รูปบทความ 6 กฎหมายใหม่ 2563 รู้ไว้ก่อนเสียประโยชน์

6 กฎหมายใหม่ 2563 รู้ไว้ก่อนเสียประโยชน์


นอกจากข่าวสารที่เราต้องติดตามกันอยู่ทุก ๆ วันแล้ว เรื่องกฎหมายใหม่ 2563 ก็มีมาให้เราทยอยอัปเดตกันเกือบตลอดปีเช่นกัน... 




ฉบับที่ 1 กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563

เปิดปี 2563 มาวันแรกก็เริ่มมีผลบังคับใช้กันแล้วกับ "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563" ที่มีรายละเอียดออกมาเรื่อย ๆ ให้เราติดตามกัน ซึ่งจำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีนั้น จะมาจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์  นอกจากนี้ก็ยังมีพรฎ. ลดภาษีที่ดินลงอีก 50-90% สำหรับที่ดินบ้าน-คอนโด และโรงไฟฟ้าตามมาอีกด้วย

ซึ่งเราสามารถศึกษาเงื่อนไข และตรวจสอบรายละเอียด ก่อนจะยื่นเสียภาษีกันได้ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 นี้ โดยจะมีการแจ้งประเมินภาษี ผ่านการส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี ประมาณ มิ.ย. 63 นั่นเอง





ฉบับที่ 2 มาตรการส่งเสริมการออมระยะยาว 2563

สำหรับคนที่อยากลองลงทุนแบบความเสี่ยงน้อย ๆ "กองทุนรวมเพื่อการออม" หรือ Super Savings Fund: SSF ก็ดูจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะคุณจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการส่งเสริมการออมระยะยาว 2563 ร่วมด้วย 

โดยกองทุน SSF นี้จะได้สิทธิประโยชน์ต่างจากกองทุนรวม LTF ตรงที่เราสามารถใช้ ลดหย่อนภาษี 2563 ได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึ่งประเมิน (แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท) และจะต้องถือหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี (ภายใต้เงื่อนไขที่หากนำไปรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุประเภทอื่น ๆ อย่าง RMF, PVD หรือกบข. แล้วจะต้องไม่เกิน 5 แสนบาทนั่นเอง


รวมถึงกองทุนรวม RMF เองก็ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ลงทุน สามารถใช้ ลดหย่อนภาษี 2563 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 30% จากเดิม 15% ภายใต้วงเงิน 5 แสนบาท พร้อมมีการยกเลิกข้อกำหนดจำนวนการซื้อกองทุน RMF ขั้นต่ำออกไป ทำให้เราสามารถเข้าถึงกองทุนตัวนี้ได้ง่ายมากขึ้นด้วย




ฉบับที่ 3 กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก 2563

สำหรับการคุ้มครองตามกฏหมายนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อสถาบันการเงิน อันได้แก่ ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มีเหตุให้ต้องปิดกิจการลง ผู้ที่ฝากเงินกับสถาบันการเงินนั้น ๆ ก็จะได้ความคุ้มครองเงินฝากลดลงเหลือ 1 ล้านบาทเท่านั้น





ฉบับที่ 4 ภาษี e-Payment 2563

เป็นเกณฑ์ที่กำหนดให้สถาบันการเงิน ทั้งธนาคารพาณิชย์, สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมเฉพาะ 

  • ารฝาก/รับโอนเงินที่รวมกันทุกช่องทาง ทั้งเคาท์เตอร์ธนาคาร ตู้ ATM และ Internet Baking ทุกบัญชีรวมกันแล้ว เกิน 3,000 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร (ไม่ว่าจะมียอดเงินจำนวนเท่าใดก็ตาม)
  • กรณีมีการฝาก/รับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน ตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีต่อธนาคาร และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

โดยข้อมูลต่าง ๆ ทางสถาบันการเงินจะเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ตั้งแต่ มี.ค. 62 ก่อนจะเริ่มส่งให้กรมสรรพากรในวันที่ 31 มี.ค. 63





ฉบับที่ 5 พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์

ความจริงแล้ว กกฏหมายฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ พ.ย. 2562 แล้ว แต่ในปี 2563 นี้จะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพ ยกเลิกหรือแก้ไขกฏหมายให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจ ตลอดจนสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมากยิ่งขึ้น

โดยกฎหมายทุกฉบับที่ภาครัฐจะออกนับจากนี้ไป จะต้องมีการประเมินผลการบังคับใช้ทุก ๆ รอบระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับด้วย





ฉบับที่ 6 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ปี 2562 ที่ผ่านมา กฎหมายฉบับนี้ได้ประกาศใช้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในหมวดหมู่ที่เกี่ยวคณะกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงบทเฉพาะกาลบางส่วน แต่สำหรับส่วนที่เหลือ อย่าง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, สิทธิของเจ้าของข้อมูล, การร้องเรียน และหมวดการรับผิดต่าง ๆ นั้นจะมีการประกาศใช้ในวันที่ 28 พ.ค. 2563 โดยจะต้องมีการเผยแพร่ และกำหนดวิธีการให้เจ้าของข้อมูลสามารถยกเลิกความยินยอม หรือแจ้งความประสงค์ในการไม่ให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไว้ต่อไปได้




อ้างอิง : www.bangkokbiznews.com



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์