รูปบทความ จังหวะชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามทำนองของยุคสมัย

จังหวะชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามทำนองของยุคสมัย

เมื่อพูดถึงลักษณะนิสัยและพฤติกรรมการแสดงออกไปแล้ว รวมไปถึงได้ทำความรู้จักกับความเชื่อในการทำงาน ว่าคนแต่ละเจนมีความชอบทำงานลักษณะไหน หรือทำงานไปทำไมกันไปแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่มีความแตกต่างกันในแต่ละเจนและน่าสนใจที่จะศึกษา คือเรื่องค่านิยมการสร้างครอบครัวของคนแต่ละเจน ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับการมีคู่ครองไปจนถึงการให้กำเนิดบุตร รวมไปจนถึงค่านิยมการศึกษาต่อและการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัย


จากเดิมที่คนในสมัยก่อนมักจะเชื่อว่าการมีครอบครัวนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเริ่มไปพร้อมกันกับช่วงทำงานได้ พอเวลาผ่านไปคนสมัยใหม่มักคิดอยากจะให้ตัวเองนั้นมั่นคงและมีความพร้อมในระดับหนึ่งก่อนจึงจะเริ่มมองหาคู่และเริ่มต้นสร้างครอบครัวต่อไป จนในปัจจุบันการมีคู่ครองเป็นเรื่องที่หลายคนเริ่มให้ความสำคัญน้อยลง บางรายถึงกับตั้งใจจะเป็นโสดไปตลอดชีวิต และดูจะไม่ใช่ความคิดของคนกลุ่มน้อยเสียด้วย ทั้งนี้เพราะยุคสมัยยิ่งผ่านไป ความต้องการสร้างครอบครัวยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ จนในบางประเทศภาครัฐต้องออกมากระตุ้นด้วยมาตรการต่างๆกันเลยทีเดียว


ในบทความนี้ Esto จะพาไปทำความรู้จักจังหวะชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามทำนองของยุคสมัย ที่กล่าวถึงค่านิมการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงอายุ ทั้งการศึกษาต่อ ไปจนถึงการสร้างครอบครัวของคนแต่ละเจนว่าจะมีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง


Gen-B

คนช่วงเจนนี้จะนิยมมีครอบครับตั้งแต่ก่อนอายุ 30 มักจะมีลูกมากกว่าหนึ่งคนและจะอยู่รวมกันหมดแทบจะไม่มีการแยกไปอยู่กันเอง ถึงแม้ลูกหลานให้กำเนิดบุตรออกมาอีกก็จะอยู่รวมกันในบ้านหลังนั้น ทำให้ครอบครัวไทยสมัยก่อนจะเป็นครอบครัวใหญ่นามสกุลเดียวกันหมด


จนกลายเป็นความเชื่อและประเพณีกันไปเลยว่าคนนามสกุลเดียวกันต้องอยู่บ้านเดียวกัน แม้แต่ในต่างชาติบางประเทศโดยเฉพาะในเอเชียก็มีความเชื่อนี้เช่นกัน คือต้องอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ อย่างเช่นประเทศจีน ก็อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่แสดงถึงบารมีและอำนาจของตระกูลนั้นๆ ด้วย


ในเรื่องของการศึกษาต่อนั้น คนเจนนี้มองว่าจบการศึกษาเพียงแค่ระดับต้นๆก็เพียงพอที่จะทำงานเลี้ยงตนเองในชีวิตประจำวันได้ หรือหากใครที่อยากจะทำงานข้าราชการก็จำเป็นจะต้องเรียนสูงขึ้นมาอีกขั้น แต่ทั้งนี้เป็นการเรียนเพื่อมีความรู้ประดับตัวหรือไว้ทำงานเท่านั้นไม่ได้สนใจว่าเป็นสิ่งที่ชอบหรือไม่ หรืออยากเอาไปต่อยอดในด้านที่ตนถนัด


Gen-X

เวลาผ่านไป สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ผู้หญิงได้รับการยอมรับให้มีบทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้มีโอกาสมากขึ้น เช่น สามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ เมื่อผู้หญิงโฟกัสกับการสร้างครอบครัวน้อยลง อายุเฉลี่ยแรกสมรสของชาวนี้จึงสูงกว่าเบบี้บูมเมอร์


