รูปบทความ เปรียบเทียบราคาคอนโดของไทยกับประเทศในแถบเอเชีย

ซื้อคอนโดที่ไทยแพงจริงไหม เปรียบเทียบราคาคอนโดของไทยกับประเทศในแถบเอเชีย

เราเชื่อเหลือเกินว่าเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งหลายคนคงต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้เทรนด์ที่อยู่อาศัยที่กลายเป็นทางเลือกของคนเมืองนอกจากการซื้อบ้านที่มีมูลค่าสูงแถมยังกระเถิบตัวออกห่างจากพื้นที่เมืองออกไปเรื่อยๆ แล้ว 'คอนโด' ก็ถือเป็นอีกตัวเลือกที่นิยมสำหรับคนรุ่นใหม่ เนื่องจากสภาพทำเลที่มักสร้างให้อยู่ใกล้รถไฟฟ้า ขนาดห้องที่ดูแลง่าย รวมถึงอยู่ใกล้แหล่งไลฟ์สไตล์ที่เหมาะทั้งจะใช้ชีวิตแบบคนเดียวหรือแบบครอบครัวเดี่ยว ทำให้คนสมัยใหม่หันมาสนใจซื้อคอนโดกันมากขึ้น


แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคาคอนโดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก โดยราคาจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 8-12 % ต่อปี แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อคนรุ่นใหม่ที่อาจจะกำลังอยู่ในขั้นการทำงานเป็น First Jobber เพราะต่อให้อยากซื้ออยู่เองมากแค่ไหน แต่ด้วยฐานเงินเดือนเริ่มต้นก็อาจจะเป็นเรื่องยาก หรือไม่ก็ต้องบุกป่าฝ่าดงแลกมาด้วยชั่วโมงการทำงานที่หนักหนา จึงจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์คอนโดในย่านใจกลางเมืองสมใจ


แล้วถ้าเทียบกับประเทศใกล้เคียงล่ะ เขาเป็นเจ้าของคอนโดได้ยากหรือง่ายขนาดไหน?


เรื่องนี้เราได้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ numbeo.com ที่ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่าครองชีพของแต่ละประเทศกว่า 90 ประเทศ โดยมีเรื่องค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับราคาของคอนโดทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ซึ่งเฉลี่ยแล้วคนไทยต้องจ่ายราคาคอนโดต่อตารางเมตรเฉลี่ยแล้วประมาณ 156,263 บาท ในเขตเมือง ส่วนในเขตนอกเมืองราคาคอนโดของไทยจะเฉลี่ยอยู่ที่ 75,500 บาท/ตารางเมตร ซึ่งถ้าเมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือนซึ่งเราได้กันอยู่ที่ประมาณ 23,635 บาทต่อเดือน บวกกับต้องจ่ายค่าครองชีพต่างๆ ตกเดือนละประมาณ 20,986 บาทแบบไม่รวมค่าที่พักอาศัยแล้ว ดูเหมือนว่าเราจะไม่มีทางเป็นเจ้าของคอนโดได้ในเร็ววัน


และเมื่อนำราคาต่อตารางเมตรของห้องชุดและเงินเดือนมาหาค่าเฉลี่ยทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง พร้อมนำไปเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่ใกล้ๆ กันกับเราอีก 14 ประเทศ จะเห็นว่าราคาของคอนโดของไทยถือว่าอยู่ในอันดับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับรายได้ของคนในประเทศ โดยแบ่งตัวแปรในการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1. กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และ 2. กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว 

พบว่า ราคาห้องชุดของไทยเมื่อเทียบต่อรายได้ถือว่าอยู่ในอันดับที่สูงติด 1 ใน 5 อันดับแรกในกรณีของคอนโดที่อยู่ในเขตเมืองและนอกเมือง ส่วน 2 อันดับแรกที่มีราคาคอนโดสูงที่สุดตกเป็นของประเทศจีนและฮ่องกง


