รูปบทความ เปิดโพลสำรวจประเทศไทย ทำไมมีดีสำหรับแค่ชาวต่างชาติ

คนไทยอยากออก คนนอกอยากเข้า ตอบคำถามทำไมต่างชาติอยากอยู่ไทย แต่คนไทยอยากหนี

ถ้าให้นิยามความเป็นไทยในยุคนี้ เราคงจะให้คำจำกัดความเป็นสำนวนสั้นๆ ว่า เป็นยุคที่ข้าวยาก หมากแพง ค่าครองชีพก็ดูจะแซงเงินเดือนไปหลายต่อหลายขุม ซึ่งนี่ก็ถือเป็นเรื่องอันดับ 1 ที่คนไทยรู้สึกเป็นกังวล

โดยได้รับการยืนยันจากสวนดุสิตโพลที่ออกสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ 1,273 คน ถึงความวิตกกังวลของคนไทยที่ยกให้เรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิตความเป็นอยู่ ปากท้อง รายได้ และค่าครองชีพที่สูงลิ่ว


แพงคนไทยแต่สบายต่างชาติ


ถึงแม้คนไทยจะลงความเห็นว่า ประเทศนี้ค่าครองชีพแสนจะแพง แต่ถ้าข้ามไปถามฝั่งชาวต่างชาติ ประเทศของเรากลายเป็น 1 ใน 10 อันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนวัยเกษียณเลยทีเดียว โดยจากการสำรวจและจัดอันดับประเทศน่าอยู่หลังเกษียณอายุจากทั่วทุกมุมโลกของ International Living ที่พิจารณาจากการขอวีซ่าเพื่อพักอาศัย ระบบสาธารณสุข สภาพภูมิอากาศ รวมถึงค่าครองชีพในปี 2019 พบว่า 


"ประเทศไทยของเราติดอันดับที่ 9 ของผลสำรวจประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนวัยเกษียณ โดยได้รับ 94 คะแนนจากประเด็นเรื่องค่าครองชีพ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดา 10 อันดับแรก แต่ได้รับเพียง 71 คะแนนจากการขอวีซ่าและเรื่องที่พักอาศัย ส่งผลให้คะแนนรวมเฉลี่ยของไทยทั้ง 4 หมวด อยู่ที่ 83.5 ตามหลังเพื่อนบ้านในย่านอาเซียนอย่างมาเลเซีย ที่รั้งอันดับที่ 5 โดยมีประเทศยุโรปเพียง 2 ประเทศ คือโปรตุเกส อันดับที่ 7 และสเปน อันดับที่ 10"


ซึ่งสาเหตุก็น่าจะเป็นเพราะบ้านเรามีความหลากหลายด้านวัฒนธรรมและประชากร ภูมิอากาศดี สามารถใช้ชีวิตและมีไลฟ์สไตล์ตอบรับกับผู้อยู่อาศัยทุกรสนิยม นอกจากนี้ไทยยังมีภูมิประเทศหลากหลายให้เลือกพักอาศัยตามความชอบของแต่ละคน มีตั้งแต่เมืองชายทะเล ไปจนถึงเมืองเชิงเขาที่มีอากาศเย็นสบายตลอดปี


ส่วนสนนราคาค่าที่อยู่อาศัยทั้งแบบเช่าและแบบซื้อก็มีให้เลือกหลายระดับตั้งแต่ราคาสูง ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์หรูหรา ไปจนถึงราคาแบบพอเพียง ซึ่งเรทราคารวมนั้นหากนำไปเปรียบเทียบกับประเทศในแถบอเมริกาเหนือก็ถูกกว่ามากทีเดียว  ซึ่งถ้าเราเป็นชาวต่างชาติที่มีรายได้กว่า 100,000 บาท การเลือกปักหลักที่อยู่อาศัยในประเทศที่มีค่าครองชีพถูกกว่าก็ถือเป็นทางออกสำหรับการใช้ชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น

และวิธีการซื้อที่อยู่อาศัยอย่าง 'คอนโด' ของชาวต่างชาติก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ถอนเงินจากบัญชีประเทศเดิมมาฝากไว้ที่บ้านเรา แค่นี้ชาวต่างชาติก็สามารถเป็นเจ้าของคอนโดในประเทศเราได้ง่ายๆ (อ่านกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายคอนโดเพื่อชาวต่างชาติได้ที่ ESTOPOLIS | รู้ยัง ชาวต่างชาติมีสิทธิ์ซื้อคอนโดในไทยได้เหมือนกัน)


คำถามต่อมาสำหรับคนไทยก็คือ การที่เรามองว่าค่าครองชีพมันแพงแสนแพงนี่ มันแพงจริงหรือเปล่า


ในเมื่อต่างชาติที่เข้ามาอยู่เขาว่าถูก แต่ทำไมคนไทยแท้ๆ กลับมองว่าแพง เรื่องนี้ ESTOPOLIS ของเราจึงลองค้นหาคำตอบมาให้ อ้างอิงจากเว็บไซต์ Numbeo ซึ่งทำข้อมูลเกี่ยวกับค่าครองชีพในกรุงเทพฯ ทั้งเรื่องสินค้าอุปโภคและบริโภค เครื่องแต่งกาย การเดินทาง ร้านอาหาร กีฬา สาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ 

