รูปบทความ เปรียบเทียบบัตร Travel Card ไว้แลกเงิน เที่ยวต่างประเทศในปี 2563

เปรียบเทียบบัตร Travel Card ไว้แลกเงิน เที่ยวต่างประเทศในปี 2563


หลังจากทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อย
การไปเที่ยวพักผ่อนถือเป็นเรื่องที่หลายคนเฝ้ารอคอย


ไม่เว้นแม้แต่ในปี 2563 ที่เกิดเรื่องราวขึ้นมากมาย ทั้งภัยพิบัติ, แนวโน้มสงครามโลก, โรคร้ายต่าง ๆ แต่หลายคนก็ยังใจสู้ เลือกไปเที่ยวในประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าวที่เอ่ยมาข้างต้นแทน เพราะบางคนก็จองตั๋วกันข้ามปี ถ้าต้องกลายเป็นการจองเสียเที่ยวคงรู้สึกเสียใจไม่น้อย


เปรียบเทียบ Travel Card

เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยอันดับแรก คือเงินสกุลของประเทศนั้น ๆ การแลกเงิน จึงเป็นอันดับแรก ๆ ที่เราต้องไปทำให้เรียบร้อยก่อนการออกเดินทาง แต่หากเป็นนักท่องเที่ยวสายรูดบัตร ไม่ชอบพกเงินสด สิ่งที่ต้องพบเจอคือ “ค่าความเสี่ยง 2.5%” เช่น เรารูดบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตใช้จ่ายที่ต่างประเทศเป็นจำนวน 100 ดอลล่าร์ เราจะเสียเงินไป 102.5 ดอลล่าร์เป็นค่าประกันความเสี่ยงความผกผันขึ้นลงของค่าเงินนั่นเอง


หลายธนาคารจึงได้ออก Travel Card เป็นบัตรเดบิตและบัตรเติมเงินสำหรับใช้รูดในต่างประเทศโดยเฉพาะ และที่สำคัญคือไม่ต้องเสียค่าความเสี่ยง 2.5% ให้นักท่องเที่ยวได้รูดใช้จ่ายเงินอย่างปลอดภัยไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก หรือต่อแถวที่ร้านแลกเงินให้ยุ่งยาก เพียงแค่มี Travel Card ก็สามารถเที่ยวต่างประเทศได้อย่างสะดวก และสบายใจ


ในบทความนี้ของ Esto จะมาเปรียบเทียบ Travel Card ของแต่ละธนาคารว่าเราจะใช้ Travel Card ของธนาคารไหนดีเพราะเป็นบัตรที่ไม่จำเป็นต้องมีมากกว่าหนึ่งใบ แต่เมื่อต้องเลือกแล้วควรเลือกใบที่คุ้มที่สุดจะดีกว่า




เปรียบเทียบ Travel Card ‘KRUNGTHAI TRAVEL CARD’ กับเจ้าอื่น


เปรียบเทียบ Travel Card KRUNGTHAI TRAVEL CARD กับเจ้าอื่น

ธนาคารกรุงไทย เป็นเจ้าแรกที่ออกมาทำบัตรประเภทนี้ และได้รับความนิยมสูงมาก เพราะสามารถล็อกเรตค่าเงินตามวันที่แลกได้ เรตดีเหมือนกับร้านแลกเงินทั่วไป บัตรใบนี้เปิดตัวออกมาให้ได้ใช้งานครั้งแรกในปี 2561 จนตอนนี้ปี 2563 แล้ว บัตรใบนี้ก็ยังถือว่าได้รับความนิยมสูงอยู่ แม้จะมีเจ้าอื่นออกมาแข่งหลายเจ้าก็ตาม 


Travel Card จากธนาคารกรุงไทย เป็นบัตรรูปแบบเติมเงิน คือต้องเติมเงินเข้าไปในบัตรก่อน จึงจะสามารถใช้รูดได้ตามจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัตร เรียกได้ว่าไม่ต่างจากบัตรเดบิตมากเท่าไหร่ ในกรณีที่ยังมีเงินอยู่ในบัตร สำหรับใครที่สงสัยว่าหากเงินในบัตรมีไม่พอจ่ายจะยังสามารถใช้บัตรใบนี้ได้อยู่หรือไม่ คำตอบคือ ‘ได้’ เช่น ของราคา 100 ดอลล่าร์ แต่มีเงินในบัตรมีแค่ 50 ดอลล่าร์ เราสามารถจ่ายเงินในบัตร 50 ดอลล่าร์ และจ่ายเงินสดเพิ่มอีก 50 ดอลล่าร์เพื่อให้ครบ 100 ได้

เมื่อได้ลองเปรียบเทียบ Travel Card ใบนี้กับเจ้าอื่นแล้ว พบว่าข้อเสียของบัตรใบนี้ คือยังมีสกุลเงินจำกัดอยู่บางสกุลเท่านั้น ไม่สามารถใช้จ่ายได้ทั่วโลก และไม่มีสกุลเงินยอดนิยมบางสกุล เช่น หยวนของจีน และวอนของเกาหลี โดยเงินหยวนหากต้องการใช้งานต้องสมัครบัตรอีกใบเป็น Union เพิ่ม ไม่สามารถใช้งานเสร็จในใบเดียวได้ ทำให้วุ่นวายเล็กน้อย และไม่สามารถรูดได้ทันที หากไม่แลกในสกุลเงินที่รองรับก่อน




