รูปบทความ ผนังกันเสียง ตัวช่วยเสียงรบกวนของชาวคอนโด

ผนังกันเสียง ตัวช่วยเสียงรบกวนของชาวคอนโด

สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับการอยู่อาศัยภายในคอนโดด้วย 'ผนังกันเสียง' หรือที่เราเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า 'ผนังกั้นเสียง' ตัวช่วยที่ทำให้เราชาวคอนโดหลีกหนีจากเสียงรบกวนได้อย่างไม่น่าเชื่อ!!!

ผนังกันเสียง ผนังกั้นเสียง

สำหรับใครที่อยู่คอนโดแล้วต้องเผชิญหน้ากับเสียงรบกวนของทั้งเพื่อนบ้าน งานช่าง รวมไปถึงเลือกซื้อห้องผิดไปติดอยู่ใกล้กับลิฟต์หรือพื้นที่ส่วนกลางซึ่งเสียงดัง วันนี้ ESTO ของเรามีทางออกที่จะช่วยสร้างความสงบให้กับการอยู่คอนโดมากขึ้นด้วยการติดตั้ง 'ผนังกันเสียง' ซึ่งเป็นผนังเก็บเสียงรูปแบบหนึ่งที่ช่วยดูดซับเสียงดังรอบข้าง รวมถึงป้องกันเสียงจากในห้องดังออกไปภายนอกได้ด้วย


ทำความรู้จัก 'ผนังกันเสียง' ตัวช่วยกั้นเสียงสำหรับคอนโด

หลีกหนีความวุ่นวายได้ง่ายๆ ด้วยการติดอุปกรณ์ผนังกันเสียง ฉนวนดูดซับเสียงที่แก้ปัญหาได้ทั้งเสียงสะท้อนและเสียงดังรบกวน ซึ่งโดยปกติแล้วเราจะเข้าใจผิดว่าเสียงรบกวนที่ได้ยินนั้นดังทะลุประตูเข้ามา หลายคนถึงกับเปลี่ยนประตูใหม่หรือแปะแผ่นซับเสียงไว้แต่ก็ไม่ช่วยอะไร เพราะจริงๆ แล้วการได้ยินเสียงรบกวนต่างๆ นั้นจะดังมาตามรอยรั่วของประตูห้องจึงจำเป็นที่เราต้องทำผนังให้หนาขึ้นเพื่ออุดรอยรั่วเหล่านั้นนั่นเอง 


สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่ออยากติดตั้ง 'ผนังกันเสียง'  

ผนังกันเสียง ผนังกั้นเสียง2

สำหรับ การติดตั้งผนังกันเสียง หรือผนังกั้นเสียง สิ่งแรกที่ต้องคำนึงก่อนการติดตั้งเลยก็คือการเลือก ผนังกันเสียงที่มีคุณสมัติเก็บเสียงได้ดีก่อน โดยคุณสมบัติที่จะช่วยทำให้เรารู้สึกว่าคุ้มค่าในการติดตั้งระบบกันเสียงเหล่านี้ จะมีด้วยกัน 3 คุณสมบัติ ได้แก่

  • เป็นระบบผนังกันเสียงที่ช่วยทำให้เสียงภายในไม่ออกไปข้างนอก
  • เป็นระบบผนังกันเสียงที่ช่วยทำให้เสียงภายนอกไม่เข้ามาข้างใน
  • เป็นระบบผนังกันเสียงที่ช่วยทำให้เสียงไม่เกิดการก้องสะท้อนไปมาภายในห้อง

ซึ่งการจะติดตั้งผนังกันเสียง หรือผนังกั้นเสียงให้ได้ผลนั้นจะต้องรู้จักค่าการดูดซับเสียง NRC (Noise Reduction Coefficient) ซึ่งเป็นค่าที่ช่วยทำให้เสียงเบาลงหลังจากใช้ผนังกันเสียงมาติดตั้ง รวมถึงค่า SAC (Sound Absorption Coefficient) เป็นค่าที่ทำให้เราประเมินได้ว่าวัสดุนั้นมีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานเสียงได้ดีแค่ไหน ยกตัวอย่างวัสดุที่เราสามารถใช้เป็นแผ่นกันเสียงได้ มีดังต่อไปนี้

การติดตั้งผนังกันเสียง หรือผนังกั้นเสียง

ที่มา: https://www.noisecontrol.company


ตรวจสอบที่มาของเสียงก่อนทำการติดตั้ง 'ผนังกันเสียง'

