รูปบทความ เก็บเงินไว้ที่ไหน จะปลอดภัยและคุ้มที่สุด

เก็บเงินไว้ที่ไหน จะปลอดภัยและคุ้มที่สุด

การออมเงินทั้งระยะสั้นและระยะยาว นอกจากการออมเงินแบบปกติในบัญชีออมทรัพย์แล้วยังมีรูปแบบการออมเงินแบบอื่นอีกมากมาย แต่ละรูปแบบก็จะมีหนทางประสบความสำเร็จต่างกันไปเช่นกัน โดยคุณต้องศึกษาเครื่องมือที่คุณจะใช้ออมเงินของคุณให้ดี และเลือกใช้เหมาะสมกับตัวคุณและจำนวนเงินที่ต้องการจะออม เพื่อเป็นการใช้เครื่องมือการออมเงินให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยหากเป็นการออมเงินระยะยาวต้องมีการวางแผนเพื่อผลประกอบการอย่างดอกเบี้ยที่จะมากขึ้นตามไป


ในบทความนี้ Esto จะพาไปทำความรู้จักกับ เครื่องมือที่ใช้ในการออมเงินต่างๆ เพื่อใช้สำหรับวางแผนการออมระยะยาวสำหรับในอนาคตต่อไป


บัญชีเงินฝากต่างๆ

เป็นเครื่องมือออมเงินพื้นฐานที่สุด ทุกคนสามารถใช้เครื่องมือตัวนี้ในการออมเงินได้ โดยจะมีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว เป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ให้ผลตอบแทนน้อยเช่นกัน


รูปแบบของบัญชีเงินฝากที่แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการดอกเบี้ยสูงๆ คือ บัญชีเงินฝากประจำแบบไม่เสียภาษี หมายความว่าคุณไม่ต้องเสียภาษีเมื่อคุณได้ดอกเบี้ยมา อัตราดอกเบี้ยที่ได้จะได้มากขึ้นตามระยะการฝากที่ยาวนานขึ้น โดยจะมีให้เลือกตั้งแต่ 12-36 เดือน โดยธนาคารที่ตอนนี้ให้ดอกเบี้ยสูงที่สุดคือ บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี ของธนาคารธนชาติ อยู่ที่ 2.6%


กองทุนประกันสังคม

เหล่ามนุษย์เงินเดือนจะต้องรู้จักคำนี้เป็นอย่างดี ไม่ว่าบริษัทเล็กหรือใหญ่จะต้องมีกองทุนประกันสังคมเป็นสวัสดิการ ที่จะมอบ สิทธิประโยชน์ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล และยังสามารถสะสมเป็นเงินออมเพื่อวัยเกษียณ โดยเงินส่วนนี้จะได้มาจากการที่คุณและนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน ในช่วงระยะเวลาที่คุณทำงาน


แต่อย่างไรก็ตามกองทุนประกันสังคมถือว่าเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ทำให้อาจจะยังไม่สามารถหวังผลได้สำหรับตอนเกษียณเนื่องจากมีจำนวนไม่มาก หากคาดหวังที่จะนำเงินมาใช้ในยามเกษียณจะมีเครื่องมืออื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อให้การออมระยะยาวมีประสิทธิภาพ และทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เนื่องจากกองทุนประกันสังคมนั้นไม่พอจะใช้ในยามเกษียณได้จริงๆ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเกิดขึ้นเป็นตัวช่วยสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีการวางแผนระยะยาว ส่วนคนที่ทำงานข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือที่เรียกว่า กบข.ซึ่งทั้ง 2 กองทุนมีเป้าหมายเหมือนกัน คือเป็นการออมเพื่อวัยเกษียณเหมือนกัน


ซึ่งนอกเหนือจากการที่คุณออมด้วยตัวเองแล้วยังมีเงินอีกส่วนหนึ่งที่นายจ้างช่วยสมทบด้วย ในส่วนของ กบข.จะต้องมีการสะสมเงินเข้ากองทุนเดือนละ 3% ของค่าจ้าง และรัฐบาลจะทำการสมทบให้อีก 3% โดยสมาชิกของ กบข.จะสามารถออมเงินสะสมส่วนเพิ่มได้อีก 1 ถึง 12% โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 15% ของรายได้


