รูปบทความ เปิดหมุดทำเลทอง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ความหวังของชาวกรุง

เปิดหมุดทำเลทอง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ความหวังของชาวกรุง

จากประเด็นถกเถียงตอนที่เริ่มเปิดตัวโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูขึ้นมาใหม่ๆ ว่า เส้นทางสายป่าช้า (?) นี้

“สร้างให้ใครนั่ง ?”
“สร้างสายสีอื่นดีกว่าไหม ?”
“เส้นนี้มีความจำเป็นมากขนาดไหน ?”

นี่เป็นคำถามเพียงส่วนหนึ่งที่หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูว่าการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้คุ้มค่ากับการลงทุนจริงหรือ ? เพราะไม่ใช่เส้นทางหลักในการเดินทางของประชาชน ควรลงทุนรถไฟฟ้าเส้นที่วิ่งเข้าเมืองจะคุ้มค่าและแก้ปัญหาการจราจรได้ดีกว่ารึเปล่า ?

ถ้าว่ากันตามตรงแล้วรถไฟฟ้าสายสีชมพูอาจไม่ตอบโจทย์ในแง่การเดินทางเข้ามาในเมืองสักเท่าไหร่ แต่หากมองในมุมกว้างแล้วเส้นทางการเดินรถของ MRT สายสีชมพูที่วิ่งผ่านตลอด 30 กว่ากิโลเมตร กลับเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจขนาดย่อมในย่านชานเมืองที่อำนวยความสะดวกให้กับคนกรุงเทพและนนทบุรีในการติดต่อกับหน่วยงานราชการมากขึ้น อย่างการเดินทางเข้าสู่ผ่านศูนย์ราชการในพื้นที่กรุงเทพฯ และนนทบุรี ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ที่จะมีประชาชนเข้ามาติดต่อในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน อาทิเช่น กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมที่ดิน กรมศุลกากร ฯลฯ และยังไม่รวมถึงสถานที่แสดงสินค้าและการจัดประชุมอย่างอิมแพคเมืองทองธานีอีกด้วย นับว่าเป็นอีกหนึ่งเส้นทางสายสีชมพูที่น่าจับมองไม่น้อย เลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้ Estopolis จะพาทุกท่านมาอัพเดทความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทางแคราย-มีนบุรี เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร โดยเริ่มต้นที่สี่แยกแคราย วิ่งตามแนวถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ไปสิ้นสุดที่เขตมีนบุรี ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) รถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) รถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-มีนบุรี) รวมทั้งสิ้น 30 สถานี  

แผนที่แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู 


ปักหมุด 30 สถานีของรถไฟฟ้าสีชมพู

1. สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ตั้งอยู่บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีบนถนนรัตนาธิเบศร์ มีสกายวอล์กเชื่อมต่อการเดินทางไปยังรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ)

2. สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้โรงพยาบาลโรคทรวงอก ระหว่างติวานนท์ ซอย 11 และ 13  

3. สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับแยกสนามบินน้ำ ฝั่งทิศตะวันออกอยู่ระหว่างติวานนท์ ซอย 38 และ 40 และฝั่งตะวันตกอยู่ระหว่างติวานนท์ ซอย 27 และ 29

4. สถานีสามัคคี สถานีจะตั้งอยู่ก่อนถึงสะพานข้ามคลองบางตลาด บนถนนติวานนท์ ระหว่างซอยสามัคคีกับคลองบางตลาด

5. สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ระหว่างโรงเรียนชลประทานวิทยาและวิทยาลัยการชลประทาน ใกล้กับซอยติวานนท์-ปากเกร็ด 4

6. สถานีปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมของห้าแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสนามฟุตบอล Feel So Good 7. สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะก่อนถึงทางแยกตัดกับถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ใกล้กับ Home Pro

8. สถานีแจ้งวัฒนะปากเกร็ด 28 อยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ

9. สถานีเมืองทองธานี ใกล้กับถนนเข้าเมืองทองธานีและสะพานข้ามแยกเมืองทองธานี

10. สถานีศรีรัช อยู่บริเวณปากทางเข้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี

11. สถานีแจ้งวัฒนะ 14 อยู่บริเวณแจ้งวัฒนะ ซอย 14 (ซอยเมืองทอง 1) ใกล้กับโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ห้างบิ๊กซีซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาแจ้งวัฒนะ

12. สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ อยู่บริเวณหน้ากรมการกงสุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติและหน้ากองร้อยลาดตระเวนระยะไกลกองพลที่ 1 รักษาพระองค์

13. สถานีทีโอที ตั้งอยู่บริเวณหน้าบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และ 7

14. สถานีหลักสี่ อยู่บนถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับศูนย์การค้า IT Square จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ด้วยสกายวอล์ก

15. สถานีราชภัฎพระนคร อยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครฝั่งด้านติดคลองถนน

16. สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่) ได้โดยตรง

17. สถานีรามอินทรา 3 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับเซ็นทรัล รามอินทรา และคอนโดมิเนียมลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่

18. สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ทางเข้าถนนลาดปลาเค้า

19. สถานีรามอินทรา 31 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณระหว่างรามอินทรา ซอย 29 และ 31

20. สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับรามอินทรา ซอย 14 (ซอยมัยลาภ)

21. สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช ช่วงบริเวณรามอินทรา ซอย 57/1 และ 59

22. สถานีรามอินทรา 40 อยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างรามอินทรา ซอย 40 และ 42 ใกล้ปั๊มน้ำมัน Esso 23. สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงรามอินทรา ซอย 69 และซอย 46

24. สถานีรามอินทรา 83 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ทางแยกไปถนนนวมินทร์ ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ สถานีนี้มีลานจอดรถ

25. สถานีวงแหวนตะวันออก ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้กับห้าง Fasion Island และ The Promenade

26. สถานีนพรัตนราชธานี ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงเข้าซอยสวนสยาม ถัดจากโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีเล็กน้อย

27. สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา บริเวณระหว่างรามอินทรา ซอย 113 กับ 115 และรามอินทราซอย 109 (ซอยพระยาสุเรนทร์)

28. สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างปั๊มน้ำมัน ปตท. และรามอินทรา ซอย 123 ใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

29. สถานีตลาดมีนบุรี เป็นสถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ใกล้ตลาดมีนบุรี

30. สถานีมีนบุรี สถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง ระหว่างรามคำแหง ซอย 192 และคลองสองต้นนุ่น ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้จะเป็นโรงจอดรถไฟฟ้าสายสีชมพู ศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร ซึ่งเป็นสถานีที่เดินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้มได้โดยตรง


จุดเชื่อมต่อของการเดินทางสู่ใจกลางเมือง

สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ตั้งอยู่บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีบนถนนรัตนาธิเบศร์ มีสกายวอล์กเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ)


สถานีศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี สถานีเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง



สถานีหลักสี่ อยู่บนถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับศูนย์การค้า IT Square เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่สถานีหลักสี่ด้วยสกายวอล์ก


สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเดินเชื่อมต่อไปสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่) ได้โดยตรง


สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สถานีเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพูกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว



สถานีมีนบุรี สถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง ระหว่าง ซอย รามคำแหง 192 และคลองสองต้นนุ่น สามารถเดินไปยังรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-มีนบุรี) ได้โดยตรง


ข้อดีของระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)

ที่ รฟม. เลือกใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ Monorail กับ MRT สายสีชมพู มีลักษณะโครงสร้างแบบทางยกระดับตลอดเส้นทางเดินรถ โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างรวดเร็วกว่าระบบรถไฟฟ้ามวลชนขนาดหนัก (Heavy Rail) ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดระหว่างการก่อสร้าง และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ทั้งในด้าน การสั่นสะเทือนและเสียง ทัศนียภาพ รวมถึงจัดวางระบบรางเป็น 2 และ 3 ระดับ บริเวณเกาะกลางถนน เพื่อให้เกิดการเวนคืนน้อยที่สุด



เส้นทางสายป่าช้าจริงหรือ ?

ตลอดเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีชมพูตั้งแต่สี่แยกแคราย ผ่านถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา จนสิ้นสุดที่เขตมีนบุรีนั้น ไม่ใช่เส้นทางเงียบเหงาอยางที่เข้าใจกัน เพราะตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูถูกแวดล้อมด้วยสถานที่สำคัญตลอดแนวการเดินรถ

        หน่วยงานราชการ - จะพบว่าสถานีของรถไฟฟ้าสีชมพูตั้งอยู่บริเวณสถานท่ีราชการขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง 2 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ) และ ศูนย์ราชการนนทบุรี (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี)

        สถานศึกษา - ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่คุ้นหูอย่างดี เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี (สถานีปากเกร็ด) , โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ (สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ) , มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (สถานีเมืองทองธานี)

        โรงพยาบาล - ที่พบได้ตลอดเส้นทาง เช่น โรงพยาบาลโรคทรวงอก (สถานีแคราย) โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ (สถานีแจ้งวัฒนะ 14) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (สถานีนพรัตนราชธานี) เป็นต้น

        ห้างสรรพสินค้า - ตลอดเส้นทางจะพบกับห้างสรรพสินค้ามากมาย ทั้ง เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ (สถานีแจ้งวัฒนะปากเกร็ด 28) , ศูนย์การค้า IT Square (สถานีหลักสี่) , เซ็นทรัล รามอินทรา (สถานีรามอินทรา 3) , Fasion Island รามอินทรา และ The Promenade (สถานีวงแหวนตะวันออก)


ความคืบหน้า MRT สายสีชมพูล่าสุด

ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูล่าสุด เมื่อเดือน มี.ค. 59 ครม.ได้อนุมัติให้ดำเนินการสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โดยให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP-Net Cost ที่ทางภาครัฐจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ส่วนเอกชนรับผิดชอบในด้านการออกแบบ การก่อสร้างงานโยธา ระบบรถไฟฟ้ารวมทั้งการบริหารด้านการเดินรถและการซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าสายสีชมพู

ผลปรากฎว่าผู้ชนะสัมปทานโครงการ MRT สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยคาดว่าจะลงนามสัญญาสัมปทานได้ในเดือนเมษายน 2560 คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2563


การจัดการจราจรระหว่างก่อสร้าง

อย่างที่ทราบกันดีว่าพื้นที่ในการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนใหญ่เป็นถนนสายหลัก เช่น ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา รวมถึงย่านมีนบุรี ซึ่งสภาวะปกติก็มีผู้ใช้เส้นทางเหล่านี้เดินทางหนาแน่นอยู่แล้ว โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้มีแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เส้นทางสัญจร ดังนี้

         1. เส้นทางส่วนใหญ่จะรักษาช่องทางการจราจรและความกว้างทางเท้าให้เท่าเดิม โดยลดขนาดช่องจราจรจาก 3.25-3.5 เมตร เป็น 3.1-3.25 เมตร

         2. เส้นทางช่วงแคราย-ปากเกร็ด จะลดขนาดทางเท้าลงข้างละ 1.3 เมตร แต่ยังมีช่องจราจรยังทิศทางละ 3 ช่องดังเดิม pic : แคราย-ปากเกร็ด-1 



         3. เส้นทางช่วงสถานีหลักสี่-วงเวียนหลักสี่ จำเป็นต้องลดช่องจราจรจากทิศทางละ 4 ช่อง เหลือ 3 ช่อง แต่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะกลับมาเป็น 4 ช่องเท่าเดิม


ย่านรามอินทราเป็นอีกหนึ่งย่านที่การคมนาคมที่เชื่อมกับถนนหลายสาย อย่างช่วงต้นรามอินทราเชื่อมถนนพหลโยธินเข้าไปในเมืองและแจ้งวัฒนะเข้าสู่ศูนย์ราชการ ช่วงกลางกับถนนหลัก ได้แก่ ด้านใต้เชื่อมกับถนนนวมินทร์, เสรีไทย, รามคำแหง ส่วนด้านเหนือเชื่อมกับวัชรพลไปยังสายไหม ลำลูกกาก็ได้ ช่วงปลายสายก็เชื่อมกับถนนสุวินทวงศ์ไปจนถึงฉะเชิงเทรา


นอกจากนี้ยังมีทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์เข้าสู่ย่านใจกลางเมือง และถนนเลียบทางด่วนที่เชื่อมไปยังพระราม 9 เอกมัย ทองหล่อได้โดยตรง รวมทั้งยังสามารถใช้ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออกไปยังพื้นที่รอบนอกโซนต่างๆ เช่น ลำลูกกา รังสิต บางปะอิน หรือลาดกระบัง สนามบินสุวรรณภูมิ บางนา-ตราดได้ด้วย


ภาพจำลองสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู


ภาพจำลองสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ต้องยอมรับว่าการก่อสร้างขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ประชาชนต้องรู้จักปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันให้ได้ในระยะเวลา 2-3 ปี เหมือนกรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่แยกรัชโยธิน ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ณ ขณะนี้ เพื่อที่รถไฟฟ้าจะช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในระยะยาวได้


เปิดมิติใหม่ของชีวิตด้วย MRT สีชมพู

สังเกตได้ว่าที่อยู่อาศัยรอบข้างเส้นทางรถไฟฟ้าสีชมพูในอดีตจะเน้นไปที่แนวราบซะเป็นส่วนใหญ่ แต่มาวันนี้การพัฒนาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชั้นในไม่เพียงพอต่อจำนวนประชากรอีกต่อไป จึงทำให้ Developer หลายเจ้าขยับขยายพัฒนาโครงการแถบชานเมืองกันมากขึ้น อย่างเส้นรามอินทรา-มีนบุรี ที่เป็นย่านที่คนอยู่อาศัยกันเยอะ หมู่บ้านผุดขึ้นยังกับดอกเห็ด ส่วนเส้นแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด เมืองทอง ก็มีทั้งศูนย์ราชการ สำนักงาน สถานที่จัดแสดงสินค้าและที่พักอาศัยอีกหลายโครงการ

ด้วยความที่อยู่รอบนอกชานเมืองทำให้การเดินทางไปทำงานในเมืองหรือแม้แต่พื้นที่โดยรอบ จำเป็นต้องใช้รถส่วนตัวในการเดินทางถึงจะสะดวกที่สุด เมื่อคนมากขึ้นปัญหาที่เกิดตามมาก็คือการจราจรติดขัด เพราะทุกคนต่างมีรถเป็นของตัวเอง กว่าจะเดินทางฝ่าการจราจรที่ติดขัดได้ใช้ก็เสียเวลาไม่น้อยกว่า 1-2 ชั่วโมง นี่ยังไม่รวมถึงช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ หรือช่วงฤดูฝนที่เรียกได้ว่าการจราจรอยู่ในขั้นแสนสาหัสเลยทีเดียว

การที่มีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามาจะช่วยกระจายการเดินทางจากทางพื้นดินไปสู่ระบบรางได้มาก อาจไม่ได้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดแต่อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนได้มีช่องทางในการสัญจรไปมา เพราะอย่าลืมว่าถนนแจ้งวัฒนะมีศูนย์ราชการขนาดใหญ่ตั้งอยู่ และเส้นรามอินทราก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่อีกหนึ่งแห่งของกรุงเทพมหานคร


นอกจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์เงินเดือนในการเดินทางไปทำงานแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาติดต่อที่ศูนย์ราชการ ที่มาใช้บริการในการทำพาสปอร์ต ขอวีซ่า ติดต่อกรมสรรพากร รวมถึงงานแสดงสินค้าที่เมืองทอง


รองรับไลฟ์สไตล์ตามวิถีคนชานเมือง

แนวโน้มการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีความน่าจับตามอง ช่วงแรก แคราย-ห้าแยกปากเกร็ดเรื่อยไปถึงเมืองทองธานี ที่เป็นย่านการค้าขนาดใหญ่ เริ่มมี Developer ผุดคอนโดโครงการใหม่เพื่อรองรับคนที่เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น โดยทาง Estopolis ขอแนะนำคอนโดแนว MRT สายสีชมพูที่น่าสนใจในช่วงแคราย-ห้าแยกปากเกร็ดตลอดจนเมืองทองธานีมาฝากกันเล็กน้อย


เริ่มกันที่ช่วงแรก แคราย-หลักสี่ ถือได้ว่าเป็นย่านชุมชน ศูนย์ราชการ ศูนย์การค้า โรงพยาบาล และสถานศึกษา ที่เชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีไปยังรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) เพื่อเข้าสู่ใจกลางเมือง จัดได้ว่าเป็นทำเลทองของการพัฒนาคอนโดเลยทีเดียว ขอยกตัวอย่างคอนโดที่น่าสนใจมา 4 โครงการด้วยกัน

