รูปบทความ กฎหมาย บันไดหนีไฟ ที่คนอยู่ คอนโด ควรรู้

ESTOPOLIS | กฎหมาย บันไดหนีไฟ ที่คนอยู่ คอนโด ควรรู้

สังเกตได้ว่าการใช้ชีวิตของคนเมืองในปัจจุบัน ล้วนต่างให้ความสำคัญกับเรื่องใกล้ตัวกันมากขึ้นค่ะ โดยเฉพาะ กฎหมาย ในชีวิตประจำวัน ที่หากเราฉลาดรู้ ฉลาดใช้กฎหมายให้ถูกที่ถูกทางแล้วหล่ะก็ จะส่งผลให้เรามีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตได้อย่างชาญฉลาดขึ้นแน่นอน



รู้ทันกฎหมาย บันไดหนี ชีวิตก็เป็นต่อ




และวันนี้ Estopolis ก็มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายควบคุมอาคารมาฝากกันค่ะ ซึ่งเหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่คอนโดทั้ง Low rise และ High rise หรือแม้แต่คนที่กำลังวางแผนจะซื้อคอนโด ก็ควรรู้ไว้เกี่ยวกับ กฎหมายบันไดหนีไฟ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน เพราะที่ตามกฎหมายกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ระบุไว้ ไม่ว่าจะตึกแถว บ้านแถว อาคารสูง อาคารสำนักงานอื่นๆ จะต้องมี บันไดหนีไฟที่ปลอดภัย


แต่อะไรที่เรียกว่า "ปลอดภัย" และ แค่ไหนถึงจะปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ อันดับแรกเราควรทราบลักษณะของ บันไดหนีไฟที่ดีก่อนว่าควรเป็นอย่างไร ซึ่ง กฏกระทรวง และ ประกาศกรุงเทพมหานคร ก็ได้กำหนดมาไว้ให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

ลักษณะของบันไดหนีไฟคอนโดที่ดี ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543)

สำหรับคอนโดมิเนียม หรือตึกแถวพักอาศัยที่สูงเกินกว่า 4 ชั้น ดาดฟ้า นอกจากบันไดปกติแล้ว จะต้องมีบันไดหนีไฟอย่างน้อย 1 แห่ง และระหว่างทางหนีก็ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางด้วย

1. บันไดหนีไฟ ต้องมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา และ ต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น

2. ส่วน บันไดหนีไฟ ที่อยู่นอกอาคารต้องกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และ ส่วนบันไดหนีไฟในอาคารจะต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อย 80 องศาค่ะ

3. บันไดหนีไฟแต่ละช่วง จะสูงได้ไม่เกินความสูงของแต่ละชั้นอาคารค่ะ ส่วนความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร

4. บันไดหนีไฟจะมีลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และ ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร

5. ผนังตรงบันไดหนีไฟจะต้องเป็นผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟ

6. แต่ละชั้นอาคารจะต้องมีช่องระบายอากาศ และช่องประตูหนีไฟมีพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.40 ตารางเมตร โดยต้องมีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคารได้ และยังต้องมีแสงสว่างเพียงพอทั้งกลางวัน-กลางคืน

7. ตำแหน่งบันไดหนีไฟควรอยู่ระหว่างตัวบันได กับ ประตูห้องสุดท้ายที่ติดทางตัน ไม่เกิน 10 เมตร

8. หากมีบันไดหนีไฟ 2 ตำแหน่ง สามารถใช้บันไดเป็นบันไดหนีไฟได้ค่ะ โดยมีระยะห่างไปบันไดไม่เกิน 60 เซนติเมตร

9. ประตูหนีไฟ ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1 .90 เมตรค่ะ นอกจากนี้ยังต้องทำเป็นบานผลักออกสู่ภายนอกเท่านั้น และต้องติดอุปกรณ์เพื่อให้ประตูปิดเองได้ ควบคู่กับที่เราต้องสามารถเปิดมันออกได้สะดวกเช่นกันค่ะ

10. และเพื่อให้ใช้งานประตูหนีไฟได้สะดวก จึงห้ามติดตั้งสายยู ห่วง โซ่ กลอน หรือใดๆ ทั้งสิ้นที่ขัดขวางการเปิดประตู

11. บันไดหนีไฟภายในอาคารต้องทำเป็นห้องบันไดหนีไฟ ที่มีระบบอัดลมภายในความดันขณะใช้งาน 0.25-0.38 มิลลิเมตรของน้ำ และสามารถทำงานอัตโนมัติ โดยอาศัยแหล่งไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินเมื่อเกิดเพลิงไหม้ค่ะ

12. พื้นหน้าบันไดหนีไฟต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหน ี่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร



ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด  สูงไม่เกิน 23 เมตร 

สำหรับอาคารพาณิชย์ หรือพักอาศัยที่สูงไม่เกิน 23 เมตร หรือราวๆ 7-8 ชั้นนั้น จะเป็นประเภทคอนโดที่พบเป็นได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งการให้ความสำคัญกับบันไดหนีไฟก็เป็นสิ่งที่ผู้พักอาศัยและดิวิลอปเปอร์ไม่ควรมองข้าม 




ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด สูงไม่เกิน 23 เมตร ตามกฏกระทรวง ฉบับที่ 55 


1. ผนังทึบทนไฟ

2. บันไดกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. และไม่เกิน 1.50 ม.

3. ลูกนอนของบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม.

4. ชานพักบันไดหนีไฟกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได

5. ส่วนชานพักบันไดระหว่างประตูกับบันได  กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 ม. และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได

6. สำหรับบันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องสร้างให้มีอากาศถ่ายเทจากภายนอกอาคาร โดยพื้นที่รวมกันไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตร

7. ราวจับต้องสูงจากพื้นไม่เกิน 90 ซม. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม. และมีส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังต้องไม่เกิน 10 ซม.

8. ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.10 ม.

9. ประตูบันไดหนีไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 85 ซม. สูง 2 ม. บานประตูปิดสนิท สามารถเปิดเข้าสู่ตัวบันไดได้ ยกเว้นชั้นดาดฟ้า หรือชั้นล่างที่เข้า-ออก

10. ป้ายบอกเลขชั้นของบันได ควรระบุชั้นล่างและชั้นบนสุดของบันไดหนีไฟ พร้อมบอกทิศทางออก

11. ทางปล่อยออกจะต้องเปิดสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ ซึ่งคำนวณได้จากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 ม.



ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร




ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด ตามกฎหมายผู้พิการ




ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป

 สำหรับคอนโดมิเนียมสูงกว่า 23 เมตรขึ้นไป หรือคอนโดประเภท High rise ก็จะมีลักษณะของบันไดหนีไฟที่ต่างออกไป ปรับให้สอดคล้องและเหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้นค่ะ อย่างที่กล่าวกันไว้ว่า "ยิ่งสูงยิ่งหนาว" ฉะนั้นยิ่งเราอยู่คอนโดชั้นสูงๆ ก็ยิ่งต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมและได้มาตรฐานมากขึ้นเช่นกัน



ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป ตามตามกฏกระทรวง 


จริงๆ ลักษณะของบันไดหนีไฟของคอนโดสูงก็ไม่ได้แตกต่างไปจากอาคารพักอาศัย 4 ชั้นสักเท่าไรหรอกค่ะ แค่มีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะกว่าเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ที่ต้องเสี่ยงเมื่ออยู่บนที่สูงๆ

1. ผนังทึบ ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

2. บันไดหนีไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม.และไม่เกิน 1.50 ม.

3. ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม.

4. บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องมีระบบอัดลมภายในบันได ผนังสามารถเปิดระบายอากาศได้ และต้องมีช่องเปิดทุกชั้น เพื่อช่วยระบายอากาศ

5. ประตูบันไดหนีไฟปิดสนิท กว้างไม่น้อยกว่า 85 ซม. สูง 2 ม.





6. ชานพักบันได ระหว่างประตูกับบันได กว้างไม่น้อยกว่า 1.5 ม. และไม่น้อยกว่า 1.2 เท่าของความกว้างบันได

7. ราวจับสูงจากพื้นไม่เกิน 90 ซม. มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 ซม.  และมีส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังต้องไม่เกิน 10 ซม.

8. ราวกันตก สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.10 ม.

9. ป้ายบอกเลขชั้นต้องระบุชั้นล่างและชั้นบนสุดในบันไดหนีไฟ พร้อมบอกทิศทาง

10. ทางปล่อยออกต้องเปิดออกสู่ภายนอกอาคารที่เป็นลานโล่งหนีไฟ โดยคำนวณจากจำนวนผู้ใช้อาคาร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 ม.



ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร




ลักษณะของ บันไดหนีไฟคอนโด ตามกฎหมายผู้พิการ





ปัญหา บันไดหนีไฟ คอนโด ที่พบบ่อย

ปัญหาของบันไดหนีไฟ มักเกิดจากการออกแบบที่ไม่รัดกุม ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานจริง พอเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นค่อยหาวิธีปรับปรุง สร้างบันไดหนีไฟใหม่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุค่ะ ฉะนั้นผู้ประกอบการควรมีความรับผิดชอบตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ก่อสร้าง ตลอดจนตรวจสอบอาคารหลังการขาย



และจากข้อมูลสำรวจ พื้นที่กรุงเทพมหานครรวมถึงปริมณฑล พบว่า มีอาคารชุด หรือคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ไม่ตรงมาตรฐานตามที่กฏกระทรวงกำหนด โดยคอนโดส่วนใหญ่ จะเป็นสิ่งปลูกสร้างเก่า หรือสร้างก่อน กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (2535) จะบังคับใช้ค่ะ จึงเรื่องยากที่จะทำการปรับปรุงเสียใหม่  โดยเฉพาะคอนโดเก่า หรือคอนโดมือสองที่มีผู้พักอาศัยอยู่เยอะแล้ว


ฉะนั้นก่อนเราจะเลือกซื้อคอนโดสักห้อง ควรพิจารณาโครงสร้างอาคารตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัย อย่างบันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ หรือระบบเข้า-ออกอาคารให้ดีเสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้



การใช้ บันไดหนีไฟ เมื่อเกิดเหตุการ์ณไม่คาดฝัน ในคอนโด

ที่ไม่ใครสามารถบอกได้หรอกค่ะ ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันพวกนี้จะเกดขึ้นเมืิ่อใด ฉะนั้นเราจึงควรมีการรับมืออยู่เสมอ โดยการหนีไฟจะมีอยู่ 2 ทางค่ะ คือ การหนีไฟทางอากาศ และการหนีไฟจากทางด้านล่างอาคาร ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงคือความรวดเร็วในการหนีไฟและความปลอดภัยของผู้อาศัย และสิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ สติิ!! เวลาเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ขึ้น ผู้อยู่ในอาคารต้องพยายามตั้งสติให้ได้ แล้วหาทางหนีไฟที่ใกล้ตัวเราที่สุด เช่น ใครที่พักอาศัยอยู่ชั้นล่างก็ควรวิ่งลงไปทางหนีไฟอยู่ด้านล่างอาคารให้เร็วที่สุด และงดการใช้ลิฟท์ขณะเกิดไฟไหม้ 





ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก:

http://tthjung.wixsite.com

www.asa.or.th

http://baiibua.blogspot.com


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์