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ไม่ได้เป็นสวัสดิการที่มีทุกบริษัท เพราะจะขึ้นอยู่กับนายจ้าง หากใครที่บริษัทมีกองทุนนี้แนะนำให้สมัครเป็นสมาชิก และควรจ่ายเงินสะสมในอัตราสูงที่สุดเท่าที่คุณมีศักยภาพที่จะทำได้ ข้อจำกัดของกองทุนนี้คือหากเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนความเสี่ยงต่ำ อาจทำให้ผลตอบแทนที่คุณควรจะได้ทำให้ไม่มากพอเพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายในการเกษียณได้อย่างราบรื่นนัก


ส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่บริษัทมีทางเลือกให้กับลูกจ้าง คุณสามารถเลือกแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมได้ว่าอยากเสี่ยงมากหรือเสี่ยงน้อย ซึ่งต่างก็จะส่งผลต่อผลตอบแทนในอนาคตเช่นกัน


กองทุน RMF

เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย มีการลงทุนตั้งแต่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ไปจนถึงสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สามารถนำปรับสัดส่วนหรือสับเปลี่ยนกองทุนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่บริษัทไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ ทำให้ กองทุนRMF น่าสนใจ เพราะเป็นกองทุนที่ทำให้เห็นความสำคัญของการวางแผนเพื่อชีวิตเกษียณ การลงทุนในกองทุนนี้ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกด้วย เงื่อนไขคือการลงทุนอย่างต่อเนื่อง


โดยซื้อไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ลงทุนขั้นต่ำ 3% ของรายได้แต่ละปี หรือไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท ไม่หยุดการลงทุนนานเกิน 1 ปี ยกเว้นในปีที่ไม่มีเงินได้ และคุณจะต้องลงทุนไปจนอายุครบ 55 ปี และระยะลงทุนจะต้องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่การซื้อครั้งแรก ส่วนเงินที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF คุณจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบสูงสุดไม่เกิน 15 %ของรายได้


การทำประกันแบบบำนาญ

การทำประกันแบบบำนาญยังเป็นการสร้างความคุ้มครองให้กับวัยเกษียณ จากการทำประกันแบบบำนาญ โดยจะมีการจ่ายเงินคืนผู้ถือกรมธรรม์เป็นรายปี หรือรายงวด ตามแบบกรมธรรม์จะกำหนด ข้อดีคือ เงินที่คุณจ่ายเบี้ยประกันจะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และการประกันบำนาญยังทำให้คุณทราบจำนวนเงินที่จะได้ค่อนข้างแน่นอน รวมถึงสามารถซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมได้ด้วย


ที่กล่าวไปเป็นการออมเงินในระยะยาวที่ส่วนใหญ่จะให้ผลตอบแทนสูงก็ต่อเมื่อมีการออมหรือลงทุนเป็นระยะเวลาที่นานเท่านั้น ซึ่งที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อผลตอบแทนสูงสุดในช่วงที่ได้เงินกลับมา แต่ต้องแบ่งสรรปันสวนไว้สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ หากนำไปออมเสียหมดจะถือเป็นการเดือดร้อนตัวเองเกินไป จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี


บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมทริคสร้างเงินล้านด้วยวิธีการลงทุนเดือนละ 5,000 บาท

เก็บเงินให้อยู่หมัดด้วย 7 บัญชีเงินฝากประจำ ให้ดอกเบี้ยดี แถมปลอดภาษีด้วย

เงินเดือน 15,000 กับค่าครองชีพกรุงเทพฯ อยู่ได้จริงหรือ ?

แค่เก็บเงินมันไม่พอ รวมวิธีสร้างรายได้ให้ยั่งยืนในระยะยาว

ชอปกระจาย อย่าลืมระวังภาษีออนไลน์

เรื่องราวต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร...?

Related Stories

Esto Talks

See All >

Living out loud

Living out loud : VANA RESIDENCE พระราม 9 - ศรีนครินทร์