        - The Park Land งามวงศ์วาน - แคราย ของบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอร์ตี้ สร้างเสร็จขายหมดแล้ว ใกล้รถไฟฟ้าสองสาย คือ สายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)

        - ศุภาลัย ปาร์ค แคราย-งามวงศ์วาน ใกล้ MRT สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เพียง 200 เมตร 

        - The Privacy ติวานนท์ ของพฤกษา เข้าไปในซอยติวานนท์ 50 ห่าง MRT สถานีสามัคคี 300 เมตร

        - ศุภาลัย วิสต้า ห้าแยกปากเกร็ด ติดกับถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้ MRT สถานีปากเกร็ด

ต่อกันที่โซนแจ้งวัฒนะที่มีคอนโดล้นทะลักมากมายหลายโครงการ ที่มีความพิเศษตรงที่บริษัทต่างชาติมาร่วมลงทุนหลายโครงการ อาทิเช่น

        - HallMark แจ้งวัฒนะ ของบริษัทชีวาทัย ที่ร่วมกับกลุ่มทุนสิงคโปร์ สร้างเสร็จพร้อมเข้า ตั้งอยู่ในซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 17 ห่างจากสถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 เพียง 450 เมตรเท่านั้น

        - ASTRO Condo แจ้งวัฒนะ บริษัท เอ-สตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ ของกลุ่มทุนไทย-สิงคโปร์ บนถนนแจ้งวัฒนะ

และยังมี Developer หน้าเก่าและหน้าใหม่ขอร่วมวงปักเสาเข็มในโซนแจ้งวัฒนะอีกเช่นกัน

        - THE SEED แจ้งวัฒนะ บริษัทพฤกษา คอนโดริมถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้ MRT สถานีศรีรัช

        - THE BASE แจ้งวัฒนะ คอนโดในเครือแสนสิริ สร้างเสร็จขายหมดแล้ว ใกล้สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ

        - GRENE แจ้งวัฒนะ ของปรีดา เรียลเอสเตส Developer หน้าใหม่ สถานีที่ใกล้ที่สุดคือสถานีศรีรัช ประมาณ 500 เมตร พร้อมโปรโมชั่นพิเศษซื้อห้องไหนลดไปเลย 4 แสน

        - Real By Noble แจ้งวัฒนะ ในเครือโนเบิล อยู่ติดกับแมคโคร ใกล้ MRT สถานีศรีรัช

        - Supalai Loft แจ้งวัฒนะ จาก ศุภาลัย ติดถนนแจ้งวัฒนะ สถานีที่ใกล้โครงการที่สุดคือ MRT สถานีศรีรัช ห่างจากโครงการประมาณ 150 เมตร

        - Supalai City Resort แจ้งวัฒนะ ติดถนนแจ้งวัฒนะ ห่างจากรถไฟฟ้าสถานีศรีรัช ประมาณ 220 เมตร

        - Plum Condo Chaengwattana Station Phase 3 จากพฤกษา อยู่ระหว่าง MRT หลักสี่ และ MRT ราชภัฎพระนคร ประมาณ 200 เมตร

ในส่วนโครงการที่ใกล้กับศูนย์ราชการ ที่เหมาะสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในศูนย์ราชการและละแวกใกล้เคียง ได้แก่

        - Mixtown แจ้งวัฒนะ คอนโดในเครือ ECGroup ห่างจากสถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 500 เมตร

        - Resta Pano แจ้งวัฒนะ 12 จากบริษัท ไรซ์ซิ่ง เอสเตท ตั้งอยู่ในซอยแจ้งวัฒนะ 12 ใกล้รถไฟฟ้า สถานีแจ้งวัฒนะ 14

        - Regent Home 15 ของบริษัท รีเจ้นท์ กรีน เพาเวอร์ ใกล้รถไฟฟ้าสายสีชมพู สถานีราชภัฏพระนคร และรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีพหลโยธิน 57


ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

ส่วนช่วงรามอินทรา-มีนบุรี ที่อาจเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญในอนาคต เพราะมีรถไฟฟ้าตัดผ่านถึง 2 สายด้วยกัน ได้แก่ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีส้ม (บางกะปิ-มีนบุรี) เริ่มกันที่ย่านรามอินทราจัดเป็นอีกหนึ่งย่านที่สิ่งอำนวยความสะดวกจัดเต็มแบบชุดใหญ่ไฟกระพริบ ตลอดสายเต็มไปด้วยห้างสรรพสินค้า Community Mall ตลาดกลางคืน โรงเรียน โรงพยาบาล อย่างครบครัน

