รูปบทความ เคล็ดลับการออกแบบห้องครัว ให้ดูโปร่งในพื้นที่จำกัด

เคล็ดลับการออกแบบห้องครัว ให้ดูโปร่งในพื้นที่จำกัด

ห้องครัว เป็นอีกพื้นที่หนึ่งภายในที่อยู่อาศัยที่ถูกใช้งานบ่อยที่สุด ในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่ทุกคนต้องเก็บตัวอยู่ที่บ้าน ดังนั้นการออกแบบครัวที่ดีต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน วันนี้ Estopolis เลยอยากจะมาเผยเคล็ดลับการออกแบบห้องครัว ให้ดูโปร่งในพื้นที่จำกัด


รู้จักเลือกรูปแบบของชุดครัว


ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้จักเลือกรูปแบบชุดครัวให้เหมาะกับพื้นที่ใช้งานของเราก่อน เพราะชุดครัวแต่ละรูปแบบจะมีขนาดและความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป มีทั้งชุดครัวแบบสำเร็จรูปและชุดครัวแบบ Built-in ซึ่งต้องมีการคำนวณขนาดพื้นที่ให้ดี ไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานตามมาได้


ครัวแต่ละประเภท


  • I-Shape [3 ตร.ม.] : ชุดครัวรูปแบบแรกเหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดอย่างคอนโด, หอพัก และบ้านที่มีพื้นที่ครัวขนาดเล็ก ซึ่งรูปแบบจะเป็นการจัดวางชุดครัวขนานไปกับผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่งเพื่อให้เหลือพื้นที่ทางเดิน
  • L-Shape [6 ตร.ม.] : ชุดครัวรูปแบบนี้เหมาะกับห้องครัวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาหน่อย อาจจะเป็นคอนโดขนาดกลาง-ขนาดใหญ่ และโครงการบ้านที่มีห้องครัวกว้างขึ้น เพราะรูปแบบของชุดครัวจะเน้นการวางแบบเข้ามุม
  • U-Shape [9 ตร.ม.] : ชุดครัวรูปแบบนี้ต้องการพื้นที่ห้องครัวขนาดใหญ่ เพราะการจัดวางจะเต็มพื้นที่ในลักษณะโอบล้อมเต็มผนังทั้ง 3 ด้าน โดยจะเหลือพื้นที่ตรงกลางสำหรับเตรียมอาหารและทางเดิน
  • Island [12 ตร.ม.] : ชุดครัวรูปแบบนี้เน้นการจัดวางเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน นอกจากชุดครัวที่ติดกับผนังกำแพงในลักษณะ Shape ต่างๆแล้ว ยังมีการเพิ่ม Counter Bar ขึ้นมา สำหรับวางอาหาร หรือใช้นั่งรับประทานอาหาร




เฟอร์นิเจอร์ไม่ควรเยอะเกินไป


โดยปกติแล้วเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องครัวหลักๆจะประกอบไปด้วย ชุดครัว, เคาน์เตอร์ Island และเก้าบาร์ ส่วนใหญ่เฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดจะถูก Built-in ขึ้นมาให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ดังนั้นการจัดรูปแบบของการใช้งานจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ขึ้นตอนของการออกแบบแล้ว


การนำเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมจากเฟอร์นิเจอร์เดิม อาจจะทำให้เกิดความลำบากในการใช้งาน รวมไปถึงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้วการจัดวางฟังก์ชันที่ดีเองจะช่วยเสริมให้เราใช้งานอุปกรณ์ภายในครัวได้สะดวกขึ้น


โดยเฟอร์นิเจอร์ที่สอดคล้องในส่วนของการทำครัวจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนเก็บของ, ส่วนทำความสะอาด และส่วนปรุงอาหาร ซึ่งทำ 3 ส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่สามารถเชื่อมโยงการใช้งานถึงกันได้ดี หากมีการเลือกจัดเฟอร์นิเจอร์ให้ถูกและเท่าที่จำเป็น




เลือกใช้วัสดุให้เข้ากับพื้นที่โดยรวม


สำหรับการเลือกใช้วัสดุภายในครัว เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ครัวมองข้าม เพราะภายในห้องครัวจะมีควัน ความอื่นและปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่หากเลือกวัสดุผิดประเภท อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือบางกรณีอาจก่อให้เกิดอันตรายจากไฟไหม้ หรือน้ำรั่วซึมได้อีกด้วย


วัสดุที่ใช้งานภายในห้องครัว


  • ไม้สังเคราะห์ : เป็นวัสดุปิดผิวที่เลียบแบบไม้จากธรรมชาติ เช่น ลามิเนต, วิเนียร์ เป็นต้นฯ ซึ่งวัสดุเหล่านี้จะใช้ปิดผิวบริเวณหน้าบานตู้, ท็อปเคาน์เตอร์ครัว หรือบริเวณที่ห่างจากซิงค์ล้างจานเพื่อหลีกเลี่ยงความชื้น
  • หินสังเคราะห์ : มักจะถูกใช้งานบริเวณท็อปเคาน์เตอร์ เนื่องจากหินสังเคราะห์มีคุณสมบัติที่แข็งแรงคงทนสูง ป้องกันรอยขูดขีดได้ดี และไม่เป็นตัวพาหะลามไฟ นอกจากนั้นยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชื้น
  • กระเบื้องแกรนิตโต้ : อีกหนึ่งวัสดุที่ถูกใช้งานบริเวณท็อปเคาน์เตอร์ และยังสามารถใช้งานเป็นวัสดุปูพื้นได้ดี โดยคุณสมบัติของกระเบื้องแกรนิตโต้มีความแข็งแรงสูง และป้องกันความชื้นได้ดี ทำให้เมื่อสัมผัสจะไม้เกิดการลื่นหกล้ม
  • กระเบื้องเซรามิก : กระเบื้องประเภทนี้ถูกใช้งานในส่วนตกแต่งบริเวณผนังหลังเคาน์เตอร์ครัว รวมไปถึงใช้เป็นวัสดุปูพื้น โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความเงางามสวยงาม มีแบบให้เลือกหลากหลาย และที่สำคัญทำความสะอาดง่าย
  • กระจกพ่นสี : เป็นวัสดุที่ถูกใช้งานในบริเวณผนังหลังครัวโดยเฉพาะ เพราะเช็ดถูทำความสะอาดง่าย มีผิวสัมผัสสวยงามแปลกตา นอกจากนั้นยังทนต่อความชื้น ไม่เกิดการผุกร่อนง่ายเหมือนวัสดุอื่นๆ




ถ้าถามว่าการออกแบบในส่วนไหนของที่อยู่อาศัยมีรายละเอียดซับซ้อนมากที่สุด คงตอบได้ว่าห้องครัว เพราะนอกจากออกแบบให้สวยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย ความลงตัวของฟังก์ชันการใช้งาน และที่สำคัญที่สุดคือต้องปลอดภัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์