รูปบทความ 3 ตัวอย่างการปรับ เพื่อต่ออายุให้โลกของเรายั่งยืนมากขึ้นทุกวัน

3 ตัวอย่างการปรับ เพื่อต่ออายุให้โลกของเรายั่งยืนมากขึ้นทุกวัน

ทุกวันนี้การใช้ชีวิตประจำวันเรากำลังทำร้ายสิ่งแวดล้อมอยู่มากน้อยเท่าใด สามารถถามตัวเราที่ต้องรับผลจากมันได้อย่างชัดเจน ทั้งเรื่องมลพิษทางอากาศที่ต้องเผชิญ อุณหภูมิโลกที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จนตอนนี้ทั่วโลกที่ตระหนักถึงเริ่มปรับเปลี่ยนการจัดการสิ่งรอบตัวตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปถึงเรื่องใหญ่อย่างการสร้างเมืองให้เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น


เรามาดูตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนเพื่อสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนกัน


ยั่งยืนด้วยธุรกิจหมุนเวียนกระดาษจากทั่วโลกสู่อินเดีย


เคยสงสัยหรือไม่ว่าหนังสือที่เราอ่านเสร็จแล้ว กระดาษที่เราไม่ต้องการเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง


หนึ่งในการนำเข้าที่หลายประเทศมองเห็นคุณค่าและยังช่วยสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยื่นคือการนำเข้าขยะ อย่างเช่นประเทศอินเดียที่รับกระดาษใช้แล้วจากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นหนังสือ หรือหนังสือพิมพ์ เพื่อนำมาหมุนเวียนใช้ภายในประเทศ


กระดาษกำลังเป็นสินค้าที่ประเทศอินเดียมีความต้องการสูงมาก และเมื่อประเทศจีนมีมาตรการนำเข้าขยะลดลงทำให้กระดาษใช้แล้วทั่วโลกไม่มีที่ไป และมาหยุดลงที่ประเทศที่ต้องการมันอย่างมากอย่าง อินเดีย ที่ไม่มีป่าไม้หรือวัตถุดิบในการทำกระดาษ การนำเข้ากระดาษใช้แล้วเพื่อมารีไซเคิลจึงเป็นทางออกที่ดี ต้นทุนต่ำและตอบโจทย์คนในสังคมได้เพียงพอ


กระดาษส่วนใหญ่ที่รับมาจากยุโรปและอเมริกา โดยกระดาษพวกนี้จะกลายเป็นหนังสือ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าแต่คนอินเดียยังนิยมอ่านหนังสือพิมพ์และนิตยสารกันอยู่ และกระดาษบางส่วนจะกลายเป็นกล่องลัง บรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อตอบรับกับเศรษฐกิจที่กำลังโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนั่นเอง


อย่างไรก็ตามอินเดียไม่ได้รับกระดาษทุกประเภทเข้าสู่วงจรการหมุนเวียนนี้ พวกเขามีกฎระเบียบที่ต้องปฏฺบัติตาม เพราะกระดาษที่มีพลาสติกผสมเข้ามาหรือโรงกระดาษที่ขึ้นบัญชีดำไว้บางแห่งของอังกฤษและอเมริกาก็ไม่สามารถนำเข้ามารีไซเคิลได้


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ BBC : ขยะที่จีนไม่ต้องการ ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสื่อสิ่งพิมพ์ของอินเดียได้อย่างไร


ยั่งยืนด้วยการลดขยะจากกองถ่าย ณ ฮอลลีวูด

ปี 2550 อุตสาหกรรมผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ฮอลลีวูด ปล่อยมลพิษทางอากาศสูงอันดับ 2 ในเขตลอสแอนเจลิส แม้พยายามลดแล้วก็ตาม


ในกองถ่ายมีการสร้างขยะมากมาย เช่นขวดน้ำดื่ม บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร อุปกรณ์ประกอบฉาก เสื้อผ้านักแสดง เป็นต้น เพื่อจัดการกับขยะเหล่านี้และช่วยสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน จึงมีหน่วยงานที่เกิดจากการร่วมมือกันหลายฝ่ายขึ้นมาชื่อว่า Producers Guild of America Foundation (PGA) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรของกลุ่มผู้ผลิตสื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ในอเมริกา ผ่านการเลือกใช้สินค้าและบริการจากบริษัทที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดปริมาณขยะภายในกองถ่าย ผ่านวิธีการต่างๆ เพื่อลดรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) หรือการสร้างปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อม


การปรับตัวสู่ความยั่งยืนของแวดวงฮอลลีวูดจะสามารถสร้างผลเชิงบวกทั้งกับสิ่งแวดล้อมและเป็นการลดต้นทุนในกองถ่ายได้ด้วย เพราะกองถ่ายที่ไม่ใช้ขวดพลาสติกสามารถลดต้นทุนได้มากกว่าครึ่งเลยทีเดียว


