รูปบทความ ฝั่งธนฯ รุ่งพุ่งกระฉูด กลายเป็น 'ซิตี้คอนโด' ใหม่ในอนาคต

ฝั่งธนฯ รุ่งพุ่งกระฉูด กลายเป็น 'ซิตี้คอนโด' ใหม่ในอนาคต

พื้นที่ฝั่งธนบุรี แต่เดิมนั้นถือว่าความเจริญอาจจะไม่เทียบเท่าฝั่งพระนคร ด้วยเป็นย่านเมืองเก่าแผนการขยายตัวเมืองจะเอียงไปทางรัชดา อโศก สาธร สีลม จนไปถึงลาดพร้าวมากกว่า ต่อมามีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าออกไปรอบๆ ชานเมืองทำให้พื้นที่บริเวณฝั่งธนฯ เริ่มคึกคักขึ้นมา ด้วยการคมนาคมที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้นในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง ทำให้ผู้คนขยับขยายไปอยู่อาศัยในฝั่งธนมากขึ้น อีกทั้งความเจริญต่างๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ถนนที่มีการขยายเส้นทาง หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัยโดยฉพาะรูปแบบคอนโด จนปัจจุบันฝั่งธนฯ กำลังกลายเป็น "ซิตี้คอนโด" ในอนาคตอันใกล้นี้


ทำไมฝั่งธนฯ ถึงกำลังจะกลายเป็น 'ซิตี้คอนโด' ใหม่ในอนาคต


มีเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อฝั่งธนบุรีอย่างทั่วถึง

ทุกวันนี้เทรนด์เมืองหลังจากที่โครงการรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ส่วนต่อขยายแล้วเสร็จทำให้ชุมชนใหม่เริ่มขยายตัว ราคาที่อยู่อาศัยก็เริ่มปรับขึ้นแต่ไม่มากนัก เพราะยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ FAR (อัตราส่วนของพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน) ตามกฎหมายผังเมืองรวม ที่กำหนดไว้ไม่เอื้อต่อการพัฒนาโครงการมากนัก แม้ว่าตัวเมืองจะเจริญมากแค่ไหนหรือมีรถไฟฟ้าตัดผ่านก็ตาม สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับฝั่งธนฯนั้น จะขอเล่าถึงรถไฟฟ้าทีละสีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) สายสีลม (ฝั่งธนบุรี) ที่เชื่อมต่อจากสถานีสุรศักดิ์ คือสถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ โพธิ์นิมิต ตลาดพลู วุฒากาศ และบางหว้า ส่วนช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน คาดทำตามแผนหากเริ่มก่อสร้างในปี 2561 จะแล้วเสร็จในปี 2563 รถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะช่วยแก้ไขเรื่องการจราจรฝั่งธนบุรี และยังถือว่าเป็นการเปิดพื้นที่การพัฒนาเชิงพาณิชย์แห่งใหม่ได้ในพื้นที่กรุงเทพฯ โซนตะวันตก  





รถไฟฟ้าสายสีม่วง (MRT) เชื่อมต่อกับสถานีสะพานนั่งเกล้า คือ สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรักใหญ่ สถานีบางพลู สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ และสถานีคลองไผ่ อีกฝั่งเป็นรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ สายอนาคต คือ จะเชื่อมต่อจากสถานีวังบูรพา คือ สถานีสะพานพุทธ สถานีวงเวียนใหญ่ (เชื่อมต่อกับสายสีแดงอนาคต) สถานีสำเหร่ สถานีจอมทอง สถานีดาวคะนอง สถานีบางปะกอก สถานีประชาอุทิศ สถานีราษฎร์บูรณะ สถานีพระประแดง และสถานีครุใน ซึ่งคาดว่าจะเปิดใช้ในปี 2563



รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (MRT) ที่เชื่อมต่อจากสถานีบางโพ คือ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานี สิรินธร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงอนาคตและสายสีส้มสายอนาคต) สถานีแยกไฟฉาย สถานีจริญสนิทวงศ์ ไปบรรจบที่สถานีท่าพระ อีกฝั่งที่เชื่อมต่อจากสถานีสนามไชย คือสถานีอิสรภาพมาบรรจบกับสถานีท่าพระ แล้วไปต่อยังสถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า (เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวสถานีบางหว้า BTS) สถานีเพชรเกษม48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค สถานีหลักสิง สถานีพุทธมณฑล สาย2 สถานีทวีวัฒนา สถานีพุทธมณฑล สาย3 และสถานีพุทธมณฑล สาย4 รวมๆ แล้วรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายที่ข้ามมายังฝั่งธนมีมากถึง 19 สถานี โดย เส้นทางหัวลำโพง-บางแคจะสามารถเปิดให้บริการได้จริงภายในเดือนกันยายน 2562 ส่วนเส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ จะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมีนาคม 2563



รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนที่เชื่อมต่อมายังฝั่งธนฯ


สายสีแดงอ่อน ที่เชื่อมต่อกับสถานีสะพานพระราม 6  สถานี บางกรวย กฟผ. สถานีบางบำหรุ สถานีชุมทางตลิ่งชัน และไปสิ้นสุดที่สถานีบ้านฉิมพลี แต่โครงการนี้สร้างเสร็จแล้ว แต่ยังเปิดให้บริการไม่ได้ เพราะต้องรอเชื่อมระบบเขากับรถฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิตก่อน


ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย)  ช่วงที่อยู่ในฝั่งธนฯ เป็นสายอนาคต ส่วนระยะที่ 3 หัวลำโพง-บางบอน ระยะทาง 18 กม. และระยะที่ 4 บางบอน-มหาชัย จะเริ่มดำเนินโครงการหลังปี 2562 รวมรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มฝั่งธนมีถึง 17 สถานีด้วยกัน


ถ้ารถไฟฟ้าทุกสายเปิดใช้บริการแล้ว ย่านฝั่งธนจะถือว่าเป็นบริเวณชานเมืองที่มีการเชื่อมต่อของการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้ครอบคลุมก่อนพื้นที่อื่นเลยทีเดียว จุดที่น่าสนใจที่สุดคือบริเวณที่จะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าแต่แต่ละสาย อย่าง สถานีท่าพระ ซึ่งจะเป็น สถานี interchange ที่จะทำให้แยกท่าพระ จากเดิมก็มีความสำคัญมากสำหรับเป็นจุดเชื่อมต่อของถนนสายหลัก ยังจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าในย่านฝั่งธนอีกด้วย  


ทำให้มั่นใจได้ว่าแยกท่าพระนั้นจะมีความสำคัญและคึกคักไม่น้อยกว่าสถานีสยามที่เป็นสถานี interchange ของ รถไฟฟ้า BTS ในปัจจุบันอย่างแน่นอน


ผู้คนกระจายตัวมาอยู่อาศัยแถบชานเมือง

การมาถึงของรถไฟฟ้านั้น ถือว่าเป็นหลักการนั้นการขยายตัวเมือง ลดการกระจุกตัวของประชากรลง ด้วยการทำให้การเดินทางมีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถมองหาคอนโดที่พักอาศัยชานเมืองมากยิ่งขึ้น ด้วยราคาที่ถูกกว่า ความแออัดที่น้อยกว่า ทำให้สามารถเดินทางมาทำงานได้สะดวก คอนโดในแถบชานเมืองจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมาก และเหมาะสำหรับผู้คนที่อยากหลีกหนีความแออัดของสังคมเมือง



พื้นที่ส่วนไหนของฝั่งธน ฯ จะกลายเป็นทำเลทองของซิตี้คอนโด  


แยกท่าพระ - ปิ่นเกล้า

เดิมนั้นแยกท่าพระก็เป็นย่านสำคัญของการคมนาคมโดยรถยนต์ ด้วยเป็นจุดตัดของถนนเส้นหลักถนนเพชรเกษม, ถนนรัชดาภิเษก, ถนนจรัญสนิทวงศ์ ทั้งยังเชื่อมต่อไปยังถนนราชพฤกษ์ ได้อีกด้วย และเมื่อรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการพื้นที่บริเวณนี้ยิ่งมีความสำคัญ เพราะจะเป็นสถานี interchange  ของรถไฟฟ้าสายหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค และรถไฟฟ้าช่วง บางซื่อ-ท่าพระ จะทำให้จุดนี้จะมีทางเข้าออกสถานีมากถึง 10 ช่องทางด้วยกัน แล้วยังสามารถต่อการเดินทางด้วยรถยนต์ไปในแนวถนนจรัญสนิทวงศ์-รัชดาภิเษก, แนวถนนเพชรเกษมมุ่งหน้า บางแคได้  

สี่แยกท่าพระจุดเชื่อมต่อสำคัญ ทั้งทางรถยนต์ในปัจจุบันและรถไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้

