รูปบทความ อยู่ไกลแค่ไหนก็หายห่วง ด้วยการควบคุมผ่านระบบ Home Automation

อยู่ไกลแค่ไหนก็หายห่วง ด้วยการควบคุมผ่านระบบ Home Automation

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่องของ  Home Automation กันไปแล้วในบทความ เปลี่ยนชีวิตให้สมาร์ทด้วยระบบ Home Automation ส่วนในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงนวัตกรรมที่ช่วยให้การอยู่อาศัยง่ายขึ้นนี้ลงไปอีก ว่าระบบที่ว่าสามารถอำนวยความสะดวกได้มากขนาดไหน ใช้งานและสั่งงานผ่านวิธีการไหนได้บ้าง


ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยีเกือบจะทุกมุมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet หรือ Computer เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่น Social Media, การชำระบิลต่างๆ รวมไปถึงการสั่งอาหารผ่าน Application ดังนั้นระบบ “Home Automation” จึงเป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ก็สามารถควบคุมการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัยได้ตามต้องการ


“Home Automation” ระบบเทคโนโลยีที่ควบคุมการสั่งงานได้หลากหลาย


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


สำหรับระบบ Home Automation คือระบบที่ถูกครอบทับไว้ด้วยรูปแบบของ Smart Home หรือระบบที่อยู่อาศัยอัจฉริยะ โดยที่ตัวระบบเองจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในที่อยู่อาศัย ซึ่งองค์ประกอบของระบบ Home Automation สามารถจำแนกความซับซ้อนออกได้ดังนี้

  • ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ, ไมโครเวฟ และเครื่องซักฝ้า เป็นต้น
  • ควบคุมระบบความบันเทิง เช่น โทรทัศน์, เครื่องเล่น DVD หรือ Internet radio
  • ควบคุมระบบเปิด-ปิด ไฟอัตโนมัติ หรือปรับระดับความสว่างได้ตามต้องการ
  • ควบคุมอุปกรณ์และระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ควบคุมและแสดงผลอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในที่อยู่อาศัย


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


ระบบ Home Automation ยังมีระบบที่ใช้งานประมวณผลในการสั่งงาน ที่สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภทด้วยกัน

  1. Control center : ระบบส่วนกลางที่เป็นตัวกระจายสัญญาณไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆภายในที่อยู่อาศัย
  2. Sensors : อุปกรณ์ตรวจจับสถานะรูปแบบต่างๆ เช่น ความเคลื่อนไหว ความร้อน การสั่นสะเทือนเป็นต้น
  3. Actuators : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมสัญญาณเข้ากับระบบการใช้งาน เช่น สวิตซ์ไฟ หรือมอเตอร์ควบคุมอุปกรณ์ชนิดนั้นๆ
  4. Controlling devices : เป็นอุปกรณ์ควบคุมที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ แผงควบคุมไฟฟ้า หรือใช้เป็นรีโมทคอนโทรลเพียงเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เชื่อมต่อการใช้งานในลักษณะ web browsers และ Internet

นอกจากระบบการสั่งงานที่กล่าวมาแล้ว ระบบ Home Automation ยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้หลายรูปแบบด้วยกัน จะมีวิธีการควบคุมอะไรบ้าง ตามพวกเรา Esto เข้ามาหาคำตอบพร้อมกันได้เลย


ควบคุมระบบ Home Automation ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


สำหรับระบบ Home Automation กับการควบคุมการใช้งาน โดยทั่วไปมักเชื่อมโยงกับอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวของเรา อย่าง Smart Phone, Tablet หรือ Smart Watch โดยเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายของ Internet, Wireless, Bluetooth ทำให้สามารถควบคุมและสั่งงานผ่าน Application ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลกก็ตาม


ระบบ Home Automation ที่ควบคุมการสั่งงานด้วยสัมผัส


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


ระบบการสั่งงานด้วยการสัมผัสโดยการสแกนลายนิ้วมือ มักจะถูกใช้งานเพื่อรักษาความปลอดภัย ซึ่งวิธีการคือให้ผู้ใช้งานสแกนลายนิ้วมือลงบนอุปกรณ์ ก่อนที่แผงควบคุมจะทำการจดจำลายนิ้วมือของผู้ใช้งานแต่ละบุคคลเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น Digital Door lock ในหนึ่งอุปกรณ์สามารถจดจำได้มากกว่า 1,000 ลายนิ้วมือ


ระบบ Home Automation กับการสั่งงานด้วยเสียง


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


ระบบการควบคุมและสั่งงานด้วยเสียง ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไป รวมไปถึงกลุ่มของผู้พิการทางร่างกายและสายตา ซึ่งตัวระบบจะทำหน้าที่ประมวลผลในเรื่องของเสียง, ภาษา, สำเนียง, คลื่นความถี่ ทำให้ระบบนี้ทำหน้าที่ในเรื่องของการสืบค้นข้อมูล และรักษาความปลอดภัย



ควบคุมระบบ Home Automation ผ่านคีย์การ์ด


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


อีกหนึ่งระบบที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย อย่างระบบการควบคุมการสั่งงานด้วยคีย์การ์ด หรือ Key Card Access ซึ่งระบบการสั่งงานไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมาก เพราะจะใช้แผงวงจรเชื่อมต่อเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือที่คีย์การ์ดและอุปกรณ์ ซึ่งแผงวงจรทั้ง 2 จะถูกกำหนดค่าสัญญาณและรหัสที่เหมือนกัน


สั่งงาน Home Automation ด้วยการสแกนใบหน้า


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


ในส่วนของระบบสแกนใบหน้ามีรูปแบบการทำงานคล้ายคลึงกับการสแกนลายนิ้วมือ แต่จะมีระบบการประมวลผลที่ซับซ้อนมากกว่าหลายเท่าตัว เพราะต้องมีการจดจำและแยกแยะอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งระบบสแกนใบหน้าจะนิยมใช้เพื่อป้องกันความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ของเรา เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ ประตูห้องที่ใช้ Digital Door lock เชื่อมต่อกับระบบ Home Automation เพราะจะช่วยรักษาความปลอดภัยมากกว่า 90% เมื่อเทียบกับระบบอื่น


Home-Automation-control-estopolis

ที่มา: Credit : control4, hiveminer, independent, safewise, securityinfowatch, smartify, thebalancesmb


เคยสังเกตบ้างรึเปล่าว่าโครงการคอนโดมิเนียมหลายต่อหลายโครงการ มีการใช้ระบบ Home Automation มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้าออกด้วย Key Card Access หรือจะเป็นระบบรักษาความปลอดภัยอย่างการใช้ Digital Door lock และ Motion Sensor ป้องกันขโมย ด้วยเหตุนี้เองนวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเราให้ดียิ่งขึ้น


ติดตามบทความ Smart Life, Smart City ได้ที่ estopolis.com


บทความ Smart Life ที่น่าสนใจ

เปลี่ยนชีวิตให้สมาร์ทด้วยระบบ Home Automation

ใช้ชีวิตให้ Smart กว่าที่เคย ทำความรู้จักระบบ Smart Home กับเทคโนโลยีแห่งอนาคต

เชื่อมต่อการใช้ชีวิตให้ลงตัวด้วย ระบบ Internet of things (IOT)

Smart Life : Smart Lighting เมื่อหลอดไฟไม่ได้ทำหน้าที่แค่ให้แสงสว่าง



เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์