รูปบทความ วิธีเอาตัวรอดของชาวคอนโดหากเกิดเหตุไฟไหม้

วิธีเอาตัวรอดของชาวคอนโดหากเกิดเหตุไฟไหม้

สาเหตุของการเกิดอัคคีภัยอาจเกิดได้จากความตั้งใจ ความประมาทไม่ระมัดระวัง หรือเป็นเหตุที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นมา เชื่อเลยว่าเหตุการณ์ไฟไหม้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือที่ต่างๆ อย่างแน่นอน เพราะหลังจากที่เปลวเพลิงได้้เผาไหม้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความร้อนแรง ก็จะทิ้งไว้แต่เศษซากแห่งความสูญเสียไว้ดูต่างหน้า ไม่ว่าจะเป็นซากทรัพย์สิน เศษสิ่งของ หรือแม้แต่ชีวิตของคนที่เรารักก็ตาม ตรงตามสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “โจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้เพียงครั้งเดียว” ...

หลายต่อหลายครั้งที่เรามักจะได้เห็นภาพข่าวเหตุการณ์ไฟไหม้ตามสำนักงานสูง อาคารขนาดใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก ด้วยความที่ตึกเหล่านี้มีความสูงนับหลายสิบชั้นและพื้นที่การใช้งานที่กว้าง จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ได้รับอันตรายจากไฟไหม้จนอาจเกิดความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเป็นเรื่องยากกว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที

โดยเฉพาะชาวคอนโดที่อยู่ดีๆ อาจได้ยินเสียงกริ๊งสัญญาณไฟไหม้ร้องลั่นออกมาก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร ดังนั้น Estopolis จึงมีคำแนะนำดีๆ มาเตือนสติชาวคอนโดทุกท่านหากตกอยู่ในสถานการณ์ไฟไหม้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรถึงจะเอาชีวิตรอดได้ในกองเพลิงให้ครบ 32 จะได้จำไว้ไปใช้ได้จริง

กรณีตกอยู่ในเหตุการณ์ไฟไหม้ในคอนโดให้ปฏิบัติตัวดังนี้

1. ตั้งสติอย่าตื่นตะหนก สติมาปัญญาเกิด สติเตลิด

2. ดึงหรือกดสถานีแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่กล่องแดงที่ติดไว้ข้างผนังทางเดินทันทีที่พบเหตุเพลิงไหม้แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม

3. พยายามช่วยกันใช้อุปกรณ์ดับเพลิงในอาคารให้ได้ภายในระยะเพลิงที่เริ่มใหม้ใน 2 นาทีแรก อย่ามัวแต่รอความช่วยเหลือจากพนักงานดับเพลิงดับเพลิง ในอาคารสูงด้วยของตนเอง

4. แต่ละชั้นต้องทำแผนผังแสดงเส้นทางหนีไฟจากห้องพักไปสู่บันไดหนีไฟ อย่างน้อย 2 เส้นทาง

5. ตรวจสอบเส้นทางหนีไฟไว้ล่วงหน้า ว่าจะไม่มีสิ่งกีดขวางตลอดทางวิ่ง

6. ร่วมฝึกซ้อมหนีไฟเพื่อเป็นการตรวจสอบด้วยตนเองถึงความพร้อมของเจ้าหน้าที่อาคาร และอุปกรณ์ป้องกันและดับเพลิงของอาคารว่ายังมีประสิทธิภาพใช้การได้ดีอยู่เสมอ

7. ห้ามใช้ลิฟต์หนีไฟเป็นอันขาด ให้รีบหนีลงมาโดยบันไดหนีไฟทันทีที่ได้ยินสัญญาณกระดิ่งแจ้งเหตุไฟไหม้ภายในอาคาร

8. หากติดอยู่ในกลุ่มควันไฟ ให้ก้มตัวให้ต่ำหรือหมอบคลานเพื่อหาทางออก เพราะควันไฟเป็นเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่เสียชีวิตมากกว่าเปลวไฟถึง 3 เท่าตัว

9. ก่อนเปิดประตูให้แตะหรือคลำลูกบิด หากร้อนจัดแสดงว่ามีเปลวเพลิงอยู่ด้านนอก อย่าตื่นตระหนกเปิดประตูทันทีเพราะจะถูกเปลวไฟพุ่งเข้าหาตัวได้

10. เมื่อหนีออกจากห้องพักหรือหนีผ่านประตูใดๆ ให้ปิดประตูนั้นให้สนิท

11. กรณีหนีไฟไม่ได้ให้อยู่ภายในห้องพักและปิดประตู ใช้ผ้าชุบน้ำอุดบริเวณขอบบานประตู และให้ขอความช่วยเหลือที่หน้าต่างหรือระเบียง

12. แนะนำทุกคนในครอบครัวให้ทราบถึงกฎความปลอดภัยและวิธีปฏิบัติตัวกรณีเกิดเพลิงไหม้

