รูปบทความ วิกฤตอาหาร: ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ช่วยได้มากกว่าที่คุณรู้

วิกฤตอาหาร: ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ช่วยได้มากกว่าที่คุณรู้

เราอาจจะรู้สึกว่ารอบตัวมีอาหารมากมายให้เลือกซื้อได้ตลอดเวลา แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังได้ยินข่าวเรื่องการการขาดแคลนอาหารของผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไปอยู่ดี นั่นเป็นเพราะการเข้าถึงอาหาร ผลผลิตต่างๆ ยากมากขึ้นแล้วนั้นเอง โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาราคาอาหารทั่วโลกแพงมากขึ้นถึง 180 เปอร์เซ็นต์


เรามาดูกันดีกว่าว่าสถานการณ์ด้านอาหารดำเนินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เรากำลังจะก้าวไปสู่โลกที่เข้าถึงอาหารได้แบบไหน และสามารถช่วยเหลืออย่างไรได้บ้าง


สถานการณ์อาหารโลก

ภาพจาก UNCTAD แสดงพื้นที่ที่การผลิตอาหารโดยสีฟ้าคือปริมาณอาหารที่เพียงพอ สีส้มและสีแดงคือปริมาณอาหารที่ขาดแคลน

ในปี 2555 มีรายงานจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศว่า โลกของเรามีประชากรอยู่ทั้งหมด 7,000 ล้านคน แต่คนที่ได้ใช้ชีวิตตามมาตรฐานสุขอนามัยและคุณภาพการบริโภคอาหารที่ดีมีเพียงร้อยละ 14 ของทั้งหมดเท่านั้น ส่วนที่เหลือยังคงต้องเผชิญกับปัญหาสุขอนามัย สภาวะขาดแคลนอาหารอยู่

นอกจากนี้ยังมีรายงานจาก UN ว่าในปี 2562 ประชากรโลกจำนวนกว่า 821.6 ล้านคนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารซึ่งมากกว่าปี 2560 ที่มีเพียง 811.7 ล้านคน และตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาโดยตลอด แม้ว่า UN จะมีเป้าหมาย Zero Hunger ลดจำนวนผู้อดอยากให้เหลือ 0 ในปี 2030 แต่เมื่อที่หนึ่งได้รับการแก้ไข ก็มักมีที่อื่นๆ ขาดแคลนเพิ่มขึ้นใหม่เรื่อยๆ


สถานการณ์อาหารเรา



ในภูมิภาคเอเชียของเราที่ดูเหมือนว่าจะมีการสร้างผลผลิตทางการเกษตรมากมายแต่เรากลับเป็นภูมิภาคที่ไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อรับรองความต้องการในภูมิภาคเองได้ เรายังต้องพึ่งการนำเข้าจากทวีปอเมริกา ยุโรปและแอฟริกาอยู่ ซึ่งไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ราโบแบงก์และเทมาเส็ก ได้คาดการณ์ในรายงาน Asia Food Challenge ว่าภูมิภาคเอเชียกำลังเผชิญกับวิกฤติด้านอาหารและจำเป็นต้องลงทุน 8 แสนล้านดอลลาร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยการใช้จ่ายด้านอาหารจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าจาก 4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2562 เป็นกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2573


สาเหตุของวิกฤตอาหาร



มีประชากรมากเกินไป

เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องปัญหาประชากรเกิดน้อยลงและมีการให้สวัสดิการกบคุณแม่มากมายแต่ในความเป็นจริงนั่นเป็นปัญหาการขาดบุคลากรในอนาคตเพราะมีผู้สูงอายุอยู่ แต่ในด้านของปริมาณประชากรที่เพิ่มมากขึ้นสวนทางกับเหล่าทรัพยากรทั้งการสูญเสียพื้นที่ในการเพาะปลูกไปให้กับที่อยู่อาศัยและภาคอุตสาหกรรมให้ผลิตสินค้าต่างๆ ออกมารองรับ ทำให้การผลิตอาหารต้องน้อยลงไปตามลำดับทั้งที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและความต้องการอาหารก็เพิ่มขึ้น


การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

แน่นอนปัญหา Climate Change หรือสภาพอากาศแปรปรวนยังคงส่งผลมาถึงภาคการผลิตอาหารเพราะสภาพอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลผลิตทางการเกษตรอย่างมาก อย่างปีนี้ที่เรากังวลกันเรื่องน้ำแล้ง กระทบถึงชาวบ้านที่ไม่มีน้ำใช้ในชีวิตประจำวัน


ราคาของพลังงานเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ฟังดูเหมือนไม่เกี่ยวข้อง แต่เกี่ยวข้องอย่างมากเพราะผลตอบแทนยังเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการตัดสินใจจะลงแรงของเกษตรกร ดังนั้นเมื่อราคาค่าตอบแทนของการปลูกพืชเชื้อเพลิงให้มากกว่า จึงมีการปลูกพืชอาหารที่น้อยลง รวมถึงต้นทุนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยวและการขนส่งสูงมากขึ้น กำไรที่ได้ก็น้อยลง หากเทียบความคุ้มค่าแล้ว การปลูกพืชอาหารอาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีมากนัก


หากยังเป็นเช่นนี้ ในอนาคตเราจะ...



ในอนาคตความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพจะเพิ่มมากขึ้น แน่นอนจะประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นด้วย โดยในปี 2050 อาจจะมีมากถึง 10,000 ล้านคนเลยทีเดียว


หากยังไม่มีการลงทุนและแก้ปัญหาด้านผลิตอาหารเราอาจจะเจอปญหาหนักเช่นเรื่องสงคราม ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เราจะเผชิญกับค่าอาหารที่แพงมากขึ้น การเข้าถึงอาหารจะยากและมีข้อจำกัดมากขึ้น แต่สำหรับไทยที่อยู่ในแถบเอเชียใต้และเป็นผู้ส่งออกอาหาร ปัญหาเรื่องนี้อาจจะได้เจอช้าหน่อย ไม่รุนแรงเท่าจีน หรือประเทศอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอได้


วิธีช่วยด้วยสองมือของเรา



ลดการบริโภคเนื้อ

การผลิตเนื้อ โดยเฉพาะเนื้อวัว นอกจากจะเป็นการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ให้โลกแล้ว 1 ใน 3 ของพื้นที่ที่ใช้ทำเกษตรกรรมยังกลายเป็นพื้นที่ที่เอาไว้สำหรับปลูกอาหารให้กับสัตว์ด้วย ซึ่งนับเป็นการเสียพื้นที่ในการสร้างผลผลิตที่จะกลายเป็นอาหารโลกอย่างมาก เพราะโลกมีพื้นที่จำกัด นอกจากพื้นที่การเกษตรที่เราต้องการเพิ่มมากขึ้นแล้ว อย่าลืมว่าเรายังต้องการพื้นที่รองรับประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและพื้นที่ป่าไม้ที่ควรปลูกเพื่อช่วยโลกให้เหมาะกับการอยู่อาศัยของเราด้วย


ลดการบริโภคอาหารต่างถิ่น

การบริโภคอาหารต่างถิ่นเป็นการเพิ่มต้นทุนด้านการขนส่ง ไม่เพียงเท่านั้นยังมีส่วนของอาหารที่ต้องเสียไประหว่างการขนส่งด้วย กลายเป็นการสูญเสียโดยไม่จำเป็นไปนั่นเอง


ลดปริมาณอาหารเหลือ

ผลผลิตอาหารที่ผลิตออกมานั้น เหลือมาอยู่บนจานของเราเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เหลือถูกทิ้งทั้งหมดซึ่งรวมแล้วเป็นปริมาณกว่า 1.3 พันล้านตันต่อปี ซึ่งปริมาณนี้หากมีการจัดการอย่างถูกวิธีแล้ว เราสามารถใช้ลดปริมาณการขาดแคลนอาหารได้ทั่วโลกเลยทีเดียว


แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผลผลิตด้านอาหารเหลือเฟือและเป็นผู้ส่งออก แต่ยังมีอีกหลายประเทศยังขาดแคลนอาหาร ไม่สามารถผลิตเองได้ ทำให้ค่าอาหารโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและจะกระทบกลับมาถึงเราอย่างแน่นอน


ที่มา

news.un.org

ditp.go.th


บทความที่น่าสนใจ

WHAT IS FOOD WASTE ?

เปลี่ยนโลกให้น่าอยู่กับเทรนด์ Zero Waste เซ็ตขยะบนโลกให้กลายเป็น 0

สะสมมากว่า 100 ปีกับปัจจัยหลักที่ทำให้โลกฟื้นตัวได้ยาก

จุดเริ่มต้นของ Climate Change เรามาถึงจุดนี้กันได้อย่างไร

อิ่มที่เรา คลีนที่โลก กับบริการ Healthy Food Delivery ไอเดียดี “Indy Dish”


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์