รูปบทความ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมน้ำหรือรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเสียเอง

‘โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา’ ลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมน้ำ หรือรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเสียเอง?


โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากที่มีแผนแนวทางในการพัฒนาไปเมื่อช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา และถูกเสียงวิภาควิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการจัดสร้างโครงการดังกล่าวนี้ออกเป็นหลายเสียง ทั้งในแง่ดี ที่ทางผู้จัดสร้างอ้างว่าจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตริมฝั่งให้ดีขึ้น, แก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมน้ำ และในแง่ของผลกระทบ ที่หลาย ๆ คนกังวล ทั้งเรื่องขยะ, แผงลอยขายของ, ปัญหารถจักรยานยนต์, ส่งผลกระทบเชิงลบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และอื่น ๆ


นายไทวุฒิ ขันแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลของประชาชนที่มีต่อรูปแบบโครงการฯ ทั้งผลกระทบด้านชลศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ การเดินเรือ ผลกระทบด้านวัฒนธรรม ได้มีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบด้าน เป็นไปตามหลักวิชาการ ดังนั้น การพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจะไม่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต การประกอบธุรกิจ การประกอบอาชีพ การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม 


อีกทั้ง รูปแบบทางเดินและทางจักรยาน จะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 2.25 เมตร ต่ำกว่าระดับเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ประมาณ 1 เมตร จึงไม่บดบังภูมิทัศน์ ทัศนียภาพสิ่งก่อสร้างริมน้ำ และวัฒนธรรมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะเดียวกันยังคำนึงถึงระบบการขนส่งทางน้ำไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเดินเรือทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด ไฟฟ้าแสงสว่าง การตรวจตราสอดส่อง ตลอดจนจัดให้มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่อดูแลความปลอดภัย


แต่แม้จะมีคำตอบให้กับทุกความกังวล ฝั่งของผู้คัดค้านก็ยังยืนกรานอย่างแข็งขัน ที่จะไม่ให้มีการก่อสร้างดังกล่าวเกิดขึ้น...


ที่มา: Korea Tourism Organization - VisitKorea

ภาพคลองชองกเยชอน

ย้อนกลับไปที่จุดมุ่งหมายแรกของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ความตั้งใจของการก่อสร้างทั้งหมดนั้น ก็เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเท่าเทียมกัน และช่วยแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมน้ำ คำถามคือ สิ่งนี้จะช่วยลดปัญหาเหล่านั้นได้จริง ๆ หรือ ?


หากเราอยากเป็นอย่างชองกเยชอนประเทศเกาหลีใต้ วันนี้ก็ต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ประชากรของเรา ที่เราอยากให้พวกเขาได้เข้าถึงแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างทั่วถึงโดยไม่จำเป็นต้องนั่งร้านอาหารแพง ๆ นั้น มีคุณภาพพอ สำหรับการสำนึกรักษ์แม่น้ำเจ้าพระยาหรือไม่ เพราะแม้การก่อสร้างทุกอย่างจะแล้วเสร็จไปด้วยดี แต่ผลกระทบในระยะยาว การดูแลรักษาต่าง ๆ นั้น ‘ใครจะเป็นคนควบคุมดูแล?’ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว การก่อสร้างที่กล่าวว่า ทำเพื่อลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ริมน้ำ อาจจะกลายเป็นโครงการที่บุกรุกหรือรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเสียเอง


Chao Phraya for All ?


ความคืบหน้าของโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงเรื่องดังกล่าว่า หากยังมีผู้คัดค้านอยู่ คนยังไม่เห็นด้วย 100% ก็จะยังไม่อยากทำ


หากเป็นเช่นนั้น พวกเราก็ยังคงต้องติดตามถึงโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังกล่าวนี้กันต่อ ว่าท้ายที่สุดแล้ว จะลงเอยเช่นไร แน่นอนว่าทางเอสโตไม่พลาดที่จะมานำเสนอข่าวสารให้ทุกคนได้รับทราบกันอย่างแน่นอน ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ อย่าลืมมาแชร์ให้ฟังกันได้นะ


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์