รูปบทความ 8 เหตุผลสำคัญ ทำไมเราถึงต้องทำความเข้าใจก่อนจ้าง Interior Designer

8 เหตุผลสำคัญ!!! ทำไมเราถึงต้องทำความเข้าใจก่อนจ้าง Interior Designer


เชื่อว่า... ปัจจุบันนี้กำลังมีหลายคนที่เริ่มหันมาสนใจในการตกแต่งบ้านมากขึ้น หลังจากที่เคยกลัวเรื่องเรทราคาที่จะสูงจนเกินไป หรือได้งานไม่ตรงสเปฏที่ตั้งไว้ แต่เดี๋ยวก่อน!! วันนี้เราอยากให้ทุกคนลองเปิดใจและทำความรู้จัก "Interior Designer" กันเพิ่มขึ้นอีกสักนิด โดย ESTO จะขอรับหน้าที่เป็นสื่อกลางให้คุณกับนักออกแบบได้เข้าใจกันมากขึ้นกว่าเดิม ผ่าน 8 เหตุผลสำคัญ ว่าทำไมเราถึงควรจ้าง Interior Designer หากไม่อยากให้เฟล งบตกแต่งบานปลาย...


1. ก่อนจ้าง Interior Designer : ต้องหาข้อมูลบริษัทออกแบบที่น่าเชื่อถือ


เดี๋ยวนี้บริษัทรับออกแบบ Interior Designer เกิดขึ้นเยอะมากพอสมควร ซึ่งเราก็ไม่อาจรู้ได้ว่า หากจ้างแล้วจะได้ผลรับไปในทิศทางไหน ฉะนั้น สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรก คือ ความน่าเชื่อของแต่ละบริษัท ที่คุณสามารถตรวจสอบจากผลงาน หรือ Feedback ที่ผ่าน ๆ มาได้ อาทิ จำนวนงานที่บริษัทนั้นเคยรับทำ, รูปแบบบริการ, เรทราคาของงานแต่ละประเภท ไปจนถึงรีวิว หรือคอมเมนต์ต่าง ๆ จากตัวลูกค้าที่เคยใช้บริการ เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจด้วย

  • แต่ถ้าใครยังรู้สึกว่ายากเกินไป ไม่รู้จะเริ่มหาข้อมูลจากตรงไหน ก็สามารถลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำได้ที่  https://bit.ly/2MEk7Th 




2. ก่อนจ้าง Interior Designer : ควรประสานงาน ตกลงเรื่องราคาสัญญาให้ดี


บอกเลยว่า... เรื่องราคา สัญญาต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนกลัวและห้ามมองข้ามเด็ดขาด!! เพราะถ้าเกิดคุณกับ Interior Designer คุยกันไม่เข้าใจตั้งแต่ต้นแล้วละก็ จะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน โดยสิ่งที่ควรสังเกตในใบสัญญาจ้างงาน ก็จะยกตัวอยย่างเช่น รายละเอียดขั้นตอนการทำงาน, ระยะเวลาในการดำเนินงานว่าแต่ละขั้นตอนมีอะไรบ้าง, ต้องใช้เวลาเท่าไรบ้าง ตลอดจนราคาเบ็ดเสร็จในการตกแต่งแต่ละชิ้นงานว่ารวม ๆ แล้ว"คุณต้องเสียค่าตกแต่งทั้งหมดเท่าไรกันแน่?"  และหากเกิดข้อสงสัย ก็ควรสอบถามตั้งแต่ก่อนตกลงทำสัญญากันเลย เพื่อป้องกันปัญหางบบานปลาย หรืองานไม่จบตามที่กำหนดไว้




3. ก่อนจ้าง Interior Designer : เตรียมข้อมูลของที่พักอาศัย


นอกจากนี้ "ข้อมูลของที่พักอาศัย" ที่ต้องการตกแต่งก็สำคัญ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจให้คุณกับ Interior Designer มองภาพงานเป็นภาพเดียวกัน อย่าง ไอเดียงานที่เจ้าของบ้านอยากได้ หรือสไตล์การตกแต่งที่ต้องการ ดังนั้น ข้อมูลคร่าว ๆ ที่เจ้าของบ้านควรมีจะประกอบด้วย แปลนบ้าน, ภาพตัวอย่างสไตล์การตกแต่งที่ต้องการ, รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ชอบ, ของตกแต่งที่ใช้วางในห้องนั้น ๆ หรือใครจะเลือกฝากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ไว้กับตัวแทนประสานงาน ก็จะช่วยเพิ่มช่องทางให้คุณสามารถมีบ้านในฝันได้ง่ายขึ้นอีกทางหนึ่ง




4. ก่อนจ้าง Interior Designer : ตรวจแบบร่างครั้งที่ 1 (แบบแปลน)


