รูปบทความ สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

ESTOPOLIS | จะ 50 ปี หรือ 1000 ปีก็ทิ้งไม่ลง ของเยอะ!! จนกลายเป็น 'โรคสะสมของ'

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

อันนี้ต้องเก็บ อันนี้ทิ้งไม่ได้ อันนั้นก็เสียดาย ตัดใจทิ้งไม่ลงสักที หากใครมีอาการเหล่านี้ คุณอาจจกำลังประสบปัญหาด้านจิตใจแบบไม่รู้ตัว...มาเช็คกันดีกว่าว่า คุณเข้าข่ายจะกลายเป็น Hoarding disorder หรือ โรคชอบสะสมของมากจนเกินไปหรือไม่? แล้วคนกลุ่มไหนเข้าข่ายสุ่มเสี่ยง ? และจะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคนี้ได้ยังไงกัน ? 


บ้าสะสมของ ไม่กล้าทิ้ง อาการป่วยทางจิตที่เรียกว่า Hoarding disorder

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

Hoarding disorder (โรคชอบสะสมของ) ไม่ใช่โรคของคนขี้เกียจทำความสะอาดแต่อย่างใด...หลายคนอาจจะคิดว่า ตัวเองแค่ขี้เกียจขนของออกไปทิ้ง แต่จริงๆ แล้วในใจลึกๆ ของคุณกำลังเสียดายของเหล่านั้น ยึดติดว่าทุกชิ้นเป็นของสำคัญจนทิ้งขว้างมันไปไม่ได้มากกว่า...


โรคนี้ไม่ใช่โรคมโน แต่ได้รับการยืนยันได้จาก เฟซบุ๊กแฟนเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ได้ทำการเผยเเพร่บทความของคนบ้าสมบัติ ชอบสะสมของเก่าจนทำให้คอนโด หรือบ้านเละเทะไว้ว่า เป็นเหตุที่เกิดจาก โรค Hoarding disorder โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เพิ่งได้รับการเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในปี พ.ศ. 2556 


โดยโรคเก็บสะสมของ (Hoarding disorder) จะพบได้ในกลุ่มคนประมาณ 2-5% ในคนทั่วไป คนที่เป็นส่วนใหญ่มักจะเป็นคนโสด มักเริ่มเป็นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะมีอาการของโรครุนแรงมากขึ้นไปด้วย


เมื่อฉันกลายเป็นโรค Hoarding disorder แบบไม่รู้ตัว

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'หลายคนไม่ได้เอะใจสงสัยพฤติกรรมของตัวเอง เพราะการสะสมของเก็บไว้มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่สังเกตเห็นได้ชัด บางคนอาจจะเก็บสะสมของจำพวกหนังสือ นิตยสาร เสื้อผ้า ถุงพลาสติก และขวดต่างๆ ซึ่งดูแล้วก็ไม่ได้ผิดปกติอะไร แต่ที่จะแปลกและแตกต่างออกไปก็ตรงปริมาณที่มากเกินคนทั่วไปหลายเท่า


พูดแบบนี้อาจจะไม่เห็นภาพ เรามาลองทำเช็คลิสต์กันดีกว่าว่าคุณมีอาการชอบสะสมของมาก-น้อยแค่ไหนกัน ?


- เก็บของไม่จำเป็นเอาไว้เยอะมาก จนคนอื่นทัก แต่เรามักคิดว่ามันสมเหตุสมผล 


- มีความกังวลและไม่สามารถตัดสินใจได้ว่า จะต้องทิ้งข้าวของชิ้นไหนบ้าง และมักจะคิดเสมอว่า ยังอาจจะจำเป็นต้องใช้งาน จนรู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องทิ้งข้าวของเหล่านั้น


- ไม่สามารถจัดเรียงข้าวของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ หรือเป็นหมวดหมู่ได้


- หวงของที่เก็บไว้ ไม่ต้องการให้ใครเข้ามาหยิบจับ


- ของสะสมรบกวนการใช้ชีวิต เช่น ไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย แยะตัวออกจากสังคม ทะเลาะกับคนรอบข้าง เป็นต้น


- รู้สึกแย่กับสิ่งพฤติกรรมนี้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้


เอาล่ะ! ตรวจสอบกันไปแล้วว่า ที่สะสมของอยู่นี่มันมากเกินไปหรือไม่ ? ถ้าคิดว่าเป็นแน่ๆ แล้ว ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เรามาดูสาเหตุของโรคชอบสะสมของ เพื่อหาวิธีแก้ไขกันต่อดีกว่า


โรค Hoarding disorder เกิดจากอะไร

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

โรค Hoarding disorder หรือโรคชอบสะสมของยังเป็นโรคที่ไม่สามารถหาสาเหตุของอาการได้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่า มีที่มาจากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น...


- ครอบครัวเป็น ฉันเป็นด้วย : โรคชอบสะสมของ เป็นโรคที่เกี่ยวโยงถึงพันธุกรรม บ้านใครมีญาติสายตรง อย่างเช่น พ่อแม่ พี่ น้อง ที่ชอบสะสมของเป็นชีวิตจิตใจก็ถือว่าเข้าข่ายสุ่มเสียงเป็นโรคนี้ได้ง่ายทีเดียว


- สมองจ๋า ลาก่อน : จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สมองพบว่า สมองส่วนซินกูเลทคอร์เท็กซ์ (cingulate cortex) และออกซิพิทัล โลบ (Occipital lobe) ซึ่งทำหน้าที่คิดและตัดสินใจของผู้ที่เป็นโรคเก็บสะสมของทำงานลดลง


- การบาดเจ็บทางสมองก็เป็นได้ :  กลุ่มบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองส่วนหน้าจนถึงสมองส่วนกลาง มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปและกลายเป็นโรค Hoarding disorder ด้วยเช่นกัน

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

โรคต่อไปนี้มีส่วนทำให้เป็นโรค Hoarding disorder


ใครที่กำลังเผชิญหน้าอยู่กับโรคย้ำคิด ย้ำทำ (OCD), โรคจิตเภท, โรคเครียด, โรคสมองเสื่อม, โรคซึมเศร้า หรือโรคไบโพลาร์ มักมีอาการของโรค Hoarding disorder ร่วมด้วย เนื่องจากผู้ป่วยโรคเหล่านี้ มักมีพฤติกรรมที่ขาดเหตุผล บังคับใจตัวเองไม่ได้ ทำให้เกิดพฤติกรรมเดิมๆ ซ้ำๆ และชอบกักตุนข้าวของเอาไว้มากเกินความจำเป็น


รักษาไม่ได้ แต่บำบัดได้!

สะสมของ บ้าสมบัติ ตัดใจทิ้งไม่ลง ระวังเป็น 'โรค Hoarding disorder'

โรคชอบสะสมของเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่ชัด ด้านการใช้ยาพบว่า เห็นผลแค่เล็กน้อย โดยยาที่ใช้เป็นยากลุ่มยาต้านเศร้า แนะนำให้ใช้วิธีการบำบัดด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นจากการสอนและฝึกการจัดข้าวของให้เป็นระเบียบบ่อยๆ อาการของโรคที่เป็นอยู่ก็จะบรรเทาลง


ที่มา :

https://adaa.org

https://www.psychiatry.org

http://www.nhs.uk

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์