เปรียบเทียบ Travel Card ‘PLANET SCB’ กับเจ้าอื่น


เปรียบเทียบ Travel Card PLANET SCB กับเจ้าอื่น

ในปี 2563 นี้ ถือว่า Travel card ใบนี้ ได้รับความนิยมสูงมาก เพราะธนาคารไทยพาณิชย์พึ่งออกมาให้ใช้งานกันเมื่อปีที่แล้วนี่เอง ธนาคารไทยพาณิชย์จึงได้รวบรวมข้อเสียของแต่ละบัตรและนำมาปรับปรุง Planet SCB ใบนี้ จนกลายมาเป็นบัตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้หลายประการ


หากเปรียบเทียบกับ Travel Card เจ้าอื่นแล้ว Planet SCB จะคล้ายกับ KRUNGTHAI TRAVEL CARD ตรงที่เป็นบัตรแบบเติมเงินเหมือนกัน สามารถตอบโจทย์ได้ครบถ้วนความต้องการที่สุด โดยบัตรอื่นจะเน้นที่เรื่องการใช้งานในไทยควบคู่ไปด้วย แต่ Planet SCB จะเน้นไปที่การใช้งานต่างประเทศแบบชัดเจนและที่สำคัญคือสมัครฟรี ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี หรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ สามารถทำได้ทั้งแลกเงินเพื่อล็อกเรตที่ดีไว้ในบัตรก่อนได้ หรือจะรูดโดยไม่ต้องแลกก่อนก็ได้ (ตรงนี้ของกรุงไทยไม่สามารถทำได้) และยังมีประกันการเดินทางเอาไว้ให้เรียบร้อย




เปรียบเทียบ Travel Card ‘TMB ALL FREE’ กับเจ้าอื่น


เปรียบเทียบ Travel Card TMB ALL FREE กับเจ้าอื่น

เป็นรายแรกที่ทำบัตรเดบิตให้สามารถรูดใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศได้โดยไม่ต้องแลกเงินเข้ากระเป๋าเงินของบัตรเหมือนพวกบัตรเติมเงินของเจ้าอื่น ๆ ได้เปรียบเรื่องความสะดวกสบาย พร้อมใช้งานได้เลย เพียงแค่มีเงินในบัญชี


ด้วยความที่มีการจ่ายค่าแรกเข้าและรายปี เสมือนเป็นบัตรเดบิตทั่วไป ทำให้ตัวบัตรมีโปรโมชัน และทำได้มากกว่า Travel Card ของ SCB และ KTB ทั้งเบิกเงินสดได้จากตู้ ATM ทุกธนาคารทั่วไทย โดยไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ถ้าปกติไม่มีบัตรเครดิตอยู่แล้ว ก็ช่วยทำให้ใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดสบายได้มากขึ้น ข้อเสียคือไม่สามารถแลกเงินเก็บเอาไว้ได้ เพราะจำเป็นมากในช่วงที่ค่าเงินผันผวน




เปรียบเทียบ Travel Card ‘KBANK JOURNEY’ กับเจ้าอื่น


เปรียบเทียบ Travel Card KBANK JOURNEY กับเจ้าอื่น

เป็น Travel Card ในรูปแบบของบัตรเดบิตที่ค่อนข้างแปลกกว่าเจ้าอื่น ตรงที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าบริการรายปีที่แพงกว่า และมีค่าความเสี่ยง 2.5% สำหรับการซื้อของออนไลน์และเบิกเงินสด เรียกได้ว่าไม่ฟรี ค่าความเสี่ยงเสียทีเดียว แต่ก็แลกมากับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มากมายที่ธนาคารกสิกรมอบให้กับผู้ถือบัตรเดบิตใบนี้ 


อย่างไรก็ดี จุดด้อยเรื่องซื้อของ จองที่พัก ในเงินสกุลเงินอื่นยังคิดค่าความเสี่ยงตามปกติ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดี อาจทำให้ต้องมีการถือบัตรมากกว่า 1 ใบไว้ใช้จ่ายราคาที่สูงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าความเสี่ยง อาจกล่าวได้ว่าทำบัตรนี้ไว้เพื่อรับของแถมอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว




และนี่เป็นบัตร Travel Card ที่ทางสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ออกมาแข่งกันให้บริการ เพื่อให้ผู้บริโภคสายท่องเที่ยว ได้เลือกสรรกันไปใช้ และยังมีบัตรของอีกสองสามเจ้าที่ทาง Esto ไม่ได้หยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้ แต่ทางผู้อ่านสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ และที่สำคัญ Travel Card ไม่ใช่บัตรที่จำเป็นต้องมีหลายใบจึงควรเลือกที่ดีที่สุด 1-2 ใบ เท่านั้น


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์