รูปบทความ วิเคราะห์ 'รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน' เปิดใหม่ อนาคตความศิวิไลซ์ของฝั่งธนฯ

กว่า 9 ปีที่รอคอยกับ 'รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่' อนาคตแห่งความศิวิไลซ์ของฝั่งธนฯ

เตรียมตัวต้อนรับ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เปิดใหม่ เดือนกันยายน 2562 นี้ได้ใช้แน่


ถือเป็นการรอคอยที่ยาวนานเลยทีเดียวกับ 'รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย' ที่ทำให้ชาวฝั่งธนบุรีเผชิญหน้ากับรถติดมาแล้วกว่า 9 ปี แต่ในปี 2562 นี้มีข่าวดีที่จะได้เริ่มใช้งานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยจะเปิดให้ใช้บริการเต็มรูปแบบภายในเดือนกันยายน และจะเปิดให้ทดลองใช้บริการกันก่อนในเดือนเมษายนที่จะมาถึง ซึ่งความคืบหน้านี้จะนำพาอะไรมาสู่ทำเลต่างๆ ที่รถไฟฟ้าสายนี้วิ่งผ่านบ้าง Estopolis จะขอพาไปดูพร้อมๆ กัน


การเปลี่ยนแปลงเมื่อมีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 
สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ก่อนจะพูดถึงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่จะเปิดใหม่ เราจะขอย้อนรอยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดิมอย่าง 'รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล' ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2547 วิ่งตัดผ่านตั้งแต่หัวลำโพงไปจนถึงบางซื่อ ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับทำเลดั้งเดิมให้กลายเป็นทำเลเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะในย่านห้วยขวาง-พระราม9-อโศกที่ในปัจจุบันมีการพัฒนาทั้งแหล่งงานและที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียมค่อนข้างหนาแน่น เพราะเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับย่านใจกลางเมืองอย่างสุขุมวิทและตัดผ่านไปยังย่านสาทรได้แบบไม่ต้องเปลี่ยนขบวน 

ราคาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เมื่อโฟกัสไปที่ราคาที่ดิน จากการสำรวจของ www.area.co.th ในช่วงปี 2560 จะพบว่า ราคาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) มีการเปลี่ยนแปลงจากปี 2559 ค่อนข้างมาก โดยมีอัตราการเติบโต 2 - 5 เท่า ของอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วกรุงเทพมหานคร

สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

หลังจากนั้นมา 7 ปี ในปี 2554 ได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเพิ่มเติมอีก 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทางรวมแล้ว 15.9 กิโลเมตร ซึ่งเส้นทางทั้งหมดจะเชื่อมต่กันเป็นวงกลม (Circle Line) ทำให้สามารถวิ่งวนรอบเมืองแถมยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ได้อีกหลายสาย เหมือนกับรถไฟในหลายประเทศชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็น...

  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีสีลม (สถานีศาลาแดงของรถไฟฟ้า BTS) 
  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีสุขุมวิท (สถานีอโศกของรถไฟฟ้า BTS)
  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่สถานีเพชรบุรี (สถานีมักกะสันของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์)
  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว (สถานีรัชดาของรถไฟฟ้าสายสีเหลือง)
  • เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีเตาปูน

ทำให้การเดินทางไปยังโซนต่างๆ ของกรุงเทพฯ เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงยังมีการพัฒนาที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้าในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร อาคารสำนักงาน รวมไปถึงการเข้ามาของคอนโดมิเนียมอีกด้วย


เจาะลึกรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง - บางแค เปิดใช้แน่ปี 2562

สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เปิดใหม่ในปี 2562 นี้จะเป็นช่วงต่อขยายจากหัวลำโพง-บางแค ซึ่งมีทั้งหมด 12 สถานี วิ่งตัดผ่านเมืองเก่าของย่านฝั่งพระนครไปจนถึงฝั่งธนบุรีที่ถือเป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ เช่น เยาวราช, ดิ โอ สยาม, สะพานเหล็ก, สำเพ็ง, พาหุรัด, ปากคลองตลาด เป็นต้น ทำให้มีการสร้างสถานีที่มีดีไซน์อันเอกลักษณ์ขึ้นเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ทำเล (อ่านรายละเอียดของสถานีรถไฟฟ้าที่ส่วยที่สุดได้ที่ 4 สุดยอดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย) และนอกจากจะสร้างกิมมิกด้วยสถานีที่สวยที่สุดแล้ว รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินยังเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ทำการวิ่งลอดใต้อุโมงค์แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นระยะทางกว่า 200 เมตรอีกด้วย


และด้วยการตัดผ่านของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดใหม่นี้ ทำให้ที่ดินริมถนนรอบบริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจากตารางวาละ 1 แสนบาท ปรับเพิ่มเป็น 2-3 แสนบาท ดังนี้

ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวขึ้นตามรถไฟฟ้า และขยายจำนวนยูนิตเพิ่มเติมจนในอนาคตอาจจะกลายเป็น HUB ที่อยู่อาศัย ยกตัวอย่างเช่น ในทำเลธนบุรี-เพชรเกษม จากเดิมในปี 2554 มีเพียง 13,000 ยูนิต แต่ปัจจุบันจากการสำรวจเมื่อไตรมาส 2/2561 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 66,000 ยูนิตเลยทีเดียว (วิจัยจาก Nexus Property สำรวจราคาเฉลี่ยของคอนโดไตรมาส 2/2561 )


เจาะลึกรถไฟฟ้าช่วงหัวลำโพง - บางแค เปิดใช้แน่ปี 2563

หลังจากเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคไปแล้ว ในช่วงปี 2563 ก็เป็นคราวของ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ โดยเส้นทางนี้คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการมากถึง 405,900 คน / วัน และจะช่วยทำใให้คนกรุงเทพฯ หันมาใช้รถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น 40% เนื่องจากรถไฟฟ้าสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้นและเข้าถึงในหลายพื้นที่ที่ในปัจจุบันยังต้องใช้รถยนต์ในการเดินทางอยู่

สถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ถือเป็นเส้นทางต่อขยายที่จะะช่วงพลิกฟื้นทำเลในย่านฝั่งธนบุรีให้คึกคัก โดยเฉพาะในแนวพื้นที่จรัญสนิทวงศ์ที่ในปัจจุบันกำลังมีแผนการก่อสร้างแหล่งไลฟ์สไตล์รวมถึงแหล่งที่อยู่อาศัยต่างๆ มากขึ้น (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับจรัญสนิทวงศ์ ทำเลที่น่าจับตามองของฝั่งธนบุรีต่อได้ที่ กาลต่อไปของจรัญสนิทวงศ์ ถิ่นเก่าในกาลก่อนกำลังจะพลิกโฉม)

ด้วยความเจริญที่หลั่งไหลเข้ามาในทำเลมากขึ้น ส่งผลให้ในปัจจุบันที่ดินรอบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีการปรับตัวขึ้นสูงต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับทางช่วงต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โดยปรับตัวจากตารางวาละ 1 แสนบาท ปรับเพิ่มเป็น 2-3 แสนบาท ดังนี้ 



ก็ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เราจะได้มีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเปิดใหม่ให้ใช้บริการกันเร็วๆ นี้แล้วก็หวังว่า การอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ จะขยายตัวได้เพียงพอต่อความต้องการของคนเมืองได้เพิ่มมากขึ้น 

ส่วนใครที่กำลังตามหาคอนโดติดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเหล่านี้อยู่ล่ะก็...ESTOPOLIS ของเราก็มีระบบซื้อ-ขาย-เช่าคอนโดให้เข้าไปเลือกเปรียบเทียบราคาและรูปแบบห้องก่อนตัดสินใจ โดยสามารถเข้าไปเลือกหาคอนโดที่ใช่ในแบบที่ชอบได้เลยที่ 


แหล่งอ้างอิง : 


บทความที่เกี่ยวข้อง :

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์