รูปบทความ เงินเดือนสองหมื่นออมอย่างไรให้ได้เงินเก็บหลักแสน

เงินเดือนสองหมื่นออมอย่างไรให้ได้เงินเก็บหลักแสน

หากไม่วางแผนการใช้เงินที่ดีและถูกต้อง อาจทำให้ไม่มีเงินเก็บหรือแย่กว่านั้นอาจจะเงินไม่พอใช้ในเดือนนั้น ต้องทำการกู้ยืมเกิดปัญหาหนี้ตามมา สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการจัดการเงินในแต่ละเดือน และอยากมีเงินเก็บหลักแสน บทความนี้เป็นประโยชน์สำหรับคุณแน่นอน


ในบทความนี้จะกล่าวถึงการบริหารเงินเดือน 20,000 บาทต่อเดือน ให้มีเงินเก็บหลักแสนสำหรับผู้พึ่งเริ่มต้นออม และจะเป็นการออมเงินที่ความเสี่ยงต่ำหรือไม่มีความเสี่ยงเลย โดยผู้เขียนได้ลองศึกษาและหาข้อมูลจากหลายๆแห่ง แล้วนำมา ทดลองใช้กับตัวเองพบว่าใช้ได้ผลดี โดยจะยกตัวอย่างมาสามวิธีที่ไม่ไกลตัวจนเกินไปและมนุษย์เงินเดือนสามารถทำได้จริง


ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนด้วยวิธีการออมด้วยตนเอง

ให้ลองนึกและคำนวณดูคร่าวๆ ว่าเราจะใช้เงินเท่าไหร่ในแต่ละวันของเดือน โดยเริ่มจากที่ต้องจ่ายแน่นอนก่อน เช่น ค่ารถเดินทางไปทำงาน ค่าอาหารในแต่ละวัน ในค่าอาหารอาจจะรวม ค่าขนมทานเล่น หรือค่ากาแฟที่ต้องดื่มทุกวันด้วย


เขียนให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นได้ดังนี้ (ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแน่นอนแต่ละวัน x 20 วันที่มาทำงาน) + (ค่าใช้จ่ายในวันหยุด x 8 วันเสาร์-อาทิตย์) + ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นระหว่างเดือน เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าสมาชิกต่างๆ


หากลองคำนวณออกมาเสร็จก็จะได้รายจ่ายที่ต้องจ่ายแน่นอนในทุกเดือน แล้วนำไปลบออกจากเงินเดือน สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นระหว่างเดือน เราอาจคาดคะเนหรือกะไว้คิดเป็น 10 % ของเงินเดือนทั้งหมดของเรา โดยเงินจำนวนนี้สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน อย่างเช่นค่าพยาบาลเล็กน้อยได้ด้วย


ตัวอย่าง

150x20 + 500x8 + 2,000 = 10,000 บาท

เมื่อนำไปลบจากเงินเดือนคิดได้เป็น 20,000 – 9,000 = 11,000 บาท


เราจะได้รายจ่ายที่แน่นอนคือ 9,000 บาท เงินที่เหลือจากการหักลบกับเงินเดือน เหลือ 11,000 บาทต่อเดือน หากลองคิดเล่นๆว่าถ้าเราสามารถทำตามแผนการใช้เงินนี้ได้ เราจะมีเงินเก็บหลักแสนภายในไม่ถึงปี โดยไม่เดือดร้อนตัวเองเลยสักนิด ไม่จำเป็นต้องประหยัดจนเกินความจำเป็น หรืออดมื้อกินมื้อเพื่อให้ได้เงินแสน แน่นอนว่าเราต้องกำหนดเงินที่ใช้ได้ในแต่ละวันให้เหมาะสม และเพียงแค่ใช้จ่ายตามแผนที่วางไว้หรือหากเราสามารถใช้จ่ายได้น้อยกว่ายอดที่วางไว้ในแต่ละวัน เช่น เรางดดื่มกาแฟหรือของทานเล่น เปลี่ยนวิธีการเดินทางในวันที่สามารถเข้างานช้าได้ เงินเก็บก็จะมากขึ้นอีก


ให้สวัสดิการช่วยเหลือด้วยการออมกับที่ทำงาน

หากเงินเหลือเก็บของเรานั้นสร้างเงินให้เราได้อีก คงจะดีกว่าการปล่อยให้มันนอนในบัญชีธนาคารเฉยๆ สำหรับใครที่ออฟฟิศมีสวัสดิการ “กองทุนเลี้ยงชีพ” เพื่อให้พนักงานสามารถออมเงินและลงทุนได้ โดยส่วนมากจะอยู่ที่ 2-15% ของเงินเดือนแล้วแต่เราจะเลือกลงทุน โดยจะทำการหักจากเงินเดือนก่อนจะเข้าบัญชีธนาคาร และบวกกับเงินสมทบของนายจ้าง ไม่ต่ำกว่า 2% และไม่เกิน 15%


โดยกองทุนนี้จะเติบโตขึ้นจากเงินสะสมและเงินสมทบที่ต้องมีการส่งเข้ากองทุนทุกเดือน บวกกับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุนนี้ คือบริษัทจะนำกองทุนไปลงทุน เมื่อได้เงินกำไรมาจะนำมาเข้ากองทุนเป็นเงินเพิ่มเติมที่ทำให้กองทุนนี้เติบโตขึ้นอีก กองทุนนี้จะไม่มีการจ่ายค่าปันผลให้กับพนักงานที่ลงทุน เพราะต้องสะสมยอดให้เป็นก้อนใหญ่และจ่ายให้กับพนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน เช่นลาออก หรือเกษียณ