และถ้าเทียบในประเทศอาเซียนไทยถือว่าอยู่อันดับ 2 รองจากกัมพูชา ส่วนเมื่อนำไปเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างจีน ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ไทยถือว่าอยู่ในอันดับที่ 4 โดย เราต้องจ่ายเงินเท่ากับ 6.61 เท่าของเงินเดือน ในกรณีที่เป็นคอนโดในเขตเมือง และต้องจ่ายเงิน 3.19 เท่าของเงินเดือน ในกรณีเป็นคอนโดนอกเมือง


ตารางเปรียบเทียบราคาต่อตารางเมตรของคอนโดในเขตเมือง เทียบกับเงินเดือน 1 เดือนของประเทศต่างๆ



ตารางเปรียบเทียบราคาต่อตารางเมตรของคอนโดในเขตนอกเมือง เทียบกับเงินเดือน 1 เดือนของประเทศต่างๆ


นอกจากเรื่องราคาแล้ว อีกปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับการซื้อคอนโดก็คือ เรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเมื่อเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศแล้ว ไทยอยู่ในอันดับที่ 7 เป็นรองเฉพาะประเทศในอาเซียนอย่างพม่า ลาว อินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ส่วนในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของไทยสูงกว่าทุกประเทศ


ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของแต่ละประเทศ


เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราลองสมมติให้ นาย A ซื้อคอนโดในประเทศต่างๆ ขนาด 30 ตารางเมตร และนำอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยมาคิดคำนวณตลอดระยะเวลา 30 ปี เพื่อหากำลังการผ่อนของแต่ละประเทศ และเมื่อนำมาหารเฉลี่ยกับรายได้แล้ว ผลปรากฎว่า ประเทศไทยยังครองในตำแหน่งอันดับต้นๆ  (อยู่ในครึ่งบนของตาราง) ทั้งในเขตนอกเมืองและเขตในเมือง โดยราคาผ่อนคอนโดในเขตเมืองสูงกว่าเงินเดือนเฉลี่ยที่ 116% มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย 40% หรือประเทศสิงคโปร์ที่ได้ชื่อว่ามีค่าครองชีพสูงอันดับต้นๆ ถึง 49%


ตารางเปรียบเทียบราคาคอนโดขนาด 30 ตารางเมตรในเขตเมืองรวมกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ระยะเวลา 30 ปี เทียบกับเงินเดือน 1 เดือนของประเทศต่างๆ


ส่วนในเขตนอกเมืองประเทศไทยยังถือว่าซื้อคอนโดในราคาเฉลี่ยที่ฐานเงินเดือนเราเอื้อมถึง โดยราคาผ่อนคอนโดจะคิดเป็น 56% ของฐานเงินเดือน 


ตารางเปรียบเทียบราคาคอนโดขนาด 30 ตารางเมตรในเขตนอกเมืองรวมกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ ระยะเวลา 30 ปี เทียบกับเงินเดือน 1 เดือนของประเทศต่างๆ

จะเห็นว่าในหลายประเทศในแถบอาเซียนอาจจะมีราคาคอนโดที่ถูกกว่าไทย แต่ด้วยฐานเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจจะทำให้การซื้อคอนโดเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าหากเทียบประเทศเรากับประเทศที่พัฒนาแล้วและมีคุณภาพดีชีวิตที่ดีกว่า เราอาจจะต้องแลกด้วยชั่วโมงการทำงานที่มากกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งคอนโดสักหลังหนึ่ง


ส่วนใครที่อยากรู้ว่าคอนโดที่คุณอยากได้จะผ่อนจ่ายไหวมั้ย หรือจะต้องมีเงินเก็บเท่าไร เกินกว่าค่าครองชีพที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่ ก็สามารถคำนวณต่อได้ใน ระบบคำนวณผ่อนคอนโดของ Estopolis.com >> คลิกที่นี่


บทความที่เกี่ยวข้อง :

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์