รูปบทความ วางแผนการเงินให้ดี เพื่อเอาตัวรอดจาก "หนี้สินครัวเรือน"

วางแผนการเงินให้ดี ช่วย "ลดหนี้สินครัวเรือน"


เชื่อว่า ใครหลายคนคงกำลังหนักใจกับ "หนี้สินครัวเรือน" อยู่ไม่น้อย ซึ่งหนี้สินเหล่านี้จะลดลงได้ หากมีการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ เช่น หากครอบครัวไหนยังไม่มีลูก ก็ควรแบ่งเงินสำรอง 3 - 4.5 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในครอบครัวไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ส่วนครอบครัวที่มีลูก ก็ยิ่งต้องเพิ่มเงินสำรองให้มากขึ้นไปอีก


และโดยส่วนใหญ่แล้ว "หนี้สินครัวเรือน" มักเป็นหนี้สินที่เกี่ยวเนื่องกับประโยชน์ภายในครอบครัวนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนี้สินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัย, สินเชื่อรถยนต์, สินเชื่อเพื่อการศึกษา หรือค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ที่หลีกเลี่ยงได้ยาก นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เราต้องวางแผนการเงินให้ครอบคลุมมากที่สุด


เลิกนิสัยฟุ่ยเฟื่อย ลดหนี้สินครัวเรือน


  • กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน : เพื่อลดภาระหนี้สินครัวเรือนให้รวดเร็วที่สุด 
  • จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่านของครอบครัว : ตรวจสอบรายจ่ายที่จำเป็น และรายจ่ายที่ไม่จำเป็นในแต่ละเดือนว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อทำการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
  • จัดการสภาพคล่องทางการเงินของครอบครัว : อย่างน้อยแต่ละเดือนควรกำหนดให้มีเงินออมขั้นต่ำ 3 เดือนของค่าใช้จ่าย เพื่อสำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน โดยไม่ต้องกู้เพิ่ม
  • ตรวจสอบภาระหนี้สินทั้งหมดของครอบครัว : ไม่ว่าจะเป็นประเภทหนี้ / เงื่อนไขการชำระอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เราวางแผนชำระหนี้ได้อย่างคล่องตัวที่สุด
  • เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ของครอบครัว : เช่น งานอดิเรกบางงานก็สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวได้ หรือครอบครัวจะแบ่งเงินไปลงทุนกองทุน รับเงินปันผลก็น่าสนใจเช่นกัน
  • ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันภัยในทรัพย์สิน : เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • อย่าลืมรักษาเครดิต และวินัยในการชำระหนี้ของครอบครัว : เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาว หากเราต้องการทำลงทุนใดๆ ในอนาคต



ต้อง Super Plan ไม่ใช่ Super Save


สำหรับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขนั้น จำเป็นต้องมีแพลนการใช้เงินในอนาคตเอาไว้ด้วย เพราะปัจจุบันประเทศของเรากำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ฉะนั้น การเก็บเงินสำหรับช่วงเกษียณ จึงเป็นอะไรที่ไม่ควรมองข้าม


ที่มา: www.set.or.th

วิธีหนึ่งที่น่าสนใจจากสมาคมนักวางแผน การเงินไทย  คือ การแบ่งเงินไปลงทุนในช่วงวัยเกษียณ เพื่อสร้างโอกาสให้เงินก้อนที่มีอยู่ได้งอกเงย ตัวอย่างเช่น... แบ่งไปลงทุนในทุนตราสารทุน 70%, อสังหาฯ หรือทองคำสัก 20% และเหลือไว้ลงทุนกับตราสารหนี้อีกสัก 10% เฉลี่ยผลตอบแทนประมาณ 7% ต่อปี และเมื่อได้เงินก้อนแล้ว ก็ค่อยนำไปลงทุนต่อ ให้ได้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 3% (ไม่น้อยกว่าเงินเฟ้อ) เพื่อไม่ให้เงินด้อยค่าลงในอนาคตนั่นเอง 


บทความที่เกี่ยวข้อง :

ก้าวแรกของคนอยากลงทุน : แชร์วิธีลงทุนในกองทุนสำหรับมนุษย์เงินเดือน

จะลงทุนในกองทุนรวมยังไงให้มีแต่ได้กับได้!

รวมทริคสร้างเงินล้านด้วยวิธีการลงทุนเดือนละ 5,000 บาท

5 แนวทางผ่อนหนี้ไว ผ่อนบ้านให้หมดเร็ว

ซื้อ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เหมาะกับเราหรือไม่?


ที่มา : INVESTMENT GUIDE วางแผนการเงินครอบครัว ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก


เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์