13. เหตุไฟไหม้ในอาคารสูงเกิดขึ้นเป็นประจำและเกิดขึ้นบ่อย แต่ที่ไม่เป็นข่าวเพราะผู้อาศัยและเจ้าหน้าที่อาคารช่วยกันดับได้ก่อนลุกลาม ดังนั้นทุกคนที่อาศัยในอาคารสูงทุกอาคารจึงต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา แล้วจะปลอดภัยแน่นอน

หากกล่าวถึงการใช้ดับเพลิงแล้ว บางท่านอาจวิตกกังวลว่าถังดับเพลิงไม่ใช่สิ่งของที่ใช้เป็นประจำอย่างโทรศัพท์ แล้วอย่างนี้จะดับไฟไม่ให้ลุกลามได้อย่างไร ? เวลานิติเรียกซ้อมหนีไฟทีไรก็ตั้งหน้าตั้งตาสับขาวิ่งอย่างเดียว หรือตอนที่เจ้าหน้าที่สาธิตวิธีการใช้ก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง แล้วแบบนี้ควรจะใช้ถังดับเพลิงอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัยดีล่ะ ?

ที่จริงแล้วการใช้งานง่ายมากๆ มีแค่ 4 Step ง่ายๆ ดึง ปลด กด ส่าย ท่องจำไว้ใช้ได้เลย ทาง Estopolis จึงได้ทำการสรุปขั้นตอนวิธีการใช้ถังดับเพลิงชนิดมือถือทุกประเภทมาฝากชาวคอนโดด้วยเลย

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

Step 1 ดึง ดึงสลักออกจากถังดับเพลิงซึ่งจะมีกระดูกงูล็อคอยู่ ถ้าดึงไม่ออกให้ใช้การบิดเเล้วค่อยดึง สลักก็จะหลุดออกมา

Step 2 ปลด ปลดสายฉีดของถังดับเพลิงออกมา โดยจับบริเวณปลายสายฉีดแล้วดึงออกมาจะออกง่ายกว่าจับปริเวณโคนสาย


3 กด กดคันบีบของถังดับเพลิงเพื่อให้เคมีในถังออกมาใช้ดับเพลิง



Step 4 ส่าย ส่ายปลายสายฉีดไปมาเพื่อดับเพลิง ควรฉีดไปยังฐานของเพลิงหรือต้นเพลิงเพื่อให้เพลิงสงบ ไม่ควรฉีดไปบริเวณเปลวเพลิง


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ในส่วนของการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีที่ท่านหรือคนรอบข้างถูกไฟไหม้ มีขั้นตอนดังนี้

1. หยุดความร้อนเมื่อถูกไฟไหม้ ต้องปฏิบัติดังนี้

    - ขั้นแรกใช้น้ำราดเพื่อดับไฟ หรือใช้ผ้าหนาๆ คลุมตัว

    - ขั้นที่สอง ถอดเสื้อผ้าที่ถูกไฟไหม้ พร้อมเครื่องประดับที่สะสมความร้อนออกให้หมด

2. ตรวจร่างกาย ดูการหายใจ

    - หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการหายใจผิดปกติ เสียงแหบ ต้องรีบช่วยหายใจโดยด่วน

    - ชีพจรเต้นเบาหรือไม่เต้นต้องรีบปั๊มหัวใจ

    - อาการบาดเจ็บมีเลือดออกควรห้ามเลือดก่อน

    - ประเมินความรุนแรงของแผลไฟไหม้

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้เบื้องต้น แบ่งได้ 2 ระดับ

        ระดับชั้นผิวหนัง ให้ทำการระบายความร้อนออกจากแผล ด้วยการนำผ้าชุบน้ำแล้วนำมาประคบบริเวณบาดแผล หรือจะแช่ลงในน้ำ หรือให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา ประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้ลดลงได้ จากนั้นทายาบริเวณแผลและนำผ้าสะอาดมาปิดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ห้ามเจาะส่วนที่ผองออกเด็ดขาด หากแผลมีบริเวณกว้างหรืออยู่ใกล้อวัยวะที่สำคัญรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

         ระดับลึกถึงเนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง เนื่องจากแผลไฟไหม้ในระดับนี้มีความลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อจึงไม่สามารถระบายความร้อนออกแผลได้ เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดแผลติดเชื้อ รวมถึงห้ามใส่ยาลงบนบาดแผล ควรใช้ผ้าสะอาดห่อตัวผู้บาดเจ็บเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและให้ความอบอุ่น จากนั้นรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

ก็อย่างที่คำโบราณว่าไว้ “โจรปล้น 10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้เพียงครั้งเดียว” หากได้ยินเสียงสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อใดให้คิดทุกครั้งว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ไว้ก่อนเสมอ หวังว่าคำแนะนำที่ Estopolis ได้เตรียมมาในวันนี้จะช่วยให้ชาวคอนโดทุกท่านเอาตัวรอดในเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างถูกต้อง ที่สิ่งสำคัญต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็ตามควรมีสติติดตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็สามารถเอาชีวิตรอดได้แน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.samsenfire.com

                                : https://hilight.kapook.com

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์