ในด้านการมีลูกเพื่อให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์ เจนนี้จะเป็นเจนที่คาบเกี่ยวระหว่างเบเบี้บูมเมอร์กับเจนวาย โดยเบบี้บูมเมอร์จะนิยมมีลูกเป็นจำนวนมากในครอบครัว ส่วนเจนเอ็กซ์นี้จะลดลงมาจากบ้านละห้าคนอาจจะแหลือบ้านละสามคนเป็นต้น


Gen-Y

เป็นเจนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนหากเทียบกับเบบี้บูมเมอร์ จากการสำรวจคนเจนนี้ในช่วงอายุ 25-29 มีความคิดจะแต่งงานอยู่ที่ 46-61% ในขณะที่เบบี้บูมเมอร์จะอยู่ที่ 76-84% เลยทีเดียว


แม้ว่าเจนนี้จะเลื่อนอายุการแต่งงาน แต่ยังให้ความสำคัญกับรูปแบบการแต่งงานที่ควรมีการจัดงานแต่งและจดทะเบียนสมรสให้เรียบร้อยก่อนจึงจะสามารถอยู่กินกันได้ แม้จะมีส่วนน้อยอยู่บ้างที่มองว่าอยู่กินกันไปก่อนแล้วค่อยจัดงานแต่ง จดทะเบียนสมรสกันก็ได้ หรืออาจจะอยู่กินกันโดยไม่มีการจัดงานแต่งงานเลยก็มี


เหตุผลสำคัญที่ให้ชาวเจนนี้เลือกที่จะอยู่อิสระเป็นโสดมากกว่าแต่งงานมากขึ้น จากงานวิจัยพบว่าเพศหญิงในเจนวายนี้อยากใช้ชีวิตอิสระสูงถึง 36% และเพศชายอยู่ที่ 24% และยังมีความกังวลถึงปัญหาในสังคมต่างๆแทนลูกในอนาคตว่าสังคมปัจจุบันมีปัญหามาก ไม่อยากให้ลูกต้องเกิดมาแล้วเผชิญกับปัญหาเหล่านี้


Gen-Z

ชาวเจนนี้เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2544 ทำให้ยังไม่ถึงช่วงที่จะมีครอบครัวได้ตามหลักความเป็นจริง แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ไม่ได้ศึกษาต่อแล้วเลือกที่จะมีครอบครัวก่อน อาจเกิดจากความผิดพลาดเสียส่วนใหญ่


ทำให้ชาวเจนนี้เรียกได้ว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะมีครอบครัว แต่จากการสำรวจพบว่า ชาวเจนนี้มีความต้องการอยากมีครอบครัวในช่วงอายุ 25-29 ต่ำลงจากเจนวายไม่มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่ายังไม่ใช่เวลาที่จะต้องมาคิดเรื่องครอบครัว เพราะส่วนใหญ่อยู่ในช่วงกำลังศึกษา เป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจจะมีความคิดที่เปลี่ยนไป


และนี่เป็นเรื่องราวของค่านิยมของแต่ละเจนในแต่ละช่วงวัย เกี่ยวกับการมีครอบครัวที่แตกต่างกันออกไป โดยมีแนวโน้มที่ลดลงเริ่มตั้งแต่เจนเอ็กซ์เป็นต้นมา ในบทความหน้า Esto จะพาไปศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการเลือกที่อยู่อาศัยของคนแต่ละเจนว่าเลือกอย่างไร และมีเหตุผลอย่างไรที่นิยมเลือกอยู่อาศัยแบบนั้น


บทความที่น่าสนใจ

‘ก้าวสู่วัยทำงาน’ ควรบริหารเวลาจัดการชีวิตและการเงินอย่างไรให้ไม่สะดุด

สิ่งแวดล้อมหลอมนิสัย เหตุใดเวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน

Gen ไหน ทำงานยังไง สไตล์การทำงานที่ปรับตามกาลเวลา

รูปแบบการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

นิยามความสำเร็จที่แตกต่างของแต่ละ Generation


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์