รูปบทความ รถไฟฟ้าสายสีเทา ร่างใหม่ของรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT

รถไฟฟ้าสายสีเทา ร่างใหม่ของรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT


    ล่าสุดกับข่าวการยกเลิก โครงการรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT ที่ขาดทุนไปกว่า 200 ล้านบาท ในขณะเดียวกันหากจะทำการต่อสัญญาก็ต้องใช้งบประมาณเพิ่มอีก 270 ล้านบาท นั่นเท่ากับว่า ทางกทม. จะต้องมีหนี้สะสมเพิ่มขึ้นเป็น 470 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่มีอะไรมารับรองได้ว่า โครงการ BRT นี้จะไม่ขาดทุนเพิ่มอีกในภายภาคหน้า ด้วยเหตุนี้ทาง กทม. จึงเร่งหาวิธีใหม่แก้ไขมาที่เกิดขึ้น เกิดเป็น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่จะมาช่วยคนกรุงเทพฯ ให้มีการเดินทางที่สะดวกสบายกว่าเดิม

เส้นทางของรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT ก่อนกลายเป็น รถไฟฟ้าสายสีเทา

จะวิ่งตั้งแต่สาทร-ราชพฤกษ์ และช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ รวม 12 สถานี โดยเส้นทางเดินรถจะเริ่มตั้งแต่สถานีสาทร ไปตามถนนนราธิวาส ผ่านแยกถนนจันทร์ แยกนาราราม3 เพื่อมุ่งหน้าเข้าถนนพระราม เพื่อมุ่งหน้าเข้าถนนพระราม 3 ลอดใต้สะพานพระรามเก้า ไปทางถนนรัชดาภิเษก จากนั้นขึ้นสะพานพระราม 3 แล้วไปสิ้นสุดที่แยกรัชดาภิเษก-ราชพฤกษ์ และตลอดการเดินรถของ BRT จะมีการกั้นช่องทางพิเศษเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง

สิ่งที่ตามมาจึงเกิดการถกเถียงกันถึงความคุ้มค่าของการให้บริการ รถประจำทางด่วนพิเศษ BTR ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการต่อวันเพียง 20,000 คน ในขณะที่ผู้สัญจรบนถนนย่านสาทร-ช่องนนทรีนั้นกลับสูงถึง 100,000 คน แล้วยิ่งทำการกั้นช่องเพื่อให้ BRT วิ่งโดยเฉพาะ จะยิ่งเป็นการทำให้เสียเลนถนน รถติดมากกว่าเดิมหรือไม่ แถมยังมีผู้ใช้รถใช้ถนนบางคนฉวยโอกาสนี้ เข้ามาใช้ช่องเดินรถดังกล่าว ส่งผลให้รถ BRT ที่เคยใช้เวลาวิ่งแค่ 30 นาทีใน 12 สถานีต้องล่าช้าลง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว แต่ทางกทม.ยังคงยืนยันที่จะยุติโครงการนี้ลง ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน เป็นต้นไปอย่างแน่นอน

แล้วคราวนี้การดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในบริเวณนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด และจะส่งผลเช่นไรกับทิศทางของคอนโดมิเนียมในย่านนั้น

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า สาทร ถือเป็นเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน เป็นทำเลที่มีทิศทางในการพัฒนาคอนโดระดับพรีเมี่ยม เช่นเดียวกับย่านสีลม เพลินจิต และสุขุมวิท หากพูดถึงราคาที่ดินจะสูงถึงตารางวาละ 1.9 ล้านบาท!!! แน่นอนว่าคอนโดมิเนียมที่อยู่ได้ย่านนี้ จึงเป็นคอนโดชั้น high-end มีราคาตารางเมตรละ 2.5-3.5 แสนบาทเป็นอย่างต่ำ ฉะนั้นกลุ่มเป้าหมายหลักของคอนโดเหล่านี้จึงต้องเป็นลูกค้าระดับพรีเมี่ยมเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มชาวต่างชาติ และคนไทยบางกลุ่ม

หาก โครงการรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT ถูกยกเลิกไป จะส่งผลเช่นไรต่อราคาคอนโดมิเนียม