นอกจากนี้ยังมีการจัดการขยะภายในกองถ่ายเพื่อลดปริมาณขยะฝังกลบอื่นๆ เช่น การนำขยะที่ย่อยสลายได้ไปทำปุ๋ยหมัก การเช่ายืมอุปกรณ์ในการถ่ายทำ และการบริจาคอุปกรณ์ภายในกองถ่าย ก็ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายขยะและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากระบบการขนส่งด้วย


โดยภาพยนตร์เรื่อง The Amazing Spider-Man 2 จากค่าย Columbia Pictures ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการจัดการขยะภายในกองถ่าย และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนย้ายขยะได้ถึง 4,732 ดอลลาร์ (ประมาณ 160,320 บาท)


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ แวดวงฮอลลีวูดกับการปรับตัวสู่ความยั่งยืน


เมืองแบบบูรณาการ ซิมไบโอซิตี้ ของสวีเดน

เกริ่นมามากกับแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยระบบหมุนเวียนแต่หากจะพูดถึงประเทศที่ทำได้ครอบคลุมครบทุกด้านมากที่สุดคงต้องเป็นประเทศสวีเดนที่ใช้เวลากว่า 20 ปีในการเปลี่ยนแปลงให้ประเทศมีการหมุนเวียนขยะมารีไซเคิลได้มากกว่า 96% เหลือขยะฝังกลบเพียง 4% เท่านั้น

ความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องขยะเพียงอย่างเดียว


ความจริงแล้วสวีเดนเป็นประเทศที่มีขนาดใกล้เคียงกับเราแต่ดันมีประชากรน้อยกว่ามาก ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูงมากกว่า จนเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางนี้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่เมือทั่วโลกเผชิญปัญหาวิกฤติพลังงาน ทำให้ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการ ขณะที่การพัฒนาเมืองของสวีเดนยังคงไร้ระเบียบ การจราจรแออัด สร้างมลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น


ตอนนี้เองชาวสวีเดนก็ได้ตระหนักถึงปัญหาด้านพลังงาน หากยังปล่อยให้เมืองขยายตัวไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการบริหารจัดการใดใด จะเกิดปัญหาที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของชาวเมือง ไม่เป็นผลดีในระยะยาว


จึงมีการเรียกระดมผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จนได้ออกมาเป็นแนวคิดบริหารจัดการเมืองแบบบูรณาการ ทั้งด้านการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ทั้งด้านพลังงาน การใช้น้ำ การคมนาคมขนส่ง เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตของคนเมือง ให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีการจดลิขสิทธิ์แนวคิดนี้ภายใต้ชื่อ “ซิมไบโอซิตี้” (SymbioCity)


Symbiosis in a city ซึ่งหมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตภายในเมือง มีหลักสำคัญในการบริหารจัดการเมืองคือ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและเป็นองค์รวม โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด


เริ่มจากการวางผังเมืองเป็นระบบที่เน้นให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เพราะพื้นที่สีเขียวช่วยเป็นลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับเมือง ช่วยให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


พร้อมกับการวางผังเมือง รูปแบบสถาปัตยกรรม ทั้งที่พักอาศัย ที่ทำงานหรือกระทั่งโรงงานอุตสาหกรรม เรียกว่านำมาปรับใหม่ทั้งหมดเพื่อจุดประสงค์ดังนี้

  • ช่วยให้ความเป็นอยู่ของผู้คนสะดวกสบายมากขึ้น
  • ช่วยลดพลังงานในการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ ทุกระบบของเมืองและนำพลังงานที่เหลือกลับมาใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด
  • ประหยัดงบประมาณในระยะยาว แม้ว่าจะมีต้นทุนระยะสั้นสูงกว่า แต่สุดท้ายจะให้ความคุ้มค่ามากกว่า


สวีเดนกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงทุกปี ส่วนทางกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และยังเป็นมีเมืองหลวงอย่าง สต๊อกโฮล์ม เป็นเมืองสีเขียวในอันดับต้นๆ ของโลก


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “ซิมไบโอซิตี้” การสร้างเมืองสีเขียวแบบบูรณาการสไตล์สวีเดน


บทความที่เกี่ยวข้อง

3 ตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เหมาะกับเมืองใหญ่ ไร้พื้นที่

มากที่สุด 7 เขตแรกที่มีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะมากที่สุดในกรุงเทพ

น้อยกว่านี้ไม่มีแล้วกับ 7 เขตในกรุงเทพที่มีพื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะน้อยที่สุด

เมื่อขาดเขา เราก็อยู่ไม่ได้ รวมเหตุผลทำไมเราต้องมีต้นไม้



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์