รูปบทความ Climate Change: น้ำกำลังหายไปและกลับมาอย่างผิดที่ผิดเวลา

Climate Change: น้ำกำลังหายไปและกลับมาอย่างผิดที่ผิดเวลา

ถ้าเศรษฐศาสตร์คือการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด เราจะต้องนำเศรษฐศาสตร์มาใช้กับน้ำจืดบนโลกอย่างเคร่งครัดและจริงจังที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะแม้ว่าส่วนประกอบของโลกส่วนใหญ่จะเป็นน้ำ แต่มันคือน้ำในมหาสมุทร ที่เค็มและไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ มีเพียง 3% ที่เป็นน้ำจืด ซ้ำว่าอีก 67.8 ส่วนของ 3% นั้นยังเป็นน้ำแข็งในแถบขั้วโลก สรุปคือเรามีน้ำจืดให้ใช่ได้จริงไม่ถึง 1% ของน้ำทั้งหมดบนโลกนี้


นอกจากปริมาณน้ำอันน้อยนิดที่สวนทางกับประชากรโลกแล้ว วันนี้ Esto จะพาทุกคนมาดูว่า Climate change ผลักดันให้น้ำเข้าสู่วิกฤตได้อย่างไรบ้าง


เมื่อเขาหายไปในอากาศ



เชื่อว่าทุกคนเข้าใจดีในเรื่องวัฎจักรของน้ำที่จะต้องระเหยกลับขึ้นสู่บรรยากาศกลายเป็นก้อนเมฆแล้วควบแน่นตกลงมาเป็นฝน กลับคืนสู่พื้นดินอีกครั้งวนเวียนไปแบบนั้น นั่นคือเรื่องปกติของน้ำบนโลกนี้ ซึ่งหากเรามีต้นกำเนิดของน้ำอย่างต้นไม้ที่ปล่อยความชื้นออกมาได้เยอะ การปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติก็ทำได้เยอะ และซึบซับบนพื้นได้เยอะเช่นเดียวกัน


แต่มนุษย์เข้ามาขวางปัจจัยนี้ เราลดปริมาณของสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดและดูดซับน้ำออกไปจากพื้นที่ในรัศมีที่กว้างขึ้น ทำให้แสงแดดสะท้อนกลับมากขึ้น ไม่มีสิ่งที่ดูดซับความร้อน และยังมีการสร้างก๊าซเรือนกระจกขึ้นมาขังความร้อนเอาไว้ ทำให้น้ำระเหยกลับขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้นๆ แต่ไม่มีการปล่อยลงมาในพื้นที่เดิม


เราจึงเห็นข่าวที่พูดถึงเรื่องภัยแล้งในที่หนึ่ง แต่เรากลับต้องเผชิญกับฝนที่ตกหนักทุกวัน ซึ่งในอนาคตเหตุการณ์นี้ก็มีแนวโน้มว่าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น


เมื่อเขากลับมากับพายุ



ความร้อนจาก Climate change ทำให้น้ำระเหยกลายเป็นความชื้นมากขึ้นและเร็วขึ้น ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเราจะประสบกับภัยแล้ว แต่เมื่อน้ำกลับคืนสู่พื้นดินก็จะมาในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน ทำให้จากลมฝนปกติที่เราเผชิญกันเปลี่ยนไป เป็นมีความรุนแรงมากขึ้นเพราะปริมาณที่กลับมามีเยอะกว่าที่เคย แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่เพิ่มความถี่ขึ้นแต่อย่างใด


กลายเป็นว่าเมื่อเขากลับมาน้ำก็จะมากเกินรับมือจนเกิดเป็นน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลากอย่างตั้งตัวไม่ทัน แม้ว่าเราจะมีการสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำส่วนนี้ไว้ใช้ แต่บางครั้งก็ยังไม่พอที่เก็บหรือน้ำไม่ได้กลับมาในตำแหน่งที่จะทำให้เราเก็บน้ำเอาไว้ได้ แต่ไปสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนแทน


มีการคาดการณ์ถึงความรุนแรงของเหล่าพายุและวิกฤตทางสภาพอากาศว่าเราจะต้องเผชิญกับการทำลายสถิติความรุนแรงของพายุไปอย่างต่อเนื่อง


เมื่อเขาเดินทางผ่านท้องทะเล



วิกฤติน้ำขาดน้ำเกินนี้จะไม่ได้เกิดเพียงแค่นั้น เมื่อธารน้ำแข็งขั้วโลกเริ่มเพิ่มปริมาณการละลายเพราะอากาศที่ร้อนมากขึ้นเรื่อย กระทั่งน้ำแข็งก้อนใหญ่ขนาดเท่ารัฐหนึ่งในอเมริกายังแตกออกได้ หมีขั้วโลกกับหมีกรีซลีก็มีพยานรักกันได้แล้ว ผลกระทบย่อมส่งกลับมาถึงเราอย่างแน่นอน


ทุกแผ่นดินบนโลกใบนี้เชื่อมต่อกันด้วยมหาสมุทรซึ่งเป็นส่วนของน้ำที่มากที่สุดในโลก การที่น้ำแข็งขั้วโลกละลายก็ย่อมกลับคืนสู่มหาสมุทร ด้วยปริมาณที่มากขึ้นทุกปีทำให้น้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นหรือที่เราเรียกกันว่าน้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งบรรดาประเทศที่ติดกับทะเลล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น


อย่างประเทศไทยเราก็มีเรื่องของปัญหาน้ำประปามีรสกร่อยเพราะน้ำเค็มเริ่มรุกรานพื้นที่น้ำจืดกันแล้ว หรือที่สิงคโปร์ ประเทศที่รอบด้านเชื่อมต่อกับทะเลก็มีกำหนดงบประมาณไว้ 72,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างกำแพงกั้นน้ำทะเลลักษณะเดียวกับประเทศเนเธอร์แลนด์ และสร้างอ่างเก็บน้ำจืดขนาดใหญ่ไว้ด้วย


ไม่เพียงเท่านั้นการละลายของน้ำแข็งเหล่านี้ยังทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มความเป็นกรดในน้ำทะเล ส่งผลกระทบต่อไปยังสิ่งมีชีวิตในเทพเล และยังทำให้พายุเพิ่มความรุนแรงได้อีกด้วย


ธรรมชาติมีความสัมพันธ์กันในทุกส่วน ดิน น้ำ อากาศ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาหน้าที่ของมันและมีวงจรที่สร้างเพื่อรองรับกันและกันอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการคัดสรรที่จะทำลายส่นที่สร้างความเสียหายและเกินความจำเป็นออกไปได้ด้วยตัวเอง เหมือนเป็นเงื่อนไขการอยู่ร่วมกันของโลกใบนี้ ดังนั้นสิ่งที่เราเผชิญกันอยู่จึงเรียกว่าเป็นการคัดสรรจากธรรมชาติ และสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นก็คือตัวเราเอง


บทความที่น่าสนใจ

ผลวิจัยเผย ปี 2050 กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำ?

เมื่อฉันต้องอยู่กับพวกเขา เหล่า PM 2.5 ในวันนี้ ควรทำอย่างไรดี?

เหนือ ใต้ ออก ตก (4 ทิศ) ในย่าน “จตุจักร” กับไลฟ์สไตล์ที่ Unique ไม่ซ้ำใคร

Wednesday win while work กับซีรีส์ที่ให้ข้อคิดเรื่องการทำงาน

จากแนวคิด Zero waste สู่ เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก ช่วยลดปัญหาขยะและมลพิษ

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์