รูปบทความ คนวงในแนะ 'มาตรการใหม่ LTV' ถ้าอยากกระตุ้นตลาดต้องใช้วิธีนี้

คนวงในแนะ 'มาตรการใหม่ LTV' ถ้าอยากกระตุ้นตลาดต้องใช้วิธีนี้

คนในวงการอสังหาฯ แนะ ถ้าอยากกระตุ้นตลาดให้คึกคัก ควรออกมาตรการ LTV ใหม่ให้อสังหาฯหลังที่สองกู้ได้ 100% เหตุเพราะยังมีดีมานด์ต้องการอยู่


อย่างที่ทุกคนได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มาตรการ LTV ฉบับใหม่ที่ออกมานั้นให้ผู้ซื้ออสังหาฯสัญญาแรกได้เงินกู้ 100% และเพิ่มอีก 10% สำหรับการตกแต่ง จากเดิมที่ให้กู้ได้เพียง 90-95% เท่านั้น ส่วนอสังหาฯสัญญาหลังที่ 2 ยังคงต้องวางเงินดาวน์ 10-20% อยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ปรับลดเวลาให้คนที่ผ่อนสัญญาหลังแรกมากกว่า 2 ปีให้วางเงินดาวน์ 10% ขณะที่มาตรการเดิมต้องมากกว่า 3 ปี ไม่อย่างงั้นจะต้องวางเงินดาวน์ 20%



ยังกระตุ้นตลาดไม่ได้ เพราะยังติดปัญหาเงินดาวน์หลังที่ 2 อยู่


จากข้อมูลด้านบน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คนในวงการอสังหาฯ ต่างวิเคราะห์ว่าการปรับ LTV ใหม่นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ยังไม่ช่วยกระตุ้นตลาดได้มากมายอย่างที่คิดไว้ ยกตัวอย่างเช่น ความคิดเห็นของ นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษา-แวลู บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท ที่กล่าวไว้ว่า


"การกู้เงินซื้อบ้านสัญญาที่ 2 ยังไม่ได้แก้ไขให้ซื้อง่ายโอนคล่อง 100% เพราะต้องรอให้มีการผ่อนสัญญาแรก 2 ปีอยู่ดี แนวโน้มภาพรวมอาจทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยดูดีขึ้นมาได้บ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่จะหวังให้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยคงยาก"



ซึ่งความคิดเห็นของนายประเสริฐนี้สอดคล้องกับ นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย "กำลังซื้อบ้านหลังแรกไม่ได้หายไปไหน แต่แบงก์ชาติไปเติมเงินให้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ เท่ากับไม่ได้ช่วยให้เพิ่มยอดขายบ้าน เพราะคนซื้อหลังที่ 2 ยังติดปัญหาเงินดาวน์ รวมทั้งที่ปรับเงื่อนไขการผ่อนหลังแรกจาก 3 ปีเหลือ 2 ปีก็แทบไม่แตกต่างจากของเดิม"


ก่อนที่นายไตรเดชะจะให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า "ขณะที่ดีมานด์คนมีบ้านหลังแรกแล้วอยากอัพเกรดซื้อหลังใหญ่ขึ้น จากคอนโดฯ มาซื้อทาวน์เฮาส์ มาซื้อบ้านเดี่ยว ซึ่ง LTV ยังเป็นอุปสรรค"



วิธีการกระตุ้นตลาดอสังหาฯ โดยใช้มาตรการ LTV


ถึงแม้บ้านและคอนโดจะอยู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างเรื่องรายละเอียดและพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้า โดยคอนโดจะมีการซื้อเพื่อเก็งกำไรมากกว่าบ้าน ขณะที่คนซื้อบ้านส่วนใหญ่จะซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง เพราะฉะนั้นการออกมาตรการคุมเข้ม LTV ควรแยกคอนโดกับบ้านออกจากกันให้ชัดเจน


"LTV ที่ปรับใหม่ยังควบคุมสินเชื่อบ้านกับคอนโดฯ หลังที่ 2 โดยใช้เกณฑ์เดียวกัน ทั้ง ๆ ที่สินค้าบ้านแนวราบ 99.9% ซื้ออยู่จริง ต่างกับคอนโดฯที่เก็งกำไรมากกว่า การออกมาตรการมาควบคุมจึงต้องแยกกันทำ ไม่ใช่ควบคุมแบบเหมารวมทำให้กระทบลูกค้าเรียลดีมานด์"



นอกจากนี้นายไตรเดชะ ยังให้ความเห็นอีกว่าการบังคับใช้ LTV ควรเลื่อนออกไปหลังจากช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว และถ้าจะปรับใหม่ก็ควรแก้ไขให้มันกระตุ้นภาพรวมตลาดในภาพใหญ่ได้


"ผมเห็นด้วยกับ LTV แต่การบังคับใช้ไม่ถูกจังหวะเวลา เพราะเศรษฐกิจยังชะลอตัว ดีที่สุดคือเลื่อนออกไปก่อน และถ้าจะปรับทั้งทีก็ควรปรับให้มีอิมแพ็กต์ไปเลย แต่กลายเป็นว่าแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่เป็นตัวช่วยสักเท่าไหร่"


ที่มา: ประชาชาติ




ทั้งนี้สามารถอ่านความคิดเห็นของคนในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีต่อมาตรก LTV ใหม่ได้ในบทความที่เกี่ยวข้องข้างล่างนี้


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์