รายได้เฉลี่ย (ต่อเดือน) ของคนไทย :

เฉลี่ยอยู่ที่ 24,295 บาท


รายจ่ายแบ่งตามประเภท :

  • ค่าอาหารชนิดไม่แพง (ต่อมื้อ) 80 บาท
  • ค่าอาหารตามร้านอาหารทั่วไป (สำหรับรับประทาน 2 คน ต่อมื้อ) 850 บาท
  • กาแฟคาปูชิโน่ (ต่อแก้ว) 77 บาท
  • เบียร์ไทย (ต่อขวด ขนาด 500 มิลลิลิตร) 58 บาท
  • เบียร์นอก (ต่อขวด ขนาด 330 มิลลิลิตร) 158 บาท
  • บุหรี่ (มาร์ลโบโร่ 1 ซอง) 145 บาท
  • แม็กโดนัลด์ (ต่อชุด) 190 บาท
  • กางเกงยีนส์ (ลีวาย 1 ตัว) 1,828 บาท
  • เสื้อผ้าร้านเชนสโตร์ เช่น Zara H&M (1 ตัว) 1,121 บาท
  • รองเท้าวิ่ง (ไนกี้ 1 คู่) 3,073 บาท
  • ค่าสมาชิกฟิตเนส (ต่อเดือน) 2,253 บาท
  • ค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ (ต่อเที่ยว) 34 บาท
  • ค่าเช่าที่อยู่อาศัยนอกเมือง (ต่อเดือน) 10,319 บาท
  • ค่าเช่าที่อยู่อาศัยในเมือง (ต่อเดือน) 21,233 บาท
  • ค่าส่วนกลาง (ที่อยู่อาศัยทั่วไป ขนาด 85 ตร.เมตร) 2,643 บาท
  • ค่าใช้งานอินเทอร์เน็ต 774 บาท
  • ค่าเทอม รร.อนุบาลไทย (ต่อเดือน) 10,096 บาท
  • ค่าเทอม รร.ประถมนานาชาติ (ต่อปี) 415,267 บาท

เมื่อนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาเฉลี่ยต่อเดือนแบบไม่รวมค่าที่อยู่อาศัย คนกรุงเทพฯ จะเสียเงินเฉลี่ย 21,007 บาท/เดือน ซึ่งเกือบจะเทียบเท่ากับรายได้


และยิ่งเมื่อนำไปเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างสิงคโปร์ที่ได้ชื่อว่า มีค่าครองชีพที่แพงที่สุด โดยมีดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 91.40 ประเทศไทยก็ยังไม่ทิ้งห่างโดยเรามีดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 48.91 ซึ่งถือว่าเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค แต่รายได้ของชาวสิงคโปร์กลับมีมากกว่าเราถึง 290.29% หรือสูงประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ด้านการกู้สินเชื่อมาซื้อที่อยู่อาศัย ยังได้เรทดอกเบี้ยที่ถูกกว่าไทยถึง 59.85% นั่นแสดงให้เห็นว่า แม้สิงคโปร์จะมีค่าครองชีพแพงที่สุด แต่ในด้านคุณภาพชีวิตก็ดีไม่แพ้ใคร


นี่จึงอาจเป็นคำตอบแล้วว่า ทำไมคนไทยถึงอยากออก แต่คนนอกอย่างชาวต่างชาติถึงอยากได้เข้ามา Expat ที่บ้านเรากันนัก


พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการลงทุนกับชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ

สำหรับฝั่งอสังหาฯ และนักลงทุนนี่ถือเป็นโอกาส เพราะการที่ชาวต่างชาติทั้งที่มาทำงานและเข้าสู่วัยเกษียณมีการเดินทางมาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดธุรกิจหนึ่งในด้านอสังหาฯ บ้านเราที่น่าสนใจ นั่นก็คือ การปล่อยเช่าคอนโดเพื่อชาวต่างชาติ เพราะชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักในไทยมักจะตามหาคอนโดไว้เพื่ออยู่อาศัยโดยระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ 1 ปีไปจนถึงเป็น 10 ปีเลยทีเดียว ซึ่งรายละเอียดของธุรกิจซื้อขายคอนโดเพื่อชาวต่างชาติจะมีอะไรบ้าง สามารถตามอ่านต่อกันเลยได้ที่ :

ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสที่จะช่วยทำให้เราต่อสู้กับค่าครองชีพสูงลิ่วนี้ได้อีกทาง

ส่วนใครที่อยากติดตามข่าวสารเกี่ยวกับตลาดอสังหาฯ และการลงทุนก็อย่าลืมติดตาม Estopolis ได้ในช่องทาง Facebook และ Youtube ได้เลย!


บทความที่เกี่ยวข้อง : 

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์