รูปบทความ YOLO: วิธีบริหารพื้นที่ส่วนตัวเมื่อเราต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

YOLO: วิธีบริหารพื้นที่ส่วนตัวเมื่อเราต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

You only live once. เพราะคุณมีชีวิตแค่ครั้งเดียว


ในแต่ละวันเราต้องออกไปทำงานไปเผชิญกับโลกกว้างอยู่ตลอดเวลา คล้ายกับการออกไปผจญภัยที่ไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าก้าวข้ามประตูออกไปอะไรกำลังรอเราอยู่ข้างนอก สิ่งที่เราทำได้มีเพียงต้องต่อสู้และก้าวข้ามผ่านไปให้ได้ในแต่ละวัน


ทีนี้สิ่งที่เกิดตามมาอย่างแน่นอนเลยคือความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและทางใจ หากเป็นในเกมจะมีสถานที่ให้เราสามารถเติมพลังชีวิตได้ แล้วในโลกความจริงจะมีสถานที่ไหนกันบ้างที่ให้เราสามรถเข้าไปเติมพลังชีวิตจนเต็มเพื่อออกไปผจญภัยได้อีกครั้งในวันพรุ่งนี้


“Safe Zone” หรือแปลตรงตัวว่าพื้นที่ปลอดภัย แต่ที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้ คือพื้นที่ปลอดภัยทางใจ อยากให้ทุกคนลองถามตัวเองดูว่า เซฟโซน ของเราคือที่ไหน ที่ไหนที่ไม่ว่าเราจะไปเมื่อไหร่จะได้ความสุข ความสบายใจ และกำจัดความเหนื่อยล้าได้ทุกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ให้เราได้สามารถพูดคุยกับตัวเองและวางแผนสำหรับวันถัดไปได้ เหมือนกับเป็นฐานทัพลับของเราอย่างนั้นเลย


ในบทความซีรีส์ YOLO หัวข้อ การบริหารพื้นที่ส่วนตัวนี้ Esto จะพาทุกท่านพบกับการสร้างพื้นที่ส่วนตัวที่จะช่วยให้เรามีพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพักผ่อน และเติมพลังชิวิต และยังเป็นพื้นที่ที่ให้เราสามารถได้พูดคุยกับตัวเองด้วย เพราะการพูดคุยกับตัวเองนั้นแท้จริงแล้วสำคัญมาก หากสามารถพูดคุยกับตัวเองได้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้เรามีความสุขในระยะยาวได้อีกด้วย


การพูดคุยกับตัวเอง..สำคัญอย่างไร?

แท้จริงแล้วเราจำเป็นเหลือเกินที่ต้องสละเวลาสักนิดเพื่อพูดคุยกับตัวเองบ้าง มีงานวิจัยด้านจิตวิทยาได้กล่าวเอาไว้ว่าการมี “บทสนทนากับตัวเอง” จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความจำ สมาธิให้เราได้ด้วย มนุษย์เราพัฒนาทักษะการคุยกับตัวเอง หรือเสียงจากภายในไปพร้อมกันกับการที่เราเรียนรู้วิธีการพูดคุยกับผู้อื่น


การพูดคุยทั้งภายในและภายนอกนี้ต่างเป็นทักษะที่เสริมกันและกัน แต่มนุษย์เราดันเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการ สื่อสารกับบุคคลภายนอกมากกว่าตัวเองเสียอีก ทั้งที่การพูดคุยกับตัวเองนั้น ง่ายเหมือนเวลาเราพูดคุยกับบุคคลอื่นเลยล่ะ


งานวิจัยของ University of Michigan ได้พูดถึงเรื่องการพูดคุยกับตัวเองไว้ว่าจะทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองมากขึ้น และมีความมั่นใจในการจะผ่านความท้าทายที่ยากต่างๆไปได้ดีขึ้น การพัฒนาในบทสนทนากับตัวเองจะได้ผลมากขึ้นเมื่อเราเลือกใช้คำพูดที่ถูกต้อง