อย่างที่บอกไปแล้วว่า เสียงรบกวนที่เราได้ยินนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากช่องว่างและรอยรั่วต่างๆ ของโครงสร้าง ผนัง หรืออาจจะมีบางส่วนเล็ดลอดจากหน้าต่างและประตู ดังนั้น ก่อนจะทำผนังกันเสียง เราก็ควรจะหาที่มาของเสียงรบกวนทั้งหมดให้เจอซะก่อน ไม่อย่างนั้นผนังกันเสียงอาจจะไม่ได้กั้นเสียงได้ดีอย่างที่เราคิด เพราะการติดตั้งที่ผิดจุดก็เป็นได้

วิธีตรวจสอบหาเสียงรบกวนก่อนทำผนังกันเสียง

ก่อนการทำผนังกันเสียงแนะนำให้ปิดประตูและหน้าต่าง รวมถึงปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดเสียง แล้วให้มายืนอยู่กลางห้อง แล้วฟังดูว่ามีเสียงรบกวนเข้ามาจากทิศทางไหนบ้าง ซึ่งจุดที่สามารถมีเสียงเล็ดลอดเข้ามาจะมีประมาณ 4 ตำแหน่งที่ควรทำผนังกันเสียงหรือเพิ่มวัสดุกันเสียงชนิดอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  • ประตู-หน้าต่าง : อาจจะแก้ไขเสียงรบกวนได้ด้วยการยาแนวกันเสียงด้วยคิ้วใต้ประตู หรือยาแนวบริเวณกรอบหน้าต่าง เป็นต้น
  • ปลั๊กไฟ : เป็นอีกจุดที่เสียงรบกวนจะเล็ดลอดเข้ามาได้หากมีรอยท่อที่ตรงกันกับห้องอื่น โดยเราอาจจะแก้ไขได้ด้วยการซีลรอบปลั๊กไฟด้วยอะคูสติคซีลแลนท์หรือการกรุผนังทับลงไป แต่วิธีที่ง่ายกว่านั้นอาจจะย้ายตำแหน่งปลั๊กไฟในห้องใหม่
  • โครงสร้างอาคาร : หากเสียงรบกวนเกิดขึ้นจากในส่วนนี้จะเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก อาจจะต้องใช้วิธีการพูดคุยเพื่อให้ข้างห้องติดตั้งผนังกันเสียง ปูพรมหรือแผ่นยางเพิ่มเติมแทน
  • ผนัง : สำหรับเสียงรบกวนที่เกิดจากผนังไม่ดี แก้ง่ายๆ ด้วยการติดตั้งระบบผนังกันเสียง เช่น แผ่นยิปซัม ฉนวนกันเสียง แผ่นซับเสียง เป็นต้น ร่วมกับโครงสร้างของผนังเดิมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ผนังสามารถกั้นเสียงได้ดียิ่งขึ้น


แล้วเราจะติดผนังกันเสียงแบบไหนดี?

จริงๆ แล้วผนังกันเสียงสามารถทำจากวัสดุได้หลากหลายประเภทขอแค่มีความหนามากพอที่จะแก้ปัญหาเสียงดังภายในอาคารได้ แต่สำหรับคอนโดส่วนใหญ่แล้วก็มักจะใช้ฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียง ที่มีความหนาไม่เกิน 50-100 mm. ก็สามารถป้องกันเสียงรบกวนได้เพียงพอแล้ว ซึ่งเราจะติดตั้งฉนวนกันเสียงหรือแผ่นซับเสียงเพิ่มที่ผนังหรือฝ้าเพดาน โดยเราสามารถขอคำแนะนำในการติดตั้งจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางเลือกในการติดตั้งได้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้วิธีป้องกันเสียงรบกวนจากข้างห้องยังมีอีกหลายวิธีแต่วัสดุอุปกรณ์เหล่านี้อาจจะช่วยผ่อนจากหนักเป็นเบาสำหรับปัญหาที่ชาวคอนโดต้องประสบพบเจอ ผนังกันเสียงอาจช่วยสำหรับระดับเสียงในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญของการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา แต่ ESTO เราขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้ด้านผนังกันเสียง แผ่นซับเสียง หรืออื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาให้ห้องเราได้อย่างตรงตามที่เราเดือดร้อนจะดีกว่า



บทความที่เกี่ยวข้อง :


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์