ต่อให้โครงการ รถประจำทางด่วนพิเศษ BRT จะถูกยกเลิกไป ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อศักยภาพการพัฒนาของคอนโดมิเนียมในย่านนี้มากนัก เพราะหากมองที่ตัวผู้ใช้บริการรถ BRT แล้ว จะเห็นว่ากลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะเป็นคนในชุมชน นักเรียน หรือผู้ทำงานระดับกลาง ซึ่งไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหลักของคอนโดมิเนียมเหล่านี้ และต่อให้ราคาที่ดินของย่านนี้จะสูงขึ้นเท่าไร แต่โอกาสในการพัฒนาก็อาจไม่คุ้มค่าพอที่จะลงทุนต่อ ทำให้อุปสงค์ของผู้ซื้อคอนโดมิเนียมลดลง เปลี่ยนไปมองหาลู่ทางใหม่ ขยับออกไปยังเขตกรุงเทพฯ ชั้นกลางแทน ทำให้ช่วงนี้ราคาของคอนโดมีแนวโน้มที่จะลดลงได้

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ทางกทม. ก็ได้มีการพิจารณาก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 (พระราม 3-ท่าพระ) ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาด้านการจราจรแทนที่รถ BRT  โดย รถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 จะมีระยะทางเริ่มตั้งแต่พระราม 3 – ท่าพระ ซึ่งเป็นเส้นทางซ่อนทับกับเส้นทางเดินของรถประจำทางด่วนพิเศษ BRT พอดี และจะซ้อนทับกับรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 2 ตรงสถานีพระราม 3 – สถานีช่องนนทรี อีกด้วย ซึ่งคาดว่าเมื่อใดที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาผ่านการอนุมัติแล้ว อาจส่งผลให้ราคาคอนโดมิเนียมในย่านพระราม 3-ท่าพระ กลับมาดีดตัวพุ่งสูงขึ้นได้

เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทา ที่คาดว่าจะมาแทนที่ รถประจำทางด่วนพิเศษ BRT

สถานีในจุดสีน้ำเงิน คือ สถานีที่ซ้อนทับกับ รถประจำทางด่วนพิเศษ BRT นอกจากนี้ยังมีสถานีเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนต่างๆ เพื่อความสะดวกสบาย และความปลอดภัยในการใช้ชีวิตของคนในสังคมเมือง


เส้นทางการพัฒนาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่

1. รถไฟฟ้าสายสีเทาช่วงที่ 1 (วัชรพล-ทองหล่อ) 15 สถานี


เริ่มที่สถานีวัชรพล แล้วมาสิ้นสุดที่สถานีทองหล่อ รวมทั้งสิ้น 15 สถานี โดยมีสถานีเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เพื่อการเดินทางที่ต่อเนื่อง สะดวก รวดเร็ว


สถานีเชื่อมต่อ รถไฟฟ้าสายสีเทาช่วงที่ 1


รถไฟฟ้าสายสีเทาสถานีวัชรพล จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายชมพูสถานีวัชรพล


รถไฟฟ้าสายสีเทาสถานีฉลองรัช จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายเหลืองสถานีวัชรพลลาดพร้าว


รถไฟฟ้าสายสีเทาสถานีศรีวรา จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายส้ม


รถไฟฟ้าสายสีเทาสถานีพระราม 9 จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายส้มสถานีประดิษฐ์มนูธรรม


รถไฟฟ้าสายสีเทาสถานีทองหล่อ จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายเขียวสถานีทองหล่อ


การคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 1

ด้านการคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้บริการ หากสร้างเสร็จทันปี 2562 คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเทาเป็นจำนวนมาก 

ผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 1 จากการคาดการณ์แล้วจะมีผู้มาใช้บริการรวม 259,000 คน/เที่ยว/วัน โดยเฉพาะสถานีเชื่อมต่อกับอย่าง สถานีวัชรพล สถานีฉลองรัช สถานีพระราม 9 และสถานีทองหล่อที่น่าจะมีผู้ใช้งานมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นย่านที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญ อาทิ วัดพระราม 9 ,เดอะ คริสตัล พาร์ค,Show DC พระราม 9 ตลอดจนแหล่งคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ในย่านทองหล่อ ที่รวบรวมคอนโดมิเนียม สำนักงาน ร้านค้าร้านอาหารไว้ด้วยกัน นอกจากนี้หากรถไฟสายสีเหลืองและสายสีส้มสร้างเสร็จตามแผนที่วางไว้ ภายในปี 2564 ก็จะยิ่งส่งผลให้ราคาที่ดินของพื้นที่บริเวณนี้มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่าเดิมก็เป็นไปได้


2. รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 2 (พระโขนง-พระราม 3) 16 สถานี


เริ่มที่สถานีพระโขนงมาสิ้นสุดที่สถานีทองภูมิ รวมทั้งสิ้น 16 สถานี โดยมีสถานีพระราม 4 เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง-บางแค) และสถานีช่องนนทรี จะเชื่อมต่อกับ สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬา-บางหว้า)


การคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 2

จากการคาดการณ์ คาดว่าจะมีผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 2 ประมาณ 310,000 คน/เที่ยว/วัน โดยลักษณะพื้นที่ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ที่หนาแน่นไปด้วยแหล่งที่อยู่อาศัย ย่านชุมชน ตลอดจนอาคารสำนักงานและคอนโดมิเนียนขนาดใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจอีกจุดหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ ช่องนนทรี ที่เป็นย่านธุรกิจสำคัญของประเทศ มีออฟฟิศ บริษัท อาคารสำนักงานกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก 


3. รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 3 (พระราม 3 - ท่าพระ) 8 สถานี



เริ่มต้นที่สถานีคลองด่านมุ่งตรงไปยังฝั่งธนบุรี ก่อนจะมาสิ้นสุดลงที่สถานีท่าพระ หากมองจากเส้นทางเดินรถแล้ว ทั้ง 8 สถานีจะเป็นเส้นทางที่ทับซ้อนกับ รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT ที่จะถูกยกเลิกไป นี่จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้โดยสาร BRT เดินทางได้สะดวกสบายเช่นเดิม และคาดว่าจะมีปริมาณผู้ใช้งานมากกว่าเดิม เนื่องจากมีสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ-หัวลำโพง-บางแค) และสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬา-บางหว้า) ทำให้ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าเมืองนั้น มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 


การคาดการณ์ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 3


รถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงที่ 3 จะมีเพียง 8 สถานี แต่คาดการณ์ว่าจะมีผู้โดยสารเฉลี่ย 100,000 คน/เที่ยว/วัน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของย่านนี้จะมีที่อยู่อาศัยค่อนข้างหนาแน่น เป็นศูนย์กลางความเจริญของพื้นที่ย่านฝั่งธนบุรี ประกอบไปด้วย อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ และยังมีสถานศึกษาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งหากรถไฟฟ้าสายนี้สร้างเสร็จแล้ว คาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหารถติดได้เป็นอย่างดี อย่าง แยกมไหศวรรย์ ที่มีการจราจรหนาแน่นมาแต่ไหนแต่ไร

และถ้ารถไฟฟ้าสายสีเทาเสร็จสมบูรณ์ เรียบร้อยทั้ง 3 ช่วงเมื่อใด ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการสูงถึง 7 แสนคน/เที่ยว/วัน โดยเฉพาะช่วงที่ 2 คือช่วงพระโขนง-พระราม 3 เนื่องจากแต่ละสถานีตั้งอยู่ในย่านสำคัญใจกลางเมือง อาทิเช่น สถานีพระราม 4 สถานีลุมพินี สถานีช่องนนทรี และสถานีรัชดา-นราธิวาส เป็นต้น สำหรับใครที่อยากใช้บริการรถไฟฟ้าสายเทา คงต้องอดใจรอกันสักหน่อย เพราะจากเดิมโครงการมีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2562 แต่ปัจจุบันยังคงอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าช่วงที่ 1 อยู่ จึงอาจทำให้มีการขยับเวลาออกไป ส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้าในช่วงที่ 2 และ 3 ทางกทม. จะทำการศึกษาถึงความเหมาะสมต่อไป หลังจากมีการเปิดใช้งานในช่วงที่ 1 !!!



ที่มาอ้างอิง 

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.bangkokgreyline.com

ภาพหน้าปก : http://www.monorail.com.au

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์