เมื่อเรานำส่งข้อมูลที่อยู่อาศัยให้กับ  Interior Designer แล้ว ผ่านไปประมาณ 1-2 สัปดาห์จะเป็นระยะเวลามาตรฐานก่อนนำเสนอแบบร่างที่ 1 หรือก็คือการตรวจแบบแปลน และ Lay-out ภาพรวมทั้งหมดของแปลนบ้านของเรา รวมถึงการใช้งานของห้องต่าง ๆ ตลอดจนฟังก์ชันโดยรวม และถ้าตกลงกันได้แล้ว หากมีการแก้แบบนิดหน่อย ก็จะเป็นขั้นตอนที่ Interior Designer รวบรวมข้อมูลเพื่อนำกลับไปแก้ไข ก่อนจะมาเสนออีกครั้งพร้อมแบบร่างครั้งที่ 2 หรือภาพจำลอง 3D Perspective นั่นเอง




5. ก่อนจ้าง Interior Designer : ตรวจแบบร่างครั้งที่ 2 (ภาพงานออกแบบ)

สำหรับการตรวจแบบร่างครั้งที่ 2 Interior Designer บางคนจะนำงานแก้ไขจากครั้งที่ 1 มานำเสนอพร้อมกับแบบร่างครั้งที่ 2 ด้วยเลย เพื่อเป็นการกระชับเวลา โดยแบบร่างครั้งที่ 2 นี้จะเป็นการนำเสนอ ภาพจำลอง 3D Perspective ทั้งหมดภายในตัวบ้าน เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นภาพก่อนดำเนินการก่อสร้างจริง ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขเกิดขึ้นได้ ตามแต่ละกรณี




6. ก่อนจ้าง Interior Designer : สรุปแบบก่อนเริ่มก่อสร้าง

ในบางกรณี ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลานานกว่าเดิม ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงาน แต่โดยส่วนมากแล้ว... "การสรุปแบบ" จะเป็นการสรุปแบบแปลน, แบบการออกแบบโดยรวม, รายละเอียดฟังก์ชัน และเฟอร์นิเจอร์ Built-in ต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างจริง ซึ่งปกติทั่วไป หากนับจากการตรวจแบบครั้งที่ 1 ควรมีระยะเวลาอยู่ที่ 1 เดือน ไม่ควรเกิน 2 เดือน




7. ก่อนจ้าง Interior Designer : ตรวจงานก่อสร้าง (หน้างานจริง)

ปกติแล้วการตรวจงานก่อสร้างหน้างานจริง จะต้องเข้างานทุกสัปดาห์ โดยมีระยะเวลาเร็วที่สุดอยู่ที่ 4 เดือน แต่ไม่ควรเกิน 6 เดือนหรือ 1 ปี (หรืออาจอาจมากกว่านั้น) ซึ่งในขั้นตอนการตรวจงานนี้ สิ่งที่เจ้าของบ้านควรสังเกต ก็คือ ความเรียบร้อยของฝ้าเพดาน, ผนัง, พื้น, เฟอร์นิเจอร์ Built-in และระบบประปา-ไฟฟ้า ทั้งนี้หากเกิดข้อสงสัยในส่วนของระบบประปา-ไฟฟ้า เราจะต้องคอยถามรายละเอียดกับ Interior Designer เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขโดยทันที 




8. ก่อนจ้าง Interior Designer : ตรวจรับงาน

และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจรับงาน ซึ่งขั้นตอนนี้จะคล้ายกับการตรวจแบบก่อสร้าง โดยเจ้าของบ้านควรตรวจสอบเบื้องต้นให้ละเอียด ทั้งบริเวณฝ้าเพดาน, ผนัง, พื้น, เฟอร์นิเจอร์, สี และอื่น ๆ

  • ส่วนของระบบไฟฟ้าน้ำ : ควรเช็คด้วยการเปิด-ปิดสวิตช์ไฟ
  • ส่วนระบบประปา : อาจลองเปิดน้ำจากก๊อกทิ้งไว้ เพื่อดูว่าน้ำไหลลงท่อสะดวกหรือไม่ และจะไม่เกิดการอุดตัน หรือน้ำท่วมขังตามมา ฯลฯ




ซึ่งจากทั้ง "8 ขั้นตอนก่อนว่าจ้าง Interior Designer"  ที่ ESTOPOLIS นำเสนอในวันนี้จะเป็นขั้นตอนมาตรฐานจริงในกระบวนการทำงานของการตกแต่ง Interior Designer และปฎิเสธไม่ได้ว่า... ขั้นตอนที่ตัดสินใจยากที่สุด คือ 'การหาบริษัทออกแบบ' ที่น่าเชื่อถือ ซึ่งต้องอาศัยทั้งรายชื่อบริษัท, ข้อมูลการติดต่อ ไปจนถึงการติดต่อประสานงานต่าง ๆ และหากใครกำลังอยากตกแต่งบ้าน-คอนโด หรือรีโนเวทที่พักอาศัยใหม่ แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี สามารถลงทะเบียนฝากข้อมูลไว้กับทางเราได้


ให้ ESTOPOLIS ช่วยคุณ
ติดต่อได้ที่เบอร์  098-972-4451 (คุณวาย)
วันจันทร์-ศุกร์ 8:00-17:00
หรือลงทะเบียน https://bit.ly/2MEk7Th


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์