นายจ้างบางที่อาจจะกำหนดเงื่อนไขการรับเงินคืนจากกองทุน เช่น ต้องทำงานครบตามจำนวนปีที่กำหนด จะได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง 100% หากทำไม่ครบ จะได้เพียงครึ่งเดียว เป็นต้น และยังมีรูปแบบการลงทุนให้เลือกเพิ่มเติมด้วยแล้วแต่นายจ้างจะกำหนด


สำหรับวิธีนี้เป็นวิธีที่เงินสร้างเงินด้วยตัวเอง

หากเงินเดือน 20,000 หักเต็มที่ 15% เข้ากองทุน เดือนละ 3,000 บาท 

ในหนึ่งปี เราจะมีเงินจากการออม 36,000 บาท บวกด้วย

เงินสมทบจากนายจ้าง หากต่ำสุดอยู่ที่ 2% คิดเป็นเงิน 720 บาท

และสูงสุดอยู่ที่ 15% คิดเป็นเงิน 5,400 บาท

คิดเป็นต่อเดือนคือเราได้เงินเพิ่มจากการออมเดือนละ 60 บาท ไปจนถึงเดือนละ 450 บาท

หากเราทำงานห้าปี เราจะมีเงินเก็บจากการออม 180,000 บาท และมีเงินสมทบจากนายจ้างเพิ่มเติม 3,600 บาท ไปจนถึง 27,000 บาท โดยไม่ต้องทำอะไรเลย


ถือว่าเป็นวิธีลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงและได้เงินเพิ่มแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการออมด้วย แต่ตราบใดที่เรายังทำงานอยู่ และจากแผนการใช้เงินในบัญชีของเรา การออมเงิน 15% คิดเป็นเงิน 3,000 จาก 11,000 ที่เราเหลือนั้น สร้างประโยชน์ให้กับเราอีกเยอะเลย


หาตัวช่วยที่ควบคุมได้ด้วยการออมกับธนาคาร

นอกจากการออมเงินกับนายจ้างไปแล้ว สำหรับคนที่พึ่งเริ่มออมเงิน “บัญชีฝากประจำปลอดภาษี” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมาก เพราะนอกจากจะสะดวกเพียงแค่ตัดจากบัญชีเงินฝากและสะสมไปเรื่อยๆ มีให้เลือกว่าจะฝากกี่เดือน มีตั้งแต่ห้าเดือนจนถึง สูงสุด ยี่สิบสี่เดือน โดยบัญชีฝากประจำปลอดภาษีนั้นจะไม่ต้องจ่ายภาษีวันที่รับเงินคืน 15%


บัญชีฝากประจำปลอดภาษีทีให้ดอกเบี้ยสูงที่สุด ณ ตอนนี้ คือบัญชีของธนาคารธนชาติ อยู่ที่ 2.60% ต่อปี เงินดอกเบี้ยจะได้ในวันที่ครบกำหนดและรวมไปกับเงินทั้งหมดที่เราออมมา เริ่มจากการเปิดบัญชีกับทางธนาคารด้วยเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท หลังจากนั้นเลือกว่าจะออมเงินเท่าไหร่


ยกตัวอย่างเช่น ออมเดือนละ 2,000 บาท เมื่อครบกำหนดยี่สิบสี่เดือนหรือสองปีจะได้รับดอกเบี้ยสองรอบ เป็น 5.2% คิดได้ดังนี้ 2,000 x 24 เดือน เป็นเงิน 48,000 บาท เมื่อครบกำหนด ยี่ยสิบสี่เดือน รับดอกเบี้ยคืน 5.2% เป็นเงิน 2,496 บาท รวมแล้วได้ 50,496 บาท โดยไม่ต้องเสียภาษี ณ วันที่รับเงิน 15%


วิธีนี้แม้จะไม่ได้เงินมากในช่วงสั้น และหากต้องการเงินแสนอาจต้องใช้เวลานานสักหน่อย แต่เป็นวิธีให้เงินสร้างเงินโดยไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น และได้รับเงินแน่นอน เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นออมที่ต้องการฝึกนิสัยและวินัยในการออม จากเงินเดือน 20,000 บาท เมื่อทำทั้งสามวิธีรวมกัน ยังเหลือเงินอีก 5,000 บาท ไว้ใช้ในยามฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินมากได้ หรือหากต้องการลงทุนเพิ่มเติม เช่น กองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่เงินปันผลสูงขึ้น หรือหุ้นต่างๆ สามารถทำได้ แต้องทำการศึกษาและหาข้อมูลให้มากๆ เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุนหรือเกิดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


สามวิธีที่แนะนำไป สามารถทำได้พร้อมกันทั้งสามวิธีเพื่อเป็นการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เดือดร้อนตนเอง และยังมีเงินเก็บออมหลักแสนอีกด้วย แน่นอนว่าสามวิธีนี้เป็นเพียงพื้นฐานของการออมเงิน ยังมีวิธีและช่องทางการลงทุนอีกมากมาย ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำการลงทุนมนช่องทางอื่นต่อได้ เพื่อสร้างฐานความมั่นคงทางการเงินในอนาคตต่อไป


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์