การพูดคุยกับตัวเองทำได้อย่างไรบ้าง

คุยกับตัวเองหน้ากระจก

ผลวิจัยของ อาจารย์ Gary Lupyan and Daniel Swignley ที่ถูกเผยแพร่ทางนิตยสาร TIME ระบุว่า “คนที่พูดคุยกับตัวเองหน้ากระจก ไม่ใช่เรื่องบ้าหรือน่าอายอะไร แต่เป็นวิธีที่สามารถเรียกความมั่นใจ ทำให้กลายเป็นคนที่กล้าพูดกล้าคุยมากขึ้น ยิ่งกระจกบานใหญ่เท่าไหร่ ยิ่งเห็นผลลัพธ์ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น และมีแนวโน้มทำให้การรับรู้ของสมองดีขึ้นอีกด้วย”


เพราะฉะนั้นสำหรับมือใหม่กัดคุยกับตัวเองอย่างจริงจังแบบเราๆนั้น แนะนำให้ยืนหน้ากระจกสักพัก แล้วเริ่มจากการยิ้มให้กับตัวเอง จนเริ่มรู้สึกไม่แปลกและอยู่พื้นที่ปลอดภัย ก่อนจะเริ่มต้นคำถามง่ายๆ อย่างที่เราใช้ทักทายกับคนอื่น เช่น วันนี้รู้สึกยังไง, เครียดมั้ย, คิดอะไรอยู่ ที่สำคัญอย่าลืมเลือกประโยคที่สร้างพลังให้ตัวเอง เช่น ฉันทำได้,ฉันเก่ง, ฉันผ่านเรื่องแย่ๆ ไปได้อยู่แล้ว ถ้อยคำเหล่านี้ล้วนสร้างแรงบันดาลใจ เพิ่มพลังในด้านบวกให้เราทั้งสิ้น โดยที่ไม่ต้องรอฟังจากใครเลย


ให้ความสงบแก่ตัวเอง

งานวิจัยระบุว่า การเข้าสังคมบางครั้งทำให้คนเราเครียดยิ่งกว่าเดิม แม้แต่ในเฟซบุ๊คที่มีผลวิจัยออกมาแล้วว่าคนที่มีผู้ติดตามเยอะจะเครียดในการเล่นเฟซบุ๊คมากกว่าคนอื่น เพราะเวลาจะโพสต์อะไรลงไป จะคิดมาก และไม่กล้าโพสต์ เนื่องจากเราแคร์ความรู้สึกในโลกออนไลน์ว่าจะพอใจกับสิ่งที่เราโพสต์ลงไปหรือเปล่า จึงมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หันมาสร้างแอคเคานท์ลับและเลือกคัดผู้ติดตามให้เหลือเฉพาะเพื่อนสนิท เพื่อตนจะได้โพสต์สิ่งที่ต้องการได้อย่างเต็มที่


เคล็ดลับการให้ความสงบกับตัวเอง จึงเหมาะสำหรับคนยุคโซเชียลอย่างแท้จริงแค่เริ่มต้นด้วยการวางโทรศัพท์มือถือ เลิกเสพข่าวออนไลน์ อย่างน้อยวันละ 5-10 นาที จะช่วยให้เราได้มีสมาธิมากขึ้น และยังมีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้นด้วย


ทำสิ่งที่ชอบ

ถ้ามีคำถามว่า ชีวิตนี้ชอบทำอะไร คำตอบของหลายคนคงไม่พ้น นอน กิน เล่นเกม เล่นโทรศัพท์ไปเรื่อยๆ อยากให้ลองถามตัวเองดูว่าจริงๆแล้วเราชอบและมีวามสนใจในการทำอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะนอกจากจะทำให้เราค้นพบและรู้จักตัวเองในอีกด้านมากขึ้น ยังช่วยให้เราพัฒนาสกิลในสิ่งนั้นให้มากขึ้นและอาจจะกลายเป็นความสามารถที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเราได้ เช่น บางคนชอบอ่านนิยาย วันหนึ่งอาจจะนำประสบการณการอ่านนิยายมาแต่งเป็นผลงานของตัวเองบ้างจนประสบความสำเร็จเป็นนักเขียนก็เป็นได้


หยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น

มีคนเคยกล่าวไว้ว่า “คนที่ให้คุณค่าตัวเราได้ คือตัวเราเอง” เพราะทุกคนนั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาตัดสินว่าเราดีหรือไม่ สิ่งที่เราควรรับคือคำแนะนำคนอื่นมาพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นอีกได้ แต่บางครั้งเราก็ไม่รอให้ใครมาตัดสิน กลับกลายเป็นว่าตัวเรานี่แหละที่มองบุคคลรอบข้าง แล้วเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเราทำได้ไม่ดีเท่าเขาเท่ากับเราแย่กว่า นั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์


หันมาหาข้อดีของตัวเองดูแบบจริงจังสักครั้ง การตอบคำถามคนอื่นได้ชัดถ้อยชัดคำ ว่าเราเองทำอะไรได้ดี หรือบอกได้ว่าเราชอบอะไร? จะทำให้คุณเข้าใจตัวเองมากขึ้น และเครียดกับข้อเสียของตัวเองน้อยลง


การพูดคุยกับตัวเองควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไรบ้าง

น่าแปลก ที่สมองของเรานั้นถูกออกแบบโดยธรรมชาติมาให้ตอบสนองต่อความคิดหรือคำพูดด้านลบได้ดีกว่าด้านบวก ให้ลองนึกดูว่าเมื่อเราโกรธ เครียด หรือเสียใจ เราจะใช้เวลาเหล่านี้ในการพูดคุยกับตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่นการถามตัวเองซ้ำๆ ว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น แบบนี้ หรือบางทีอยากจะพูดคำหยาบเพื่อว่าร้ายใครสักคนแต่ไม่สามารถทำได้ จึงเลือกที่จะพูดและก่นด่าอยู่ในใจแทน เมื่อเราพูดคุยกับตัวเองแต่เรื่องที่เป็นความคิดลบๆ และมันส่งผลทำให้ตัวเรานั้นรู้สึกโกรธ รำคาญ สิ้นหวัง และอารมณ์แปรปรวน


ไม่ใช่แค่เพียงคำหยาบหรือคำพูดด้านลบเท่านั้นที่ส่งผลเสียต่อจิตใจและสมอง แต่คำพูดที่ดูเป็นการกดดัน คาดหวัง หรือบังคับให้เราในทางใดทางหนึ่ง ทั้งจากบุคคลอื่น และตัวเราเองก็ทำให้เรารู้สึกเครียดมากขึ้นได้เช่นกัน ยกตัวอย่างคำพูดที่ส่งผลด้านลบต่อสมอง เช่น


“ฉันไม่สามารถ…” หรือ “I can’t” ไม่ว่าจะด้วยประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ผ่านมาในอดีต หรือจากคำพูดคนอื่นก็แล้วแต่ที่ทำให้เราคิดแบบนี้ แต่นั่นหมายความว่าเราได้กำหนดและให้คำตอบกับสิ่งนั้นเรียบร้อยแล้วว่าเราไม่สามารถทำมันได้ โดยที่เรายังไม่ได้ลงมือทำเลยแม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว


หากเราลองเปลี่ยนความคิดเป็น ฉันจะลองทำดูแม้มันจะไม่ดี แต่ฉันจะลองทำมันดูอีกครั้ง แน่นอนว่าแม้มันจะออกมาผิดพลาดอีกรอบ แล้วยังไง? มันต้องไม่แย่เท่ารอบแรกแน่ เพราะเราเคยมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว ไม่แน่ว่าในครั้งหน้าเราอาจจะทำมันได้และทำได้ดีด้วย