ทั้งยังมีคอนโดที่กำลังก่อสร้างและสร้างเสร็จพร้อมอยู่แล้วหลายโครงการ ราคาเริ่มต้นที่ล้านปลายๆ โดยเฉพาะบริเวณตอนต้นรามอินทราที่ค่อนข้างจะคึกคัก เพราะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเขียวตัดผ่าน ไม่ไกลจากห้างสรรพสินค้า เหมาะสำหรับคนที่กำลังมองหาคอนโดใหม่ ในราคาสบายกระเป๋า

        - Asset Wise บริษัทอสังหาหน้าใหม่ ที่เพิ่งเปิดตัว 2 โครงการใหม่ ใกล้ๆ กัน ได้แก่ Modiz Station ริมถนนพหลโยธินตรงข้าม Tesco lotus ตัดกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ โดยสามารถเปลี่ยนไปยัง MRT สายสีชมพู ได้ที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

        - อีกหนึ่งโครงการก็คือ Modiz Interchange อยู่บนถนนรามอินทราระหว่างสถานีตำรวจนครบาลบางเขนและซอยรามอินทรา1 สถานีที่ใกล้ที่สุดคือสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ สามารถเปลี่ยนสถานีไปยังMRT สายสีเขียวได้ที่สถานีนี้


ส่วนโครงการสร้างเสร็จพร้อมอยู่แถวนี้ที่น่าสนใจ ได้แก่

        - Premio Fresco รามอินทรา ใกล้สถานีลาดปลาเค้าเพียง 50 เมตรจากโครงการ

        - Lumpini Condo Town รามอินทรา-ลาดปลาเค้า จาก แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ติดถนนลาดปลาเค้า ห่างจากถนนรามอินทราเพียง 500 เมตร

        - WE Condo เอกมัย-รามอินทรา ติดถนนใหญ่ประดิษฐ์มนูธรรมหรือถนนเลียบทางด่วน รามอินทรา-เอกมัย ที่ห่างจาก MRT สายสีชมพู และ MRT สายสีเทา สถานีวัชรพลพอสมควร

ย่านมีนบุรีก็ไม่น้อยหน้า มีคอนโดจ่อคิวเปิดตัวกันเพียบ ที่ใกล้จุดเชื่อมต่อ MRT สีชมพู และ MRT สีส้ม ทั้งยังใกล้ตลาดมีนบุรีที่เป็นตลาดยอดฮิตในวันหยุดของคนแถวนี้





        - ESTA Bliss คอนโดสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ตั้งอยู่ถนนรามอินทราใกล้แยกมีนบุรี ตรงข้ามโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ใกล้ MRT สีชมพู สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ

        - The Cube Plus มีนบุรี อยู่ช่วงปลายรามอินทราใกล้แยกมีนบุรี ห่างจากรสถานีตลาดมีนบุรี 600 เมตร

        - THE CUBE นวมินทร์-รามอินทรา ติดถนนใหญ่ โซนนวมินทร์-รามอินทรา เพียง 500 เมตร จากสถานีนวมินทร์

โครงการที่ Estopolis ยกมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น คาดว่าในปีนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่จะเปิดตัว เรียกได้ว่ารถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นทำเลทองอีกแห่งที่ Developer เข้าไปตอกเสาเข็ม เปิดตัวกันอย่างคึกคักตลอดแนวสีชมพูไร้ซึ่งความเงียบเหงาอย่างที่เคยเกิดเป็นประเด็นอย่างแน่นอน คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีชมพูสร้างเสร็จเมื่อไหร่ก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของคนไทยทุกคน


ขอขอบคุณข้อมูล

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย , ประชาชาติธุรกิจ , ไทยรัฐ , โพสต์ทูเดย์ , Home , นารายณ์ , ศุภาลัย , พฤกษา , ชีวาทัย , GRENE , Noble , Asset Wise , 38 Estate , แสนสิริ , Rising Estate , L.P.N. Development , ร่มเกล้า เพลซ , Regent Green Power , Asset Wise , Premio Fresco , L & T Asset , Cube Real Property

ขอขอบคุณรูปภาพ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐,

FB ตลาดมีนบุรี

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์