รูปบทความ กระจกกันเสียงดีหรือไม่ ติดแบบไหนดี ทางออกของผู้มีคอนโดติดถนน

กระจกกันเสียงดีหรือไม่ ติดแบบไหนดี ทางออกของผู้มีคอนโดติดถนน

ในบทความก่อนหน้านี้เราได้รู้จักวัสดุผนังที่เรียกว่าผนังกั้นเสียงกันไปแล้ว ซึ่งไอ้ผนังกันเสียงเนี่ยมันจะช่วยป้องกันเสียงจากห้องข้าง ๆ เสียมากกว่า ส่วนใครที่อยู่คอนโดติดทางด่วน หรือถนนใหญ่ ผนังด้านที่หันเข้าหาถนนจะเป็นกระจก ซึ่งการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก็จะต้องมาแก้ไขกันที่กระจกครับ 


กระจกส่วนใหญ่ที่คอนโดติดมาให้ มักจะเป็นเท็มเปอร์กลาส หรือกระจกนิรภัยทั่วไป ซึ่งไม่ได้ช่วยกันเสียงเท่าไร แม้ว่าคอนโดของเราจะอยู่ติดถนน ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่ากระจกกันเสียงคืออะไร 


หากใครเคยเข้าไปห้องอัดเสียง หรือห้องประชุมที่เก็บเสียงได้ดี สังเกตดี ๆ กระจกจะถูกติดตั้งไว้ 2 ชั้นครับ โดยหลักการแล้วเสียง ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่น เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางต่างชนิด ความเข้มของเสียงก็จะลดลง ดังนั้น ห้องอัดเสียงจึงถูกสร้างเป็นห้องที่ตั้งอยู่ในห้องอีกที  ดังนั้นกระจกกันเสียงจึงมีลักษณะเป็นประจกสองชั้น 


ค่า STC กับการกันเสียงของกระจก

ค่า STC คืออะไร 

ค่า STC ย่อมาจาก Sound Transmission Class เป็นค่าความสามารถในการกันเสียง ยิ่งค่ามากก็จะยิ่งกันเสียงได้ดีครับ ซึ่งค่านี้จะเป็นค่าที่พูดกันประจำเมื่อมีการกล่าวถึงกระจกกันเสียงประเภทต่าง ๆ  ห้องใครที่มีเสียงรบกวนภายนอกดัง ๆ ก็ควรเลือกกระจกที่มีค่า STC สูง ๆ เข้าไว้นะครับ 


1. กระจกทั่วไป หรือกระจกชั้นเดียว

สำหรับกระจกทั่วไป หรือกระจกชั้นเดียว ค่า STC จะขึ้นอยู่กับความหนา เช่น กระจกหนา 6 มม. มีค่า STC 31 กระจกหนา 12 มม. มีค่า STC 34 ซึ่งกระจกชั้นเดียวไม่ค่อยจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการกันเสียงนัก กระจกเหล่านี้มีเนื้อหลายแบบครับ เอาไว้ประกอบเป็นกระจกสำหรับกันเสียงได้  อย่างในภาพจะแสดงการแตก กระจกธรรมดาจะแตกเป็นแผ่นใหญ่แหลมคม อาจจะเกิดอันตรายได้   คอนโดที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยจึงติดตั้งเป็น Tempered glass ซึ่งเวลาแตกจะแตกเป็นเม็ด ๆ ทำให้ไม่อันตราย 


Insulated Glass กระจกอินซูเลท กันเสียง


Insulated Glass กระจกอินซูเลท กันเสียง

2. กระจกกันเสียงอินซูเลท หรือกระจกสองชั้น

เท็คนิคนี้คือการติดกระจกสองตัว โดยตรงกลางเว้นเป็นช่องอากาศครับ ยิ่งกระจกหนาขึ้น หรือช่องอากาศกว้างขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ค่า STC หรือความสามารถของกระจกในการกันเสียงสูงขึ้นครับ  ส่วนใหญ่เวลาติดตั้งหากต้องการกันเสียงได้เยอะ ๆ ก็จะติดเป็นกระจกหนา 6 มม.สองตัว และเว้นช่องอากาศที่ 4 นิ้ว ซึ่งค่อนข้างกินพื้นที่ทีเดียว 


กระจกลามิเนต กันเสียง

กระจกลามิเนต กันเสียง

3. กระจกกันเสียงลามิเนต

จะคล้ายกับกระจกอินซูเลทตรงที่ประกอบขึ้นจากกระจก 2 บานเช่นกัน แต่ตรงกลางจะไม่ใช่อากาศแต่จะเป็นฟิล์มแทน ทำให้พื้นที่ในการติดตั้งกระจกลดลงครับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ในการติดตั้งแล้ว กระจกลามิเนตจึงกันเสียงได้ดีที่สุด  โดยฟิล์มที่ใช้เป็นใส้จะมี 3 ตัวหลัก ๆ คือ 


1.  PVB (polyvinyl butyral)

ฟิล์มตัวนี้นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีความปลอดภัยมากที่สุด สามารถยึดผิวกระจกได้ดีเยี่ยม มีความใส และราคาไม่สูงมาก 


2. SentryGlas

ฟิล์มตัวนี้เป็นตัวต่อยอดจาก PVB ครับ คุณสมบัติด้านความใส และการยึดเกาะดีเหมือน PVB แต่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก อุณหภูมิ และความชื้นเข้ามาด้วยครับ 


3. EVA (Ethylene-vinyl acetate) 

ฟิล์มตัวนี้ทำขึ้นมาเพื่อเชื่อมกับวัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กระจกอย่างเดียว เช่น ผงโซล่าเซล การยึดเกาะ หรือความแข็งแรงจึงไม่ได้ดีมาก ไม่นิยมนำมาใช้กับโครงสร้างอาคาร หรือรถยนต์ ซึ่งต้องการความปลอดภัยครับ 


กระจกกันเสียง

นอกจากนี้ในเรื่องของการติดตั้ง อาจมีการผสมกันระหว่างกระจกลามิเนตและอินซูเลทเพื่อประสิทธิภาพในการกันเสียงที่ดียึ่งขึ้นได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ในเรื่องของการติดตั้งควรปรึกษาช่าง หรือผู้รับเหมาที่เชียวชาญอีกทีครับ 






สำหรับราคากระจกแบบต่าง ๆ 

1. กระจก TEMPERED GLASS 

ความหนา 6 มม.ประมาณตร.ม.ละ 1000 บาท 

ความหนา 10 มม. ประมาณตร.ม.ละ 2000 บาท 


2. กระจกลามิเนต

ราคาตั้งแต่ 1,200 - 1,500 บาท ต่อ ตร.ม. ขึ้นอยู่กับความหนาของกระจก


3. กระจกอินซูเลต

ราคาตั้งแต่ 2,000 - 2,500 ขึ้นอยู่กับ ความหนาของกระจก และขนาดของช่องว่าง 



กระจกกันเสียง

สุดท้าย สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้คือเรื่องของการติดตั้งครับ การล็อคต้องแน่นหนาและมีการซีลขอบบานที่ดีจึงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันเสียงได้





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.scgbuildingmaterials.com

http://www.vignet.co.th/

http://www.glassquik.net/

zen_ar218 จาก Pantip

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์