รูปบทความ เพื่อนบ้านเสียงดังนักต้องจัดการด้วยกฎหมายคอนโด

เพื่อนบ้านเสียงดังนักต้องจัดการ กฎหมายคอนโดปราบเพื่อนบ้านเสียงดังยามวิกาล

จริงอยู่ว่าการอาศัยอยู่ร่วมกับคนหมู่มากมักจะมีปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะในคอนโดที่มีพื้นที่ห้องติดกัน ในช่วงแรกหากเพื่อนบ้านส่งเสียงดัง เมื่อได้มีการบอกกล่าวตักเตือน พูดจาด้วยความประนีประนอมแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นอีก การทนอยู่กับเสียงดังยามวิกาลเป็นเวลานาน ๆ ย่อมไม่ดีแน่ เพราะแทนที่คุณกลับจากการทำงานมาจะได้พักผ่อนอย่างสบายใจ แต่ต้องมาถูกรบกวนด้วยมลพิษทางเสียงจากเพื่อนบ้านในคอนโดของคุณ วันนี้ Estopolis มีวิธีจัดการกับเพื่อนบ้านเสียงดัง ด้วยกฎหมายคอนโดที่ควรทราบมานำเสนอ
เพื่อนบ้านเสียงดัง

เสียงระดับใดจึงจะถือว่าเป็นเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียง?

ภาวะมลพิษทางเสียง (Noise Pollution ) หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์ เช่น เสียงวิทยุ โทรทัศน์ เสียงเครื่องบิน หรือ เสียงการก่อสร้าง เป็นต้น

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษที่เกี่ยวกับเหตุรำคาญด้านพิษทางเสียง

โดยมลพิษทางเสียงที่สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ มีความหมายตามกฎหมายดังนี้

มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ (4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือนฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

***จากข้อกฎหมายข้างต้น ตัวอย่างของมลพิษทางเสียงที่พบบ่อย ๆ ในคอนโด เช่น การเปิดเสียงโทรทัศน์ที่ดังมากเกินไป เสียงพูดคุยกัน หรือการกินเลี้ยงที่ส่งเสียงดังในยามวิกาลเป็นเวลานาน จนทำให้คุณนอนไม่หลับ และเกิดความหงุดหงิดรำคาญ ซึ่งคอนโดบางโครงการมีการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการกั้นห้องมาไม่เหมือนกัน หรือประตูของบางโครงการมีช่องเมื่อปิดแล้วจะไม่สนิททำให้เกิดปัญหาเสียงที่ดังเล็ดลอดออกมาจากด้านใน ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากยากเกินที่จะควบคุมหรือจัดการ เราในฐานะเจ้าของร่วมสามารถใช้กฎหมายในการจัดการได้



เพื่อนบ้านจัดปาร์ตี้ เปิดเพลงเสียงดังยามวิกาลในคอนโดเป็นประจำ จะจัดการอย่างไรดี

ปาร์ตี้การจัดปาร์ตี้ ดื่มสุรา และเปิดเพลงเสียงดังของเพื่อนบ้านในคอนโดเป็นประจำ คงทำให้คุณอารมณ์เสียเป็นแน่ เพราะแทนที่จะได้พักผ่อนในบรรยากาศที่เงียบสงบ กลับได้ยินเสียงเพลงดังอึกทึกครึกโครม เสียงคนคุยกันหยอกล้อสนุกสนานเฮฮา และยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งเมาแล้วส่งเสียงดังโวยวาย แทนที่คอนโดของคุณจะเป็นพื้นที่แห่งความสุขในการพักผ่อน กลับกลายเป็นว่า บรรยากาศเหมือนมีผับและบาร์อยู่ ใกล้ ๆ ห้องของคุณแทน

เสียงดังที่มาจากงานปาร์ตี้ ดื่มสุรา เมาแล้วโวยวายเป็นประจำ ตามกฎหมายแล้วถือเป็นความผิดทางอาญาลหุโทษฐานส่งเสียง หรือทำให้เกิดเสียง คุณมีสิทธิร้องเรียนจัดการกับเพื่อนบ้านได้ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้