“ฉันต้อง…” หรือ “I have to” คำพูดนี้จะทำให้สมองเราคิดว่ากิจกรรมปกติ ธรรมดาที่เราจะทำ กลายเป็นสิ่งที่เป็นภาระที่ต้องทำ และนั่นส่งผลไปถึงความตั้งใจในการลงมือทำที่แตกต่างกัน หากเราเปลี่ยนคำพูดเป็น ฉันอยากจะ แม้จะดูเหมือนอย่างไรเราก็ต้องทำอยู่ดี แต่ลองคิดดูว่าไม่มีใครชอบโดนสั่งให้ทำทั้งที่ไม่อยากทำ แต่หากเริ่มจากการอยากทำเองแล้ว จะสามารถทำออกมาได้อย่างดีเลยทีเดียว


สร้าง Safe Zone ที่จับต้องได้กันเถอะ

จริงๆ แล้วเราสามารถออกแบบห้องคอนโดของเราให้กลายเป็นเซฟโซนสุดปลอดภัย ที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัยได้ด้วยการถามตัวเองว่า สถานที่ไหนในชีวิตที่เราเคยไปแล้วเราอยากอยู่ตรงนั้นไปนานๆ อยากนั่งอยู่ตรงนั้น ความทรงจำหรือความคิดสร้างสรรค์มันไหลเข้าในหัว ให้จำลองสถานที่นั้นมาไว้ที่ห้องของเรา


บางคนชอบนั่งในสถานที่หนึ่งที่มองเห็นท้องฟ้าได้ชัดเจน อาจจะนำผ้าสีฟ้ามาตกแต่งเพดานห้องให้ดูคล้ายกับท้องฟ้า หรือบางคนชอบกลางคืน ชอบเที่ยวกลางคืนเพราะมันทำให้เห็นแสงไฟชัดเจน และเห็นสิ่งไม่พึงประสงค์น้อยลง อาจจะนำผ้าม่านมาติดให้ห้องมืดลงสักเล็กน้อย แล้วอาจจะนำหลอดไฟดวงเล็กๆ มาติดตกแต่งก็ได้เช่นกัน


เท่านี้เราก็จะมี Safe Zone ที่จับต้องได้ แถมยังไม่ต้องไปไหนไกล เป็นห้องคอนโดของเรานี่เอง เท่านี้เราก็จะได้อยู่ในเซฟโซนทุกๆวัน และสามารถพูดคุยกับตัวเองได้ทุกวันเช่นกัน


หลังจากอ่านบทความนี้คงทำให้เราได้รู้จักกับจิตใจและสมองมากขึ้น รวมไปถึงความสำคัญของการพูดคุยกับตัวเองด้วย ในบทความหน้า Esto จะพาทุกท่านไปพบกับ หัวข้อ เพราะเรามีคนเดียวในโลก นิยามความสุขรูปแบบเฉพาะเรา จะเป็นอย่างไรไปลองอ่านกันได้ในบทความหน้าเลย


บทความ "YOLO"

YOLO: รวมวิธีบำบัดความเครียด เรียกความสนุกกลับมาอีกครั้ง

YOLO: วิธีบริหารพื้นที่ส่วนตัวเมื่อเราต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

YOLO: เพราะเรามีคนเดียวในโลก นิยามความสุขรูปแบบเฉพาะเรา

YOLO: อย่าขัดใจสิ!! เมื่อความเห็นไม่ตรงกันควรทำอย่างไร

YOLO: รวมสถานที่เรียนรู้ตัวตน ผ่อนคลายแบบฉับพลันง่ายๆ ต้องไปที่ไหนกันดี


บทความที่น่าสนใจ

NEVER TOO SMALL จัดห้องภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่..

พื้นที่ส่วนกลางพิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับโลกอนาคต

‘งบ 1,500 บาท’ กับเฟอร์นิเจอร์ประหยัดพื้นที่จาก IKEA สำหรับทุกพื้นที่ในคอนโด

รวม 5 คอนโด สไตล์ Well Being เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

5 ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ กับโจทย์ที่ต้องสร้างได้ทั้งความสุขและเงินตรา

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์