รูปบทความ ที่จอดรถ ภายในกรุงเทพ กับมาตรการลดที่จอดรถใกล้รถไฟฟ้า

ที่จอดรถ ภายในกรุงเทพ กับมาตรการลดที่จอดรถใกล้รถไฟฟ้า

ณ ปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเมืองทั่วไปเริ่มหันมาซื้อรถเป็นของตัวเองเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ด้วยเหตุผลหลายอย่างที่ชี้ชัดให้เห็นว่าการเอาเวลาไปทิ้งบนระบบคมนาคมสาธารณะไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากลับมาเท่าไหร่นัก



สำหรับเรื่องนี้อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เคยกล่าวไว้ว่าสถานการณ์ด้านคมนาคมของไทยชี้ให้เห็นว่านโยบายของรัฐบาลชุดเก่า เช่น รถคันแรก ให้ความสำคัญกับรถยนต์ส่วนตัวมาก พิสูจน์ได้จากการทุ่มงบประมาณด้านการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท เมื่อปี 2559


"ประเทศเราเสพติดถนน สร้างถนนมหาศาล และไม่เคยคิดว่าเป็นกำไรหรือขาดทุน เพราะถนนไม่เคยเก็บเงิน ทุกคนใช้ฟรี เป็นสิ่งก่อสร้างที่น่าอิจฉา ไม่มีใครมองว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้รถยนต์ส่วนตัวได้รับความนิยมมาก งบสร้างและซ่อมเป็นแสนล้านต่อปี ขณะที่การลงทุนด้านอื่นอย่างรถไฟ รถเมล์ ทุกอย่างถูกตั้งคำถามเรื่องกำไรขาดทุนหมด”


อดีตรมว.คมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่าปัจจุบันคนในกทม.มีรถยนต์ส่วนตัวประมาณ 4 ล้านคัน รถเมล์ 5 พันคัน ในทางกลับกันอาจวิ่งจริงเพียง 3 พันคันเท่านั้น รวมถึงรถตู้โดยสารที่มีให้บริการประมาณ 5 พันคัน แม้ในปัจจุบันจะมีรถไฟฟ้าทั้ง BTS และ MRT ให้บริการเพิ่มขึ้นแค่ไหนก็ไม่สามารถทำให้รถส่วนตัวน้อยลงได้ ด้วยปัจจัยที่ว่ามันเกิดการชำรุดบ่อยครั้งจนประชาชนเลิกฝากความหวังไว้ที่ระบบขนส่งสาธารณะ


นอกจากนี้ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าถนนสาธารณะเป็นที่จับจองของรถส่วนตัว และหากมองไปที่อัตราการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ส่วนตัวซึ่งมากกว่าอัตราการเกิดของประชากรในช่วง 8 ปีหลัง ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าเป็นผลจากนโยบายรถคันแรก ยิ่งชัดเจนว่าคนยุคใหม่ให้ความสำคัญของรถส่วนตัวนั้นมีมากขนาดไหน



ในเรื่องของมาตรการในการลด-เลิก พื้นที่จอดรถเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยหันมาเดินทางโดยรถไฟฟ้า รวมถึงมุ่งหวังให้ลดความแออัดคับคั่งในเขตเมืองชั้นใน ตรงส่วนนี้ภาครัฐและภาคเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะสามารถนำพื้นบริเวณดังกล่าวมาเพิ่มพื้นที่ขายคอนโดมิเนียมได้มากขึ้น ส่งผลให้ราคาคอนโดมิเนียมถูกลง


นอกจากนี้ภาคเอกชน ยังได้เสนอให้ยกเลิกเรื่องที่จอดรถในคอนโดมิเนียมทั้งหมดโดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้ากลางเมือง รวมถึงมีคำสั่งให้เอกชนตลอดจนหน่วยงานรัฐพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาถูกบนที่ดินรัฐ โดยมองว่าศักยภาพของทำเลนั้น ๆ สามารถทำประโยชน์รูปแบบมิกซ์ยูสได้ เช่น ทำศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน หรือคอนโดมิเนียมหรู


ท้ายที่สุดแล้วมาตรการนี้จะนำสิ่งที่ดีมาสู่ชีวิตคนเมืองหรือเพิ่มปัญหาบานปลายในอนาคตหรือไม่ คงต้องรอติดตามกันต่อไป


บทความที่น่าสนใจ

ผุดไอเดียใหม่! ยกเลิกที่จอดรถคอนโด ใครจะได้ใครจะเสีย คำตอบอยู่ที่นี่!?

เคยสงสัยไหม ทำไมกรุงเทพคนเยอะ

ใครๆ ก็อยากอยู่ในเมืองกรุง แล้วเมืองกรุงทำอย่างไร

เมื่อกรุงเทพกลายเป็นบ้านหลังที่สองของคนมากมาย

ค่าครองชีพ ปัญหาทุกข์ใจของชนชาวกรุง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์