รูปบทความ ปล่อยเช่าคอนโดระวังโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

ESTOPOLIS | ปล่อยเช่าคอนโดระวังโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

การลงทุนอสังหาเปรียบได้กับการดองปลาร้า ยิ่งดองข้ามปียิ่งอร่อย อสังหาก็เช่นเดียวกัน ยิ่งถือครองไว้นานกำไรยิ่งเพิ่มสูงขึ้น

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะมองไปที่ใดก็จะเห็นที่พักอาศัยแนวดิ่งหรือคอนโดมิเนียมผุดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด เพิ่มโอกาสให้นักลงทุนเลือกเด็ดตามอัธยาศัย เพราะนี่เป็นโอกาสครั้งสำคัญในการที่จะสร้างความมั่นคง มั่งคั่งให้กับชีวิตและครอบครัวในอนาคต อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า“การลงทุนอสังหาเปรียบได้กับการดองปลาร้า ยิ่งดองข้ามปียิ่งอร่อย อสังหาก็เช่นเดียวกัน ยิ่งถือครองไว้นานกำไรยิ่งเพิ่มสูงขึ้น”อีกทั้งระยะเวลาที่กำลังถือครองก็สามารถนำมาปล่อยเช่าสร้างรายได้ได้อีกทาง ทุกวันนี้คนรอบตุวคุณหลายๆ คนจึงเริ่มซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่ากันมากขึ้น

แต่.. รู้หรือไม่ว่า ปล่อยเช่าคอนโดก็ต้องเสียภาษีเพิ่มนะจ๊ะ

นี่จึงเป็นคำถามที่พบบ่อยจากผู้ที่ทำธุรกิจให้เช่า ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ทาวน์เฮาส์ คอนโด และอื่นๆ ว่า รายได้จากการปล่อยเช่าคอนโดต้องนำมาเสียภาษีไหม ? ซึ่งคำตอบมันก็อยู่ในคำถามนั่นแล้ว เพราะถ้าคุณมี รายได้ เท่ากับว่า ต้องเสียภาษี ถึงแม้ไม่ได้ทำสัญญารับเงินเข้าระบบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือใบเสร็จรับเงินใดๆ ก็ตาม แต่คุณคิดว่าจะรอดพ้นสายตาเหยี่ยวของกรมสรรพากรได้ตลอดไปจริงๆ หรือ ?

เนื่องจากมีกรณีหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น โดยสรรพากรทำทีว่าเป็นลูกค้าต้องการหาคอนโดให้เช่า จึงได้โทรสอบถามตามป้ายประกาศที่ติดไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อสอบถามข้อมูลกับทางผู้ให้เช่า ทำให้ผู้เช่าที่พยายามหลบเลี่ยงภาษีต้องจ่ายย้อนหลังจนหน้ามืดเลยทีเดียว

ในเมื่อกฎหมายเขาได้ระบุไว้แล้วว่า มีรายได้ = เสียภาษี ไม่ว่ารายได้นั้นจะอยู่ในประเภทใดก็ตาม ก็ต้องนำมาคำนวณภาษีกันด้วยนะ ซึ่งรายได้จากการปล่อยเช่าคอนโดที่ทุกคนต้องเสียภาษีมีหลักๆ อยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ ภาษีโรงเรือน และ ภาษีเงินได้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันที่ตัวแรกกันเลยดีกว่า


ภาษีโรงเรือน

เจ้าของกรรมสิทธิ์ (ผู้ให้เช่า) ต้องเสียภาษีในอัตรา 12.5% ของรายได้ค่าเช่า (คิดง่ายๆ ก็จะเป็นค่าเช่าประมาณหนึ่งเดือนครึ่งนั่นเอง) หากต้องการที่จะลดภาษีโรงเรือนลงไปอีก ให้ผู้ให้เช่าแยกค่าใช้จ่ายในส่วนค่าเช่าและค่าเฟอร์นิเจอร์ออกจากกันตั้งแต่ตอนทำสัญญา เพราะภาษีโรงเรือนจะคำนวณเฉพาะส่วนที่เป็นค่าเช่าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ทั้งยังสามารถผ่อนชำระภาษีโรงเรือนได้อีก 3 งวดได้อีกด้วย (ต้องมีค่าภาษีไม่ต่ำกว่า 9,000 บาท) โดยยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอผ่อนชำระต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการแจ้งประเมิน


สามารถยื่นภาษีโรงเรือนได้ที่สำนักงานเขตที่คอนโดตั้งอยู่ โดยการยื่นให้ยื่นเป็นรายปี (ต้องยื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี)


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ในส่วนของภาษีที่ใครๆ ไม่อยากจะเสีย พร้อมเบะปากมองบนในส่วนลึกของใจ นั่นก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เจ้าเดิม เพิ่มเติมพร้อมบวกตลอด ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณ 2 แบบด้วยกัน ได้แก่ เงินได้สุทธิ และ เงินได้พึงประเมิน


1. วิธีเงินได้สุทธิ

การคำนวณเงินได้สุทธิ จะคำนวณจากรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ได้แก่ รายได้จากค่าเช่าและค่าเฟอร์นิเจอร์รวมกัน และนำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามสูตร

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

ซึ่งการปล่อยเช่าคอนโดสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี

1) โปรเหมาๆ (วิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา) กรณีเป็นเจ้าของคอนโดให้เช่าสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของรายได้

2) โปรใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น (วิธีหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร) เหมาะสำหรับผู้เตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยและคิดว่าค่าใช้จ่ายมากกว่า 30% ของรายได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถนำภาษีโรงเรือนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้้

สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้สุทธิสามารถเลือกได้ว่าในแต่ละปีต้องการให้หักค่าใช้จ่ายแบบใด เช่น ปีนี้เพิ่งซื้อคอนโดใหม่ให้หักตามความเป็นจริง ปีหน้าขอเป็นแบบเหมาล่ะกัน หรือจะคำนวณก่อนก็ได้ว่าวิธีไหนประหยัดภาษีได้มากกว่ากัน



2. วิธีเงินได้พึงประเมิน

วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้จากการให้เช่าคอนโด และรายได้จากช่องทางอื่นๆ รวมกันแล้วมีมากกว่า 1 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น โดยมีสูตรคำนวณง่ายๆ

รายได้ค่าเช่าทั้งหมด x 0.5

ลังจากที่ได้ลองบวกลบคูณหารตาม 2 วิธีแล้ว ให้เลือกวิธีที่ได้ภาษีมากกว่า แล้วนำมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเลือกใช้วิธีการคำนวณภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชั่นก็ตามสะดวก สามารถยื่นภาษีได้ที่สำนักสรรพกรพื้นที่สาขา หรือท่านใดที่ไม่ค่อยมีเวลาก็ยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกัน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (มกราคม-มิถุนายน) รายได้จากค่าเช่าคอนโดจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 5 ซึ่งผู้มีรายได้ต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 94) ภายในเดือนกันยายนของทุกปี

าษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี (มกราคม-ธันวาคม) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90) ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ไม่ว่าคุณจะมีรายได้จากช่องทางใดก็ตาม Estopolis อยากจะขอให้ทุกท่านอย่าพยายามหาช่องทางเลี่ยงภาษีเลย ไม่ว่ายังไงพี่กรมสรรพากรเขารู้ทันอยู่แล้ว ยิ่งหลบก็เหมือนกับการจุดฉนวนระเบิดเวลานับถอยหลัง ที่ไม่มีทางรู้เลยว่าจะโป๊ะแตกตอนไหน ถ้าหากโดนจับได้ขึ้นมาเตรียมเงินสำหรับค่าปรับย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ยได้เลย เพราะการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน เงินที่เสียไปก็คือสวัสดิการต่างๆ ที่เราจะได้รับกลับมานั่นเอง ขอขอบคุณข้อมูล กรมสรรพากร

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์