การก่อสร้างจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบริเวณสี่แยกท่าพระ


แยกตลาดพลู

แยกตลาดพลู เป็นอีกจุดที่จะเป็นสถานี interchange ในอนาคต มีความเจริญในพื้นที่รอบๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาด, ศูนย์การค้าอย่าง เดอะมอลล์ท่าพระ  รวมทั้งศูนย์รวมร้านค้าที่อยู่ใกล้ๆ กัน นับว่าเป็นย่านที่คึกคักอีกย่านหนึ่ง ผู้คนเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่โดยเฉพาะ Developer นักลงทุนด้านอสังหาก็เข้ามาปักหมุดงเสาเข้มเป็นจำนวนมาก

ถนนกว้างที่เชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์ ถนนรัชดาภิเษก และถนนเพชรเกษม

ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าตลาดพลูมีคอนโมิเนียม High Rise อย่าง  Aspire สาทร-ท่าพระ ที่สูงตระหง่านอยู่ไม่ไกลนัก

ไม่ไกลจากแยกท่าพระมีเดอะมอลล์ท่าพระ ที่เชื่อมด้วยสะพานลอยไปอีกฝั่งที่เป็นตลาด ศูนย์รวมร้านค้าต่างๆ นับว่าเป็นแลนมาร์คที่ทำให้ทำเลแถบนี้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

ใกล้ๆ กับสถานีตลาดพลู จะมีสถานีของรถ BRT คือสถานีราชพฤกษ์ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางให้บริการ


ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ผู้ที่สนใจซื้อคอนโดฝั่งธนบุรี จะเล็งบริเวณนี้เป็นพิเศษ ซึ่งจากการสำรวจเมื่อต้นปี 2016 พบว่ามีคอนโดที่เปิดใหม่ และกำลังขายอยู่บริเวณแยกท่าพระ-ปิ่นเกล้า และ แยกตลาดพลู มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายอยู่ 12 แห่ง ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 35,000 – 110,000 บาทต่อตารางเมตร* ซึ่งถือว่าเป็นตลาดซิตี้คอนโดที่น่าสนใจเลยทีเดียว 


บางหว้า ( BTS บางหว้า- MRT บางหว้า)

อีกหนึ่งทำลที่น่าสนใจชองฝั่งธนฯ คือ บางหว้า รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS บางหว้า ที่เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย MRT บางหว้า ยิ่งความสะดวกสบายมีมากเท่าไหร่ ทำเลแถบนั้นก็ยิ่งน่าสนใจและมีการงทุนมากขึ้นเท่านั้น

จะสังเกตเห็นว่าใกล้กับสถานีรถไฟฟ้ามีคอนโดอยู่ใกล้ๆ  

ในอีกไม่ช้าความเจริญก็จะเข้ามาเติมเต็มทำเลฝั่งธนฯ โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดจะเป็นทำเลยที่อยู่ใกล้ๆ กับสถานีรถไฟฟ้า

ยอกจากการเดินทางด้วยการขนส่งสาธารณะแล้ว การเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็นับว่าม่แพ้กัน เพราะถนนย่านชานเมืองนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังถนนสายๆ อื่นๆ ได้มากกว่าถนนที่อยู่ตามกลางเมือง

ซิตี้คอนโดนั้นเป็นคอนโดราคาไม่แพง เป็นคอนโดฯ ที่มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตร หรือราคาคอนโดอยู่ที่ประมาณ 2 – 2.5 ล้านบาท โดยซิตี้คอนโดนั้นจะเน้นทำเลชานเมืองที่สามารถเดินทางได้สะดวกก็จะเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการซื้อคอนโดเพื่อเดินทางไปทำงานย่านกลางเมืองแต่ไม่สามารถซื้อคอนโดใจกลางเมืองได้


เมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมพื้นที่ย่านฝั่งธนได้สมบูรณ์ จะช่วยให้การเดินทางสะดวกแล้วยังจะส่งผลให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างตลาด แหล่งร้านอาหาร หรือห้างสรรพสินค้าจะปรับตัวเพื่อรองรับผู้คนที่จะมาอยู่อาศัย ทำให้พื้นที่โซนฝั่งธนคึกคักขึ้นมาก ส่งผลให้จะมีผู้อยู่อาศัยใหม่มีความต้องการจะซื้อคอนโดหรือที่พักอาศัยเป็นของตัวเองในบริเวณฝั่งธนบุรีมากขึ้นตามไปด้วย


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.wheredowego.in.th 





เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์