มาตรา 26

ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้ใดผู้หนึ่งมิให้ก่อเหตุรำคาญ ในที่ หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้

มาตรา 27

ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับ หรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่ง

**ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น

จากมาตรา 26 และ 27 สรุปได้ว่า

เมื่อเพื่อนบ้านส่งเสียงดังรบกวน คุณสามารถแจ้งนิติบุคคลให้ดำเนินการตามกฎหมายได้ โดยในกรณีที่เพื่อนบ้านจัดปาร์ตี้ เปิดเพลงเสียงดังยามวิกาล ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าไปแจ้งให้เพื่อนบ้านของคุณหยุดส่งเสียงดัง และระงับสถานการณ์ได้โดยชอบตามข้อกฎหมาย ตลอดจน เดินเรื่องทำหนังสือออกคำสั่งแจ้งเตือนเพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีก หากฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษตามกฎหมายในลำดับต่อไป



หากเพื่อนบ้านของคุณไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคอนโด จะมีวิธีจัดการอย่างไร

เพื่อนบ้าน เสียงดัง รบกวน เมื่อทางนิติบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้บอกกล่าว หรือออกหนังสือแจ้งเตือน ห้ามไม่ให้กระทำการส่งเสียงดังก่อความรำคาญอีก แต่เพื่อนบ้านในคอนโดก็ยังไม่หยุดส่งเสียงดังยามวิกาลสร้างความหงุดหงิดให้แก่คุณ ทางกฎหมายมีวิธีจัดการดังนี้

มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากมาตรา 74 กล่าวคือ เมื่อทางนิติบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบได้บอกกล่าวตักเตือนแล้ว แต่เพื่อนบ้านของคุณไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จะต้องได้รับโทษโดย ถูกจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามกฎหมาย



เพื่อนบ้านทะเลาะกันเสียงดังเป็นประจำยามวิกาล จะรับมืออย่างไร

เพื่อนบ้านทะเลาะกัน เสียงดัง รบกวนช่วงเวลากลางคืนที่แสนผ่อนคลายในบรรยากาศเงียบสงบ เป็นเวลาที่คุณกำลังจะเคลิ้มหลับ แต่จู่ ๆ ก็มีเสียงดังเอะอะโวยวาย ทะเลาะกันข้างห้องในคอนโดของคุณ ปัญหานี้คงทำให้คุณปวดหัวและหงุดหงิดเป็นอย่างมาก เพราะเสียงคนทะเลาะกัน บางครั้งอาจทำให้คุณตกใจ เป็นมลพิษทางเสียงที่สร้างความรำคาญทำให้เสียสุขภาพจิตเป็นอย่างมากเลยทีเดียว โดยตามกฎหมายมีวิธีจัดการกับเพื่อนบ้านที่ส่งเสียงดัง

ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดโทษผู้ก่อให้เกิดเสียง 


มาตรา 370

ผู้ใดส่งเสียงหรือทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควรจนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

มาตรา 372

การทะเลาะกันอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานก็อาจทำให้ผู้ทะเลาะเบาะแว้งส่งเสียงดังอื้ออึง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

สรุปคือ เมื่อเพื่อนบ้านของคุณทะเลาะกันเสียงดัง คุณสามารถแจ้งต่อทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ระงับเหตุทะเลาะวิวาท โดยมีบทลงโทษตามมาตรา 372 คือ ปรับไม่เกิน 500 บาท เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก



ปัญหาการส่งเสียงดังรบกวนที่พบบ่อยในยามวิกาล

เพื่อนบ้านรบกวนนอกจากปัญหาเพื่อนบ้านจัดปาร์ตี้ และทะเลาะกันเสียงดังแล้ว ปัญหาการส่งเสียงดังรบกวนอื่น ๆ ในยามวิกาลที่พบอยู่บ่อย ๆ ในการอาศัยอยู่ในคอนโดยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เสียงดังจากการเปิดโทรทัศน์ และวิทยุ สัตว์เลี้ยง การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ และการเล่นเครื่องดนตรี เป็นต้น หากเสียงเหล่านั้นก่อให้เกิดความรำคาญ และเกิดขึ้นเป็นประจำก็สามารถใช้กฎหมายคอนโดในการจัดการกับเพื่อนบ้านได้เช่นกัน โดยตามกฎหมายระบุไว้ดังนี้

มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้นหรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้

ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 623 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่วนที่ 5 เกิดขึ้นอีก
เพื่อนบ้านเสียงดัง น่ารำคาญ

และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการ กระทำการละเลยหรือการยินยอมของเจ้าของโครงการหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นๆ เจ้าของโครงการหรือผู้ครอบครองเจ้าของห้องดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเทียบปรับนั้น ในกรณีที่เจ้าหน้าที่พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของบุคคลอื่นๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามมิให้เจ้าของโครงการหรือผู้ครอบครองใช้หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้



กรณีเสียงดังที่เกิดจากซ่อมแซมหรือต่อเติมห้องภายในคอนโด

ซ่อมบ้าน เสียงดังหากใครที่พักอาศัยในคอนโดจะทราบว่า การต่อเติมหรือบิวท์อินที่เป็นงานใหญ่ๆ เรื่องเสียงเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าห้ามไม่ได้ ดังนั้นเกือบทุกโครงการจะแจ้งผู้อาศัยที่ต้องการซ่อมแซมหรือต่อเติมห้องให้นัดช่างมาทำการในช่วงของวันปกติคือ จันทร์ - ศุกร์ เวลากลางวันเท่านั้น ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ โครงการส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตให้ช่างเข้ามาเพราะจะเป็นการรบกวนการพักผ่อนของผู้อาศัยคนอื่นๆ ในช่วงวันหยุด



กรณีเสียงดังรบกวนจากประตูหนีไฟ

ประตูหนีไฟอีกปัญหาคือเสียงดังจากประตูหนีไฟ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของใครหลายคนที่ตัดสินใจเลือกห้องที่ติดกับบันไดหนีไฟ แม้วัตถุประสงค์ของการสร้างประตูหนีไฟเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินแต่ก็มีคนที่ไม่คิดเช่นนั้น ใช้ประตูหนีไฟเป็นทางลัดในการเดินขึ้นลงเป็นว่าเล่น ซึ่งปัญหานี้การแก้ไขในขั้นตอนคือการพูดจาประนีประนอม ลำดับต่อไปหากไม่ดีขึ้นยังมีการกระทำเหมือนเดิมต้องแจ้งนิติบุคคลของโครงการให้รับทราบและแก้ไข และท้ายที่สุดหากยังไม่ดีขึ้นกฎหมายคอนโดเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ดีที่สุดที่จะช่วยไกล่เกลี่ยและระงับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

จากข้อกฎหมายข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า

หากเพื่อนบ้านของคุณส่งเสียงดังยามวิกาล อันเป็นเหตุก่อให้เกิดความรำคาญและสร้างความเดือดร้อน ในเบื้องต้นสามารถแจ้งต่อทางนิติบุคคลให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา หากยังเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกสามารถแจ้งต่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ออกคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งต่อเจ้าของโครงการคอนโด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และหากเจ้าของโครงการละเลย ตามกฎหมายสามารถเอาผิดได้โดยการเทียบปรับ


วิธีจัดการกับเพื่อนบ้านด้วยกฎหมายคอนโดนั้น เป็นเรื่องที่ผู้อยู่อาศัยในคอนโดควรทราบ เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะได้รู้แนวทางในการแก้ไข เพราะบางครั้งหากเพื่อนบ้านของคุณส่งเสียงดังสร้างความรำคาญ เมื่อมีการตักเตือนแล้ว แต่ยังเกิดปัญหาซ้ำอีก อาจทำให้บางคนใช้วิธีว่ากล่าวด้วยอารมณ์และถ้อยคำที่รุนแรง ซึ่งจะเป็นเหตุนำไปสู่การทะเลาะวิวาทได้

ทางออกที่ดีที่สุดคือการใช้กฎหมายในการแก้ปัญหา เพื่อจัดการให้ทุกอย่างจบอย่างถูกต้องและราบรื่น




อ้างอิง https://home.kapook.com/view102341.html

http://womenways.club

http://www.thaihealth.or.th

http://advisor.anamai.moph.go.th

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์