ออกแบบที่อยู่อาศัยยังไงให้ “ไกลโรค-ไกลฝุ่น”
20 April 2563
ตอนนี้ประเทศไทยยังคงเผชิญหน้าอยู่กับไวรัส Covid-19 พ่วงกับปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน PM 2.5 ที่จังหวัดเชียงใหม่ จนตอนนี้พุ่งขึ้นอันดับ 1 ของโลก จากข้อมูลทางสถิติของ Air Visual และแน่นอนว่านอกจากปัญหาเชิงสิ่งแวดล้อมโดยรวม การป้องกันด้วยการออกแบบภายในที่อยู่อาศัยของเราก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน...วันนี้ Esto เลยมีเทคนิคการออกแบบที่อยู่อาศัย 3 เทคนิคตามหลัก Interior Design ที่สามารถใช้งานได้จริง และเป็นเทคนิคที่เพื่อน ๆ ทุกคนทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง จะมีเทคนิคอะไรน่าสนใจบ้าง ตามพวกเราเข้ามาหาคำตอบพร้อมฝ่าวิกฤตในครั้งนี้ไปด้วยกันได้เลย
เทคนิคการออกแบบง่าย ๆ ห่างไกลโรค-ป้องกันฝุ่น
จากการรณรงค์ของกระทรวงสาธารณสุข “อยู่บ้านเท่ากับหยุดการแพร่เชื้อไวรัส” ทำให้หลายต่อหลายคนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างในการหยุดวิกฤตคครั้งนี้
ดังนั้น “ที่อยู่อาศัย” ไม่ว่าจะเป็นบ้าน, คอนโดฯ, ทาวน์โฮม และอื่น ๆ จึงเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของไวรัส Covid-19 แต่ยังรวมไปถึงฝุ่น PM 2.5 ด้วยเช่นกัน ซึ่งการออกแบบที่อยู่อาศัยของเราให้ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ สามารถใช้หลักเทคนิคการออกแบบของ Interior Design ได้ 3 วิธีด้วยกัน
1. เปิดโล่งด้วยช่องว่าง
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจกับเทคนิคการออกแบบด้วยการ “เปิดโล่งด้วยช่องว่าง” คือไวรัสไม่ได้ล่องลอยอยู่ในอากาศ แต่จะติดอยู่บริเวณที่บุคคลที่ได้รับเชื้อมาสัมผัส ดังนั้นการออกแบบด้วยเทคนิคเปิดโล่งด้วยช่องลม ประตู-หน้าต่าง จึงไม่ได้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ไวรัสเข้าสู่ภายในที่อยู่อาศัยของเรา
การเปิดโล่ง หรือเทคนิค Flow Space ที่เรามักจะเห็นได้บ่อยในการออกแบบหลายประเภท ซึ่งความจริงแล้วเทคนิคนี้ จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งได้มีอากาศหากใจ โดยจะเลือกเว้นช่องว่างของประตู-หน้าต่าง ให้เกิดความสมดุลกัน ไม่มากไปไม่น้อยไป พร้อมกันการยกเพดานสูงจากพื้นถึงเพดานกว่าปกติ 2.5-2.7 เป็น 2.8-3 เมตร ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดโปร่ง ช่วยให้อากาศถ่ายเท ลดกลิ่นอับ ขับไล่เชื้อโรคและแบคทีเรียได้มากกว่า 50%
ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ห้องนั่งเล่น สัดส่วนของช่องว่างประตู-หน้าต่าง ควรมีไม่น้อยกว่า 3 ช่อง ประกอบด้วย 1 ประตูหลักทางเข้ามายังพื้นที่ภายใน และ 2 บานหน้าต่าง บริเวณผนังกำแพงด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝั่งก็ได้ จะช่วยให้เกิดการระบายและหมุนเวียนอากาศได้เป็นอย่างดี
ข้อดี
- ถ่ายเทอากาศได้สะดวก
- ระบายกลิ่นอับ ลดการเกิดเชื้อโรค
- ช่วยให้พื้นที่ภายในปลอดโปร่ง
2. เลือกใช้ระบบ Smart Home
