแบบแบบ Universal Design จะมีอยู่ประมาณ 7 ข้อด้วยกัน เริ่มต้นด้วย...


  • Equitable Use : ความเท่าเทียมกันด้านการใช้งาน ของผู้ใช้ต่างวัยและต่างความสามารถ
  • Perceptible Information : ความเข้าใจกันในการสื่อความหมาย และเชิงสัญลักษณ์
  • Flexibility in Use : สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้
  • Low Physical Effort : ต้องไม่ใช้แรงมากเกินไป
  • Simple and Intuitive Use : ใช้งานง่าย และต้องสะดวก
  • Tolerance for Error : ต่อให้ใช้งานผิดพลาดก็ต้องทนทาน
  • Size and Space for Approach and Use : ออกแบบพื้นที่และขนาดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับทุกคน



และเมื่อความสุขก่อตัวขึ้นที่ Universal Design

...อะไรที่สิ่งที่เหมาะกับการใช้งานของคนทุกสถานะ...

...ขนาดเท่าไรที่เราจะสามารถอยู่ด้วยกันได้...

และพื้นที่แบบไหน ที่จะทำให้ Universal Design เกิดขึ้นจริง?


เพราะถ้ามัวแต่คิดว่า ต้องทำแบบนั้นสิ ควรดีไซน์อย่างนี้สิถึงจะดี แต่ถ้าไม่มีใครลงมือสร้างแบบจริงจัง Universal Design ก็คงไม่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้น แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าไรนัก วันนี้ ESTO เลยขอยกตัวอย่าง แนวทางการออกแบบภายในศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ เผื่อเราจะได้เห็น Universal Design เป็นภาพเดียวกัน



ค่อย ๆ ขึ้นลง 'บันได' นะ


  • สำหรับสถานที่สาธารณะ บันไดควรมีหน้ากว้างมากกว่า 150 ซม. และควรมีชานพักทุก ๆ ระยะ (ในแนวดิ่ง) ไม่เกิน 200 ซม.
  • ก้าวเดินอย่างปลอดภัย ลูกตั้งบันไดต้องไม่สูงเกิน 15 ซม. และไม่ควรเปิดช่องใดใดทั้งสิ้น เพราะอาจเกิดการสะดุดได้
  • ขณะเดียวกันลูกนอนก็ควรกว้าง 28 ซม. ขึ้นไป จะได้รองรับการวางเท้าได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งจมูกบันไดก็ควรออกแบบให้เรียบมน เพื่อป้องกันการชน หรือขีดข่วน




'ทางลาด' เส้นทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์

ปกติแล้ว เรามักจะเจอทางลาดอยู่ตามโรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการเสียส่วนใหญ่ จนบางครั้งก็อาจหลงลืมไป ว่าสถานที่สาธารณะ, ห้างสรรพสินค้า หรือที่พักอาศัย อย่าง คอนโดมิเนียม ก็ควรมีทางลาดที่ถูกต้องตามหลัก Universal Design เหมือนกัน



  • ตำแหน่งของทางลาดที่ดี ควรอยู่ใกล้กับบันได เพื่อความสะดวกสบาย ทั้งผู้ใช้รถเข็นและบุคคลทั่วไป
  • ลดการออกแรงสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อ โดยการออกแบบทางลาดให้มีความชันที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 5 องศา หรือมีความสูง : ความยาวไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 10
  • ส่วนระดับความชันนั้น ควรมีอัตราส่วนที่ 1 : 12 จะถือว่ากำลังดี
  • สำหรับความกว้างของทางลาดจะต้องกว้างกว่า 90 เซนติเมตร และต้องมีพื้นผิวที่เรียบ ไม่ลื่น
  • จะดียิ่งขึ้น...ถ้าทางลาดมีราวจับทั้งสองฝั่งร่วมด้วย พร้อมยกขอบ เพื่อป้องกันการลื่นไถลของล้อ
  • นอกจากนี้ทุก ๆ ระยะ 6 เมตร ควรทำชานพักไว้ช่วยคลายเหนื่อยด้วย




ให้ 'ห้องน้ำ' ช่วยปลดทุกข์เพื่อทุกคน

ถ้าถามว่าห้องไหนในบ้าน หรือคอนโดที่ควรออกแบบให้ 'ปลอดภัย' และ 'เท่าเทียม' มากที่สุด ห้องนั้นจะต้องเป็นห้องส่วนกลาง ที่ทุกคนเข้ามาใช้งานร่วมกันตลอดอย่าง ห้องน้ำเนี้ยแหล่ะ โดยขนาดห้องน้ำที่เหมาะสม ควรกว้างประมาณ 150 - 200 เซนติเมตร



  • พื้นห้องน้ำที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน จะต้องเรียบ ไม่ลื่น ไม่มีขั้นให้สะดุด ยิ่งครอบครัวไหนมีเด็ก หรือผู้สูงอายุ ยิ่งควรปรับพื้นต่างระดับให้เป็นทางลาด
  • ลูกบิดประตู ควรเลือกกลอนที่สามารถเปิดได้จากด้านนอกด้วย จะดีที่สุดสำหรับทุกคนในครอบครัว
  • ด้านโถสุขภัณฑ์ก็ต้องเลือกให้ดี แนะนำเป็นที่นั่งแบบห้อยขา และมีระดับที่พอดี สูงจากพื้นประมาณ 45 ซม. เพื่อการลุกนั่งที่สะดวก สำหรับที่ปล่อยน้ำอาจใช้เป็นก้านโยกด้านข้างหม้อเก็บน้ำ จะได้ใช้งานสะดวก
  • เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จแล้ว ที่ใส่กระดาษทิชชู่ก็ควรอยู่ใกล้มือ และสามารถใช้มือเดียวดึงใช้งานได้ ทันที นอกจากนี้เราอาจติดตั้งปุ่มกดฉุกเฉินเพิ่ม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงวัย ผู้ป่วย และเด็ก โดยตำแหน่งติดตั้งควรสูงจากพื้น 90 - 100 ซม. ในระยะเอื้อมถึงพอดี
  • อ่างล้างหน้า/ล้างมือ ถ้าจะให้ดีควรมีความสูงประมาณ 75 ซม. เพื่อรองรับการใช้งานของผู้นั่งเก้าอี้ล้อด้วย ส่วนก็อกน้ำก็ควรเป็นก้านโยก หรือก้านหมุนที่ใช้แรงในการเปิด-ปิดไม่มาก
  • โดยอาจเสริมราวจับ เพื่อช่วยในการพยุงตัว อาจติดตั้งไว้ข้าง ๆ โถชักโครก, อ่างล้างมือ หรือระหว่างทางไปยังประตูห้องน้ำ ในระดับความสูงจากพื้นประมาณ 80 - 90 ซม.
  • ที่ขาดไม่ได้ คือ กระจกส่องหน้า ที่เหมาะกับทั้งคนยืนและคนนั่ง ในระดับความสูงไม่เกิน 100 ซม.



ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงการออกแบบขั้นพื้นฐาน ที่หลายคน หลายหน่วยงานไม่ควรมองข้าม เพื่อความปลอดภัย เท่าเทียม และให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข...บนพื้นที่เดียวกันนั่นเอง :)




อ้างอิง : ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (อาคารสถาปัตยกรรมสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสังคม และสิ่งแวดล้อม)


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์