รูปบทความ จะโอนคอนโดแต่ละที ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ?

จะโอนคอนโดแต่ละที ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ?

เตรียมตัวก่อน พร้อมก่อน กับค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระในวันโอนฯ จะได้ไม่ต้องเดือดร้อนหาเงินก่อนไปรับห้อง


สำหรับคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อคอนโดเป็นของตัวเองสักห้องหนึ่ง ก็อาจจะวางแผนในเรื่องการเงิน มีการจอง และเลือกโครงการและห้องในราคาที่ตนเองมีความสามารถในการยื่นกู้สินเชื่อและผ่อนได้สบาย แต่อาจจะลืมไปว่า นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่เราไปจองคอนโด และค่าใช้จ่ายที่จะต้องชำระค่างวดกับธนาคารในแต่ละเดือนแล้ว ในวันที่โอนคอนโด หรือวันโอนกรรมสิทธิ์ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะบางครั้งวงเงินที่เรากู้ได้อาจจะไม่ Cover ค่าใช้จ่ายวันโอนในส่วนนี้ ดังนั้นก่อนโอนคอนโด จึงต้องคำนวณและศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขจากทางโครงการให้ดี เตรียมตัวให้พร้อมก่อนดีกว่าไปฉุกละหุกทีหลัง



เตรียมความพร้อมก่อนโอนคอนโด จะได้โอนห้องได้อย่างสบายใจ


1. ค่าธรรมเนียมการโอนคอนโด

สำหรับค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ จะจ่ายที่ 2% ของราคาประเมินที่ดิน เป็นค่าใช้จ่ายวันโอนก้อนเดียว จ่ายครั้งเดียวจบ ส่วนแต่ละคอนโดอาจจะมีโปรโมชั่นหรือเงื่อนไขพิเศษให้กับลูกค้าแล้วแต่โครงการ บางที่อาจจะแบ่งกันจ่ายคนละ 50% ของค่าธรรมเนียมโอนฯ หรือบางโครงการคอนโดอาจจะจ่ายให้ลูกค้าทั้งหมดเลยก็ได้


2. ค่ากองทุนสำรองส่วนกลาง

ค่ากองทุนสำรองส่วนกลาง หรือค่ากองทุนเป็นค่าใช้จ่ายวันโอนที่จ่ายครั้งเดียว คือในวันที่โอนกรรมสิทธิ์คอนโด เป็นเงินกองกลางที่ทางนิติบุคคลจะเรียกเก็บจากลูกบ้านเอาไว้ในกรณีที่มีการบริหารจัดการโครงการในเรื่องต่างๆ โดยจะคิดตามขนาดของพื้นที่ใช้สอยของห้องชุดที่เราซื้อ และจำนวนของค่ากองทุนก็จะคำนวณจากระดับราคาของห้องชุดในโครงการ พื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ ยิ่งโครงการหรู ส่วนกลางเยอะ มีพื้นที่มาก ค่ากองทุนก็มากไปตามลำดับ


3. ค่าอากรแสตมป์

ค่าอากรแสตมป์ เป็นค่าใช้จ่ายในวันโอนที่ทางธนาคารจะเรียกเก็บจากผู้ยื่นกู้สินเชื่อ เพื่อนำไปชำระให้กับทางสรรพากรอีกที โดยอัตราการจ่ายค่าอารก็จะอยู่ที่ 0.05% ของวงเงินกู้


4. ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

สำหรับเบี้ยประกันอัคคีภัยนี้ โดยส่วนใหญ่ก็เป็นประกันที่ทางธนาคารจะให้ผู้ยื่นกู้ซื้อคอนโดทำประกันอัคคีภัยห้องชุดด้วย โดยผู้ซื้อจะต้องชำระเบี้ยประกันและธนาคารจะเป็นผู้รับผลประโยชน์ หากเกิดอัคคีภัยทางธนาคารก็จะได้รับเงินชดเชยในก้อนนี้ แล้วเอาไปหักลบกับยอดที่กู้ซื้อนั่นเอง โดยปกติแล้วค่าใช้จ่ายวันโอนก้อนนี้จะจ่ายในปีแรกหรือเงินผ่อนชำระงวดแรก หรืออาจจะเรียกเก็บทุกๆ 3 ปี หรือปีละครั้งแล้วแต่ธนาคาร


5. ค่าประกันมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า

ส่วนของค่าประกันมิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ เป็นค่าใช้จ่ายวันโอนที่ชำระแค่ครั้งเดียว โดยแล้วแต่ทางโครงการ ว่าจะเรียกเก็บแค่ค่าประกันหรือบางที่อาจจะมี “ค่าติดตั้งมิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ” ด้วยก็ได้ เพราะทางโครงการมักจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ก่อน ล้วมาเรียกเก็บทีหลังตามอัตราที่ทางการไฟฟ้า การประปากำหนด ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ประมาณ 2,000-7,000 บาท แล้วแต่เงื่อนไขโครงการ และขนาดของมิเตอร์


6. ค่าจดจำนอง

สำหรับค่าจดจำนอง อัตราปกติจะคิดที่ 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง ซึ่งต้องชำระให้กับสำนักงานที่ดิน เป็นค่าใช้จ่ายวันโอนที่ชำระเพียงครั้งเดียว เป็นการประกัยหนี้ให้กับธนาคารในการโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้นต้องสำรองเงินในส่วนนี้เอาไว้ด้วย หากวงเงินกู้ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆที่ต้องใช้ตอนโอนคอนโด


7. ค่าพื้นที่ห้องเกินกำหนด

สำหรับค่าใช้จ่ายวันโอนในข้อนี้ เป็นอีกค่าใช้จ่ายที่มักจะเกิดขึ้น เพราะตอนที่เราไปจองห้องคอนโดนั้น เราไม่ได้ซื้อในราคาเหมารวมพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการคอนโดที่เปิดขายก่อนสร้างเสร็จ คือมีการผ่อนดาวน์ ปรากฎว่าพอสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วพื้นที่ในห้องที่เราจองซื้อเอาไว้มันได้พื้นที่ใช้สอยเกินมา ทางเจ้าของโครงการก็จะใช้สิทธิในการคิดราคาพื้นที่ส่วนที่เกินมานี้ โดยคิดตามอัตราส่วนและราคาของโครงการที่กำหนดไว้ในสัญญา


8. ค่าประกันภัยอาคาร

สำหรับค่าใช่จ่ายในวันโอนที่เป็นค่าประกันภัยอาคาร อันนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละโครงการคอนโดจะกำหนดเงื่อนไขในการชำระไว้เท่าไหร่อย่างไร แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายครั้งเดียวในวันที่ทำการโอนคอนโด ในกรณีที่ทางนิติบุคคลของคอนโดมีกรทำประกันภัยตัวอาคารหรือประกันความเสียหายของทรัพย์สินภายในโครงการเอาไว้ เจ้าของห้องชุดก็จะต้องร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยส่วนใหญ่ก็จะคิดสัดส่วนตามพื้นที่ห้องชุดที่ซื้อนั่นเอง


9. ค่าทำสัญญา

สำหรับค่าทำสัญญานี้เป็นค่าใช้จ่ายที่จ่ายครั้งเดียว คือทางโครงการจะกำหนดเงื่อนไขในการจองซื้อห้องชุดว่า หลังจากได้ทำการจองไปแล้ว ภายใน 7-15 วันทางโครงการจะกำหนดวันที่จะให้ลูกค้าเข้ามาทำ "สัญญาจะซื้อจะขาย" เป็นการวางเงินก้อนก่อนจะทำการซื้อ แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการด้วย ส่วนใหญ่อาจจะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในวันโอน แต่ต้องมาชำระก่อนที่จะยื่นสินเชื่อ ค่าทำสัญญานี้ก็อาจจะมากน้อยขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของโครงการในแต่ละช่วงเช่นกัน หากเป็นโครงการที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่แล้วก็อาจจะต้องใช้เงินก้อนใหญ่หน่อย โดยเฉพาะบางโครงการที่มีข้อเสนอยื่น Pre-Approve ให้ลูกค้าก่อนค่อยมาทำสัญญา พอผลยื่นออกมาว่าผ่านแล้วก็จะเรียกลูกค้าให้มาจ่ายเงินก้อนนี้ ผู้ที่คิดจะซื้อคอนโดพร้อมอยู้จึงต้องกะค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไว้ด้วย


10. ค่าส่วนกลางล่วงหน้า

สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลางนี้ แต่ละโครงการคิดเป็นต่อ ตรม. ต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายวันโอนในส่วนนี้อาจมีการจัดเก็บล่วงหน้า 1 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่โครงการ หรือบางโครงการอาจจะมีโปรโมชั่นจ่ายล่วงหน้าให้ลูกค้าด้วย อันน้ก่อนจะตัดสินใจซื้อ หรือเงื่อนไขก่อนโอนข้อนี้ก็ต้องสอบถามจากทางโครงการกันก่อน ส่วนปีต่อๆไปนอกเหนือจากที่ชำระไปแล้วล่วงหน้าในวันโอนคอนโด ก็ต้องขึ้นอยู่กับค่าส่วนกลางของแต่ละโครงการ แล้วก็ไปชำระกันเพิ่มทีละปี



ที่มาภาพ pinterest.com

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์