ปัจจุบันระบบ Smart Home เริ่มมีให้ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกโครงการที่อยู่อาศัยแล้ว ดังนั้นระบบนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวกให้เราสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น และในจังหวะที่ทุกคนต้องระมัดระวังตัวเรื่องการสัมผัสกับข้าวของเครื่องใช้เป็นพิเศษ ระบบ Smart Home + Homeautomation ยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างเต็มที่
ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ระบบ Smart Home คือระบบที่เราสามารถควบคุมและสั่งงานได้ด้วยเสียง สัมผัส และระบบ Sensor แถบจะแตกต่างจากระบบ Analog แบบเดิมกว่า 100% เลยทีเดียว ซึ่งการออกแบบอุปกรณ์ตั้งแต่ ลูกบิดประตู สวิทช์ไฟ และอื่น ๆ ล้วนแต่เป็นระบบอัตโนมัติ ที่สั่งงานได้โดยไม่ต้องสัมผัส ทำให้ห่างไกลจากเชื้อโรคได้เท่าตัว และที่สำคัญยังมีระบบช่วยกรองฝุ่นจากภายนอกที่จะเข้ามาภายในอีกด้วย ซึ่งระบบนี้เรียกว่า Air Factory System
ยกตัวอย่าง ในกรณีที่เราไม่อยากสัมผัสกับลูกบิดประตู เราสามารถใช้คีย์การ์ดแตะกับลูกบิดประตู ระบบจะทำการคำนวณและเปิดอัตโนมัติ หรือในกรณีที่ไม่อยากเปิดสวิทช์ไฟ สามารถสั่งงานด้วยเสียงหรือ Application ผ่านโทรศัพท์มือถือเราได้
ข้อดี
- ลดการสัมผัสกับอุปกรณ์โดยไม่จำเป็น
- สั่งงานได้ด้วยเสียง, Application, Sensor
- ระบบมีความเสถียรและความปลอดภัยสูง
3. จัดเฟอร์นิเจอร์ให้เข้าที่
อีกหนึ่งวิธีที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ อย่างการจัดระเบียบให้เฟอร์นิเจอร์ภายในที่อยู่อาศัยของเราเข้าที่เข้าทาง นอกจากจะช่วยให้เกิดความเรียบร้อย ใช้งานได้ง่ายแล้ว ยังช่วยลดการสัมผัสกับเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วย Save ความปลอดภัยของเราได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย
เพื่อน ๆ รู้หรือเปล่า ว่าเฟอร์นิเจอร์เป็นตัวสะสมฝุ่นและเชื้อโรค พอ ๆ กับพรมปูพื้นหรือผ้าม่าน หากไม่หมั่นดูแลรักษาความสะอาด และไม่มีการจัดวางให้เป็นระเบียบ อาจก่อให้เชื้อโรคและฝุ่นพวกนั้นกระจายตัวอยู่รอบห้องจนก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ
ดังนั้น ใช้วิธีการจัดการโดยการจัดเฟอร์นิเจอร์เข้ามุมที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น ในห้องนอน ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้น้อยชิ้นที่สุด โดยเลือกเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in จะช่วยทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดเป็นเป็นระเบียบมากกว่าการใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เพราะทุกครั้งที่ทำความสะอาดจะต้องมีการขยับเฟอร์นิเจอร์ อาจทำให้ฝุ่นและแบคทีเรียฟุ้งกระจายได้
ข้อดี
- มีระเบียบเรียบร้อย
- ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
- แบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน
จากทั้ง 3 เทคนิคการออกแบบตามหลัก Interior Design ที่ Esto นำมาแชร์ในวันนี้ หวังว่าเพื่อน ๆ จะนำไอเดียไปปรับใช้ให้เข้ากับที่อยู่อาศัยของตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคและฝุ่น เข้ามาทำร้